|
![]()
|
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง บางทีเรียกว่า จารึกหลักที่ 1 เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพราะการใช้ภาษาในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเข้าลักษณะสากลที่ว่า ภาษาของคนโบราณมักใช้ถ้อยคำพื้นๆ ประโยคที่ใช้กินความเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางตอนมีเสียงของคำสัมผัส ฟังไพเราะเข้าลักษณะของวรรณคดีได้ ปัจจุบันศิลาจารึกจัดแสดงไว้ที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้แต่ง สันนิษฐานว่าผู้แต่งอาจมีมากกว่า
1 คน เพราะเนื้อเรื่องในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น
3 ตอน ความมุ่งหมาย ลักษณะการแต่ง เนื้อหาสาระ คุณค่า
1. ด้านประวัติศาสตร์
ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง จารึกไว้ทำนองเฉลิมพระเกียรติ
ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี
และสภาพสังคมของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย
พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย ตัวอย่าง
"พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้ญิ่งโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก" "เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม" ที่มาของเนื้อหา
: |
จัดทำโดย อ.รุจรินธน์ จันทร์ผ่อง
โรงเรียนน้ำผุด
อำเภอเมือง จังหวัดตรัง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต
1
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันจันทร์ที่
13 ธันวาคม พ.ศ. 2547
โดยการสนับสนุนจาก
กลุ่มผลิตสื่อและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และขอขอบคุณอาจารย์พูนศักดิ์
สักกทัตติยกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กทม.
Copyright
@ 2004 Mrs. Rootjarin Chanpong All rights
reserved.