หุ่นของไทยมีมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตลอด แบ่งได้เป็น 4 ชนิดคือ
- หุ่นหลวง
- หุ่นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
- หุ่นกระบอก
- หุ่นละครเล็ก
หุ่นหลวงมีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น มีการจัด "ช่างหุ่น" เป็นสาขาหนึ่งใน "ช่างสิบหมู่
การแสดง พิจารณาจากวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น
ปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กล่าวถึงการแสดงหุ่นหลวง
สมโภชพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ว่า
" ฝ่ายหุนก็ตั้งโห่ ศัพทส้าวกระโหมโครม
ชูเชิดพระโคโดม ทวิพราหมณรณรงค์ "
ในอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ตอนงานพระเมรุเมืองหมันหยา กล่าวว่า
" ทั้งหุ่นโขนโรงใหญ่ช่องระทา มานอนโรงคอยท่าแต่ราตรี "
ในขุนช้างขุนแผน ตอนงานศพนางวันทอง กล่าวว่า
" พวกหุ่นเชิดชักยักย้ายท่า ตนเจรจาสองข้างต่างถุ้งเถียง
จำอวดเอาอ้ายค่อมค่ายค้อมเมียง พูดจาฮาเสียงสนั่นโรง "
ในคำพากท์รามเกียรติ์สำนวนเก่า บทเบิกหน้าพระ พากท์สามตระ กล่าวว่า
" กลางวันโขนละคอนโสภา หุ่นเห็นแจ่มตา
ประดับด้วยเครื่องเรืองไร "
จากวรรณคดีเหล่านี้ พอจะอนุมานได้ว่า ลักษณะการแสดงหุ่น ต้องมีการโหมโรงกระทุ้งเสามีคนเชิด
มีคนเจรจา มีจำอวดหรือตลกด้วย และนิยมแสดงตอนกลางวัน
ร่วมสืบสานและอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย
พิธีครอบครูนาฏศิลป์ไทย
สนับสนุนโครงการโดย
หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์