|
![]()
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จากวรรณคดีเรื่องสังข์ทองนี้ จะพบว่าการดำเนินเรื่องในตอนกลาง ๆ จะเริ่มด้วยการสร้างประเด็นความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูก โดยแบ่งออกเป็น พ่อแม่กับลูก และพ่อตาแม่ยายกับลูกเขย ดังจะยกมากล่าว
ในที่นี้คือ ท้าวสามนต์กับเจ้าเงาะ ( พระสังข์ ) จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าขับไล่เจ้าเงาะกับนางรจนาไปอยู่กระท่อมปลายนาแล้ว แต่ท้าวสามนต์ยังไม่ได้หายแค้นเคืองเจ้าเงาะ ในทางกลับกัน กลับพยายามหาทางให้เจ้าเงาะได้รับความลำบากโดยการมอบหมายงานให้ทำงานแข่งกับหกเขย และได้คาดโทษเอาไว้ว่าหากทำงานไม่สำเร็จก็จะต้องโทษประหารชีวิตทันที แต่เมื่อหกเขยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้กลับไม่ต้องได้รับโทษแต่ประการใด หรือแม้กระทั้งตอนที่พระอินทร์ลงมาท้าพนันตีคลี เมื่อหกเขยพ่ายแพ้คงเหลือแต่เจ้าเงาะแล้ว ท้าวสามนต์ก็ยังไม่ได้เชื่อใจและไม่มีความรู้สึกนึกคิดที่ดีต่อเจ้าเงาะ ดังบทประพันธ์ที่ว่า
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่กับลูก หรือว่าพ่อตากับลูกเขยนั้น ล้วนแต่เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน เนื่องมาจากว่าสังคมไทยมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย และโดยมากเมื่อแต่งงานแล้ว ฝ่ายชายจะต้องย้ายมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง ดังนั้นปัญหาการกระทบกระทั่งระหว่างคนสองรุ่นย่อมเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งอาจเป็นระหว่างพ่อตากับลูกเขย หรือแม่ยายกับลูกสะใภ้ หรืออาจเป็นพ่อแม่กับลูกก็อาจเป็นไปได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างในเรื่องวรรณคดีเรื่อง สังข์ทอง ตอนท้าวสามนต์ให้นางทั้งเจ็ดเลือกคู่ ตอนพระสังข์ได้นางรจนา ตอนท้าวสามนต์ให้ลูกเขยหาปลาหาเนื้อ และ ตอนพระสังข์ตีคลี ที่ยกมากล่าวไว้พอสังเขปข้างต้น
|
จัดทำโดยครูชนัตตา
ปุยงาม
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี เขตบางกรวย
นนทบุรี
Copyright(c)2009 Ms.Chanatta Puingam. All rights reserved.
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552
thaigoodview.com ปีที่ 10
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com