|
![]()
|
ลักษณะทางเศรษฐกิจ ลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และ ค้าขาย การเกษตร อาชีพหลักของชาวสุโขทัย คือ เกษตรกรรมได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์
ชาวสุโขทัยมีการสร้างระบบชลประทานที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
เนื่องจากสุโขทัยมีปัญหาความแห้งแล้งในฤดูแล้ง เพราะดินเป็นดินปนทราย
ทำให้ดินไม่อุ้มน้ำจึงมีการสร้างเขื่อนดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย
เขื่อนดินนี้ เรียกว่า พืชที่ปลูกมาก คือ ข้าว รองลงมาเป็นผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมากพลู เป็นต้น โดยพื้นท่ีเพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มทางแถบเมืองศรีสัชนาลัย ชากังราว สองแคว และนครชุม อุตสาหกรรม ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่องสังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งจากการสำรวจทางโบราณคดีได้พบแหล่งเตาเผามากมาย โดยเฉพาะบริเวณทิศเหนือนอกกำแพงเมืองสุโขทัย น้ำโจน และเมืองศรีสัชนาลัย ริมฝั่งแม่น้ำยม ที่รู้จักกันดี คือ เตาทุเรียงสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย การค้าขาย การค้าขายในสุโขทัยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 แสดงให่้เห็นว่ามีการค้าขายอยู่ 2 ประเภท คือการค้าขายภายในอาณาจักรและการค้าขายกับต่างประเทศ การค้าภายในอาณาจักร เป็นการค้าแบบเสรี มีตลาดเป็นศูนย์กลางการค้า เรียกว่า " ปสาน "ไว้สำหรับประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนสินค้ากัน การค้าขายระหว่างเมืองจะไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกว่า " จกอบ " ดังศิลาจารึก กล่าวว่า " เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง " ทำให้ประชาชนค้าขายได้อย่างเสรี การค้าขายกับต่างประเทศ เช่นการค้ากับหงาวสดี ขอม มลายู ชวา ซึ่งสินค้าออกที่สำคัญได้แก่ เครื่องเทศและของป่า เช่น พริกไทย ไม้ฝาง งาช้าง หนังสัตว์ ไม้หอม นอแรด ส่วนสินค้าเข้า เป็นประเภทผ้าไหม เครื่องประดับ โดยเฉพาะผ้าไหมที่พ่อค้าจีนนำมาขายเป็นที่ต้องการของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงและขุนนางสุโขทัย ระบบเงินตรา
สุโขทัยมีการค้าขายในชุมชนของตนเองและกับพ่อค้าต่างบ้านต่างเมือง
จึงมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและการซื้อขายในระบบเงินตรา เงินตราที่ใช้
คือ " เงินพดด้วง " ซึ่งทำจากโลหะเงิน
ก้นเบี้ยหอย มีขนาดตั้งแต่ 1 - 4 บาท โดยมีการใช้เงินตราเป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการซื้อขาย การเก็บภาษีอากร สุโขทัยไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน หรือ จกอบ แต่จะเก็บภาษีอื่น ๆ เช่น ธรรมเนียมต่าง ๆ ภาษีรายได้การค้า ค่านา เป็นต้น
|
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
จัดทำโดยครูทรงศรี ศิริประเสริฐ
โรงเรียนพิชัย
อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
Copyright (c) 2009 Mrs.Songsri Siriprasert. All
rights reserved.