โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”

1. หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีรูปแบบและระบบของการจัดการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว วิธีการจัดการเรียนรู้จึงต้องมีการปรับให้เหมาะสมโดยเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและทำงานเป็นทีม ครู-อาจารย์มีบทบาทเป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (facilitator) ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561) โดยมุ่งสร้างความพร้อมของการจัดการศึกษายุคใหม่เน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ในปีพ.ศ. 2558 ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการรวมตัวกันในภูมิภาคจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ ให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที การผนึกกำลังของอาเซียนซึ่งมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่อมทำให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและปัญหาท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้เสียงของอาเซียนมีน้ำหนักและมีอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย
ดังนั้น การจัดการศึกษาของประเทศไทยจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันในการเสริมสร้างความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน รูปแบบการจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และเป้าหมายการรวมกลุ่มเป็นภูมิภาคอาเซียน โดยเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระพื้นฐาน และสามารถนำสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในมิติต่างๆ โดยเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เพราะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียนเท่านั้น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่
บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด และเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำสื่อดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการนำสื่อดิจิทัลไปเผยแพร่ในวงกว้างและก่อให้เกิดประโยชน์แก่วงการศึกษาต่อไป
2. วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการเร่งรัดพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและเผยแพร่นวัตกรรมการสอนของครู ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. กลุ่มเป้าหมาย
ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
4. ระยะเวลาการดำเนินการ
กรกฎาคม 2555 – กุมภาพันธ์ 2556
5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
- เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม
นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
โทรศัพท์ : 081-869-3782 อีเมล : webmaster@thaigoodview.com - บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด แฟกซ์ : 0-2622-1911
นางสาวสมปอง อมรสิทธิวงศ์
โทรศัพท์ : 0-2622-2999 ต่อ 1514 อีเมล : sompong@aksorn.com
นางสาวบุณยาพร ฉิมพลอย
โทรศัพท์ : 0-2622-2999 ต่อ 1538 อีเมล : boonyaporn@aksorn.com
6. งบประมาณ
สนับสนุนโดย บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ครูมีโอกาสพัฒนานวัตกรรมการสอนและเผยแพร่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูอื่น ๆ
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตามคุณลักษณะของเยาวชนอาเซียน
- นวัตกรรมการสอนของครูได้รับการเผยแพร่ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
8. หลักเกณฑ์การประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”
- คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
- เป็นครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกสังกัด
- จัดตั้งเป็นทีมในการส่งผลงานเข้าประกวด โดยมีหัวหน้าทีมและมีสมาชิกในทีมได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องเป็นครูผู้สอนที่มาจากโรงเรียนเดียวกัน
- ทีมที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ต้องมีสถานะเป็นครูผู้สอนอยู่ในโรงเรียนตามที่ผู้บริหารรับรองในใบสมัคร ณ วันที่สมัคร
- รูปแบบผลงานในการส่งประกวด
- สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เรียนการสอนอาเซียน ต้องเป็นนวัตกรรมที่ครูผู้สอนพัฒนาขึ้นมาเอง โดยมิได้มีการลอกเลียนแบบมาจากที่ใด และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานใดๆ มาก่อนในระดับสูงกว่าระดับจังหวัด
- ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง รูปแบบตัวอักษร ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำมาใช้ในสื่อดิจิทัล ต้องเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ส่งผลงาน หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นลายลักษณ์อักษร
- ซอฟต์แวร์ที่ผู้ส่งประกวดนำมาใช้ในการจัดทำสื่อดิจิทัลต้องเป็นฟรีแวร์ หรือเป็นเจ้าของโดยถูกต้องตามกฎหมาย
- หากตรวจพบว่าไม่เป็นไปตามข้อ 1. ข้อ 2. และ/หรือ ข้อ 3. ถือว่าขาดคุณสมบัติในการเข้าประกวด และถือว่าสละสิทธิ์ แม้จะประกาศผลไปแล้ว ทางคณะกรรมการสามารถเรียกคืนรางวัลได้
- ผู้ส่งผลงานเป็นผู้รับผิดชอบด้านลิขสิทธิ์ของข้อมูลทุกชนิดในผลงาน ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งหมดอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมทั้งขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล
- ตัวอย่างสื่อดิจิทัล ได้แก่ สื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนตร์ เว็บเพจ เว็บออนไลน์ เป็นต้น ในกรณีที่เป็นสื่อออนไลน์ และต้องมีชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ผู้ส่งผลงานต้องแจ้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านมาด้วยเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ
- การส่งผลงาน
- ส่งใบสมัคร โดยดำเนินการดังนี้
- ดาวน์โหลดใบสมัครที่เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม (www.thaigoodview.com) หรือเว็บไซต์บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด (www.aksorn.com) ดาวโหลดใบสมัคร
- กรอกข้อมูลในใบสมัครให้ครบถ้วน ตามรูปแบบที่กำหนดในใบสมัคร พร้อมเอกสารคำรับรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้บริหารลงนามรับรองเรียบร้อยแล้ว
- อัพโหลด (upload) ใบสมัครที่กรอกเรียบร้อยแล้วเข้ามาที่เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม (www.thaigoodview.com) ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 อัพโหลด (upload) ใบสมัคร
- แต่ละโรงเรียนสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้หลายทีม
- ผู้สมัครต้องจัดทำและทดลองใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนศึกษา
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ประกอบด้วย
- ในกรณีที่เป็นสื่อแบบออฟไลน์ให้บรรจุสื่อลงในแผ่น CD หรือ DVD
- ในกรณีที่เป็นสื่อแบบออนไลน์ให้ส่ง username และ password เพื่อให้คณะกรรมการเข้าไปดูผลงานได้
- เอกสารคู่มือแสดงวิธีการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”
- แผนการจัดการเรียนรู้ที่แสดงถึงการนำสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา” ไปใช้
- พิมพ์เอกสารคู่มือแสดงวิธีการใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ และส่วนประกอบทั้งหมดลงในกระดาษขนาด A4 พร้อมทั้งสำเนา File ลงในแผ่น CD จำนวน 1 แผ่น
- ส่งผลงาน โดยมีรายละเอียดดังข้อ 3.4 พร้อมด้วยใบสมัครและเอกสารคำรับรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้บริหารลงนามรับรองเรียบร้อยแล้ว ตัวจริง มาทางไปรษณีย์ โดยส่งมาที่
ฝ่ายวิชาการ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด
142 ถ.ตะนาว แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
(เขียนวงเล็บที่มุมซองว่า โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา”)
หมดเขตรับผลงาน วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 (การส่งทางไปรษณีย์จะดูวันที่ในตราประทับของไปรษณีย์เป็นสำคัญ)
- ส่งใบสมัคร โดยดำเนินการดังนี้
- การตัดสินรางวัล
- คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานรอบแรกภายในเดือนพฤศจิกายน โดยคัดเลือกผลงานที่เข้ารอบ จำนวน 5 ชิ้น
- รางวัล มีดังต่อไปนี้
- รางวัลชนะเลิศ
- โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
- ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร - รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
- โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
- ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร - รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
- โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
- ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร - รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล
- โรงเรียนของทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเกียรติบัตร และหนังสือห้องสมุด มูลค่า 10,000 บาท
- ทีมที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร - ผู้สมัครที่ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการจะได้รับเกียรติบัตร พร้อมหนังสือรับรองผลงานทางวิชาการ ทุกท่าน
- รางวัลชนะเลิศ
- ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนผลงาน และสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา หรือเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้ทุกรูปแบบ โดยปราศจากข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของผลงานยังคงเป็นของเจ้าของผลงาน การนำไปใช้ต้องถูกอ้างอิงอย่างถูกต้อง ผู้สนับสนุนและผู้ดำเนินโครงการไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาสาระ และผลงานดังกล่าว
- การตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นอันยุติและสิ้นสุด
- เกณฑ์การคัดเลือกผลงานเพื่อพิจารณาตัดสิน และให้คะแนน
การคัดเลือกสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา” คณะกรรมการจะคัดเลือกสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ “อาเซียนศึกษา” โดยใช้เกณฑ์ ดังต่อไปนี้- องค์ประกอบด้านวิชาการ (คะแนน ร้อยละ 50)
- เนื้อหาสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
- เนื้อหานำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนในมิติใดมิติหนึ่ง โดยมีความถูกต้องตามหลักวิชา ทันสมัย เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา ไม่มีประเด็นโต้แย้งที่ทำให้ผู้เรียนสับสน
- การนำเสนอเนื้อหามีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของนักเรียน โดยสื่อที่ออกแบบมีความสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้
- ความถูกต้องของตัวสะกด ภาษาที่นำเสนอต้องถูกต้อง ชัดเจน สื่อความหมาย อ่านเข้าใจง่าย ใช้ภาษาเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ใช้ศัพท์เฉพาะถูกต้อง
- เนื้อหามีความยืดหยุ่น สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการจัดเรียงเนื้อหาที่น่าสนใจ ลำดับการเรียนและแบบฝึกได้เหมาะสม
- มีการวัดประเมินผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม โดยใช้เครื่องมือและวิธีการประเมินผลที่มีความหลากหลาย และปริมาณเพียงพอที่สามารถตรวจสอบความเข้าใจบทเรียนด้วยตนเองได้
- มีความคิดริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
- องค์ประกอบด้านเทคนิคการนำเสนอสื่อ (คะแนน ร้อยละ 50)
- ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มีความเหมาะสม สวยงามตามความเป็นจริง ความเหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
- ข้อความที่ใช้นำเสนอมีขนาดตัวอักษร ความหนาแน่น สี ตำแหน่ง ความสัมพันธ์ เหมาะสมกับผู้เรียน
- ความสมบูรณ์ของเสียง ทั้งเสียงประกอบ เสียงบรรยาย เสียงดนตรี มีคุณภาพและเหมาะสม ชัดเจน น่าสนใจ ชวนคิด น่าติดตาม ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
- การออกแบบด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมีความเหมาะสม และมีผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิด มีมุมมองเกี่ยวกับเนื้อหาที่เหมาะสม
- การควบคุมหน้าจอ มีการออกแบบปุ่มควบคุมหน้าจอและกำหนดเส้นทางเดินของบทเรียนได้อย่างเหมาะสมเป็นระบบ สอดคล้องกับเนื้อหา
- มีคู่มือการใช้โปรแกรม และคู่มือประกอบการเรียนการสอนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
- ออกแบบหน้าจอได้เหมาะสม ง่ายต่อการใช้ สัดส่วนเหมาะสม สวยงาม
- การอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูลที่ถูกต้อง
- องค์ประกอบด้านวิชาการ (คะแนน ร้อยละ 50)
อยากทราบว่า ประกาศผลเมื่อไหร่ค่ะ
อาจารย์ครับ...สรุปว่าทำไม่ทันส่งครับ...ไม่ทราบทาง อ. มีการประชุมพิจารณาเลื่อนการส่งผลงานออกไปอีกหรือเปล่าครับ...
เลื่อนกำหนดส่งจากเดิมไปอีกสักสองอาทิตย์เถอะครับ อยากส่งจังเลย กลัวไม่ทัน ทำไปได้สักครึ่งทางจะเสียดาย เพราะสุดท้ายก็ไม่ได้ส่ง รบกวนพิจารณาหน่อยนะครับ
จาก. ขาประจำเก่าการประกวดสื่อ
ขอคำแนะนำครับ...เรียนสอบถาม อ. ครับ หากใช้โปรแกรมแฟรชทำต้องทำหนังสือขออนุญาตส่วนไหนยังไงบ้างครับ
สวัสดีค่ะอาจารย์ ถ้าดิฉันจะส่งผลงานเป็นบล็อก แต่ใช้ของ wordpress จะได้ไหมคะ
อาจารย์
พูนศักดิ์ค่ะ จะรู้ได้อย่างไรค่ะว่าใบสมัครอยู่ที่อาจารย์แล้ว
เรียน อ.พูนศักกดิ์ สักกทัตติยกุล
รักและเคารพครับ
อวิรุทธ์ เหมานุรักษ์
ได้ครับผม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน