|
![]()
|
||||||||||||||||||||||||||||||
นอกจากนี้แล้งวรรณคดีเรื่องสังข์ทองนี้อาจถือได้ว่าประกอบไปด้วยอารมณ์ของปุถุชนครบทุกอารมณ์ ทั้งรัก โลภ โกรธ และหลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้นั้น ทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ กิเลส ” ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ต่าง ๆ โดยอารมณ์หลักทั้งสี่นี้ ทำให้วรรณคดีเรื่องสังข์ทองสามารถดำเนินเรื่องไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ดังจะกล่าวต่อไปนี้ อารมณ์รักนี้เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์อารมณ์หนึ่ง ในวรรณคดีเรื่องสังข์ทองนี้ก็เช่นเดียวกัน แต่ประกอบไปด้วยความรักในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น ความรักระหว่างพ่อแม่กับลูก ความรักระหว่างสามีกับภรรยา ฯลฯ ดังจะยกมากล่าว ในที่นี้ หมายถึงความรักระหว่างแม่กับลูกเป็นสำคัญ นั่นคือ ความรักระหว่างนางจันท์เทวีกับพระสังข์ และ ความรักระหว่างนางพันธุรัตกับพระสังข์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่มีความคาดหวังหรือความต้องการปรารถนาใด ๆ เข้ามาปะปน นางจันท์เทวีรักพระสังข์ถึงแม้ว่าพระสังข์จะเป็นสาเหตุให้นางต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง และต้องมาอาศัยในป่าอยู่ด้วยความยากลำบาก ส่วนนางพันธุรัตนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นยักษ์และพระมารดาเลี้ยง แต่ก็เฝ้าถนอมเลี้ยงดูอย่างดีเป็นระยะเวลาหลายปี ถึงแม้ว่าในที่สุดพระสังข์พยายามหาทางหลบหนีจากนางแต่นางก็ไม่ได้โกรธเกลียด แต่ยังมอบมหาจินดามนตร์ให้พระสังข์ เพื่อให้พระสังข์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ดังบทประพันธ์ที่ว่า
ในที่นี้หมายถึง เจ้าเงาะ ( พระสังข์ ) กับนางรจนา ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นเสมือนคู่ทุกข์คู่คู่ยากซึ่งกันและกัน เมื่อนางรจนาตัดสินใจที่จะเลือกเจ้าเงาะแล้ว นางก็ยอมรับผลของการกระทำที่จะตามมา นั่นคือ ท้าวสามนต์ขับไล่ให้ออกมาอยู่กระท่อมปลายนา ได้รับความลำบากเป็นอันมา แต่นางก็ไม่ได้ทอดทิ้งเจ้าเงาะให้อาศัยแต่เพียงลำพัง นางรจนายอมร่วมลำบากไปกับเจ้าเงาะด้วย ซึ่งอาจถึงได้ว่าเป็นความรักที่มีอุปสรรคแต่ยิ่งใหญ่พอสมควร ดังบทประพันธ์ที่ว่า
|
จัดทำโดยครูชนัตตา
ปุยงาม
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี เขตบางกรวย
นนทบุรี
Copyright(c)2009 Ms.Chanatta Puingam. All rights reserved.
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552
thaigoodview.com ปีที่ 10
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com