|
1. กลุ่มคำที่ไม่ออกเสียงตัวสะกด
วิตถาร
(วิด - ถาน) อุณหภูมิ
(อุณ - หะ - พูม) มุกดา
(มุก - ดา ) สัตถา
(สัด - ถา ) คำในกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงให้อ่านได้
2 อย่าง คือตามหลักเกณฑ์ และตามความนิยม ดังนี้ ปรัชญา
ตามหลักอ่าน ปรัด - ยา ตามความนิยมอ่าน ปรัด - ชะ - ยา
อาชญา
ตามหลักอ่าน อาด - ยา ตามความนิยมอ่าน อาด - ชะ
- ยา สัปดาห์
ตามหลักอ่าน สับ - ดา ตามความนิยมอ่าน สับ - ปะ
- ดา 2. กลุ่มคำ ปร กลุ่มคำ
ปร ให้อ่านได้สองอย่าง คือ ตามหลักอ่าน
ปะ - ระ ตามความนิยมอ่าน
ปอ - ระ เช่น
ปรมาจารย์ ปรมาณู ปรมาภิไธย ปรโลก ยกเว้น ปรปักษ์ อ่าน ปอ -
ระ - ปัก เท่านั้น 3. กลุ่มคำภูมิ 3.1
คำประสม อ่าน พูม เช่น ภูมิปัญญา ภูมิ ธรรม ภูมิรู้ ยกเว้น
ภูมิลำเนา อ่านตามหลักว่า พูม - ลำ - เนา อ่านตามความนิยมว่า
พู - มิ - ลำ - เนา 3.2 คำสมาส
อ่าน พู - มิ เช่น ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ภูมิธร ยกเว้น
ภูมิภาค อ่านว่า พู - มิ - พาก หรือ พูม - มิ - พาก ก็ได้ 4.
กลุ่มคำสรรพ 4.1 อ่านออกเสียงได้
2 อย่าง คือ สัน - พะ หรือ สับ - พะ ก็ได้ มี 4 คำ คือ สรรพสัตว์ สรรพสิ่ง
สรรพวิชา สรรพสามิต 4.2 อ่านออกเสียง
สับ - พะ เท่านั้น มี 4 คำ คือ สรรพคุณ สรรพนาม สรรพคราส สรรพสินค้า
5. กลุ่มคำ สมรรถ 5.1
อ่านเรียงพยางค์ ได้แก่ สมรรถนะ (สะ - มัด - ถะ - นะ) 5.2
อ่านได้ 2 อย่าง ได้แก่ สมรรถภาพ อ่านเรียงพยางค์ เป็น สะ - มัด
- ถะ - ภาพ หรือจะอ่าน สะ - หมัด - ถะ - ภาพ ก็ได้ 6.
กลุ่มคำ สมาน 6.1 อ่านเรียงพยางค์
ได้แก่ สมานคติ (สะ - มา - นะ - คะ - ติ) ยกเว้น สมานฉันท์ อ่านได้สองอย่าง
ตามหลักอ่านว่า
สะ - มา - นะ - ฉัน ตามความนิยมอ่านว่า
สะ - หมาน - นะ - ฉัน 6.2 อ่านอักษรนำ
เมื่อไม่ได้ต่อศัพท์สมาส เช่น สมานมิตร (สะ - หมาน - มิด) สมานไมตรี
(สะ - หมาน -ไม - ตรี) 7. กลุ่มคำ กล 7.1
อ่าน กน ได้แก่ กลไก กลอุบาย กลพยาน กลไฟ 7.2
อ่าน กน - ละ ได้แก่ กลวิธี กลบท กลเม็ด กลยุทธ์ 7.3
อ่านได้ 2 อย่าง ได้แก่ กลอักษร (กน - อัก - สอน, กน - ละ - อัก
- สอน) 8. กลุ่มคำ
กร กลุ่มคำกรอ่านได้
2 อย่าง คือ กะ - ระ และ กอ - ระ ได้ทุกคำ ยกเว้น
กรกฏ, กรพันธ์ อ่าน กอ - ระ กรบูร
อ่าน
กะ - ระ กรกฎาคม
อ่าน กะ - ระ - กะ - ดา
- คม หรือ กะ - รัก - กะ - ดา - คม 9.
กลุ่มคำ กรม กลุ่มคำกรม
อ่าน กรม - มะ เช่น กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง9.
กลุ่มคำ กรม กลุ่มคำกรม
อ่าน กรม - มะ เช่น กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง ยกเว้น
กรมพระยา กรมสมเด็จ อ่านเป็น กรม 10.
กลุ่มคำ เกียรติ กลุ่มคำเกียรติ
อ่านว่า เกียด - ติ ได้แก่ เกีรติคุณ เกียรติภูมิ เกียรติยศ เกียรติศักดิ์
ยกเว้น
เกียรตินิยม อ่าน เกียด - นิ - ยม และเกียรติประวัติ อ่านได้สองอย่าง
คือ เกียด - ติ - ประ - หวัด หรือ เกียด - ประ - หวัด ก็ได้
11. กลุ่มคำ คุณ
กลุ่มคำ คุณ อ่านว่า คุน - นะ ได้แก่ คุณธรรม คุณภาพ คุณลักษณะ
คุณวิเศษ คุณวุฒิ ยกเว้น
คุณโทษ อ่านว่า คุน - โทด และ คุณค่า คุณประโยชน์ คุณสมบัติ
อ่านได้ 2 อย่าง คือ คุน - นะ หรือ คุน ก็ได้ 12.
กลุ่มคำ ชาติ กลุ่มคำ
ชาติ อ่านว่า ชาด - ติ ได้แก่ ชาติพันธุ์ ชาติภูมิ ชาติวุฒิ ยกเว้น
ชาตินิยม อ่านว่า ชาด - นิ - ยม และอ่าน ได้ 2 อย่าง คือ ชาติพลี อ่านว่า
ชาด - ติ - พะ - ลี หรือ ชาด - พะ - ลี ก็ได้ ชาติรส
อ่านว่า ชา - ติ - รด หรือ
ชาด - ติ - รด ก็ได้ 13.
กลุ่มคำ โบราณ กลุ่มคำ
โบราณ อ่านได้ 2 อย่าง คือ โบ - ราน - นะ หรือ โบ - ราน ก็ได้ เช่น
โบราณกาล โบราณคดี โบราณวัตถุ โบราณสถาน 14.
กลุ่มคำ ปฐม กลุ่มคำ
ปฐม อ่านว่า ปะ - ถม - มะ ได้แก่ ปฐมกรรม ปฐมยาม ปฐมฤกษ์ ปฐมวัย ปฐมทัศน์
ยกเว้น
ปฐมพยาบาล อ่านว่า ประ - ถม - พะ - ยา - บาน และที่อ่านได้ 2
อย่างคือ ปฐมเทศนา ปฐมนิเทศ ปฐมบุรุษ ปฐม สมโพธิ ปฐมเหตุจะอ่านว่า
ประ - ถม - มะ หรือ ประ - ถม ก็ได้ 15.
กลุ่มคำ ประวัติ กลุ่มคำ
ประวัติ อ่านได้ 2 อย่าง คือ ประ - หวัด - ติ หรือ ประ
- หวัด ก็ได้ เช่น ประวัติการ ประวัติการณ์ ประวัติกาล ประวัติศาสตร์
16. กลุ่มคำ พล
กลุ่มคำ พล อ่านว่า พน - ละ เช่น พลกาย พลความ พลขับ พลโลก พลวัต
ยกเว้น
พลการ พลศึกษา อ่านว่า พะ - ละ และ พลรบ อ่านได้ 2 อย่าง พน - รบ หรือ
พน - ละ - รบ ก็ได้ 17.
กลุ่มคำ พลี 17.1
อ่านเรียงพยางค์ เป็น พะ
- ลี มีความหมายว่า การบูชา การบวงสรวง ส่วย เช่น ญาติพลี เปตพลี ราชพลี
พลีกรรม 17.2
อ่านอักษรควาบกล้ำ เป็น พลี
มีความหมายว่า เสียสละ เช่น พลีชีพ บวงสรวงเชิญเอามา เช่น พลียาสมุนไพรมาใช้
หมายถึง ขอแบ่งเอามาใช้ 18.
กลุ่มคำ ศาสน กลุ่มคำ
ศาสน อ่านได้ 2 อย่าง คือ สา - สะ - นะ หรือ
สาด - สะ - นะ ทุกคำ เช่น ศาสนกิจ ศาสนจักร ศาสนพิธี
ศาสนสถาน ศาสนสมบัติ ศาสนิกชน ศาสนูปถัมภก ยกเว้น
กรมพระยา กรมสมเด็จ อ่านเป็น กรม

|