เทศกาลอีสเตอร์

เรื่องราวของวันอีสเตอร์(easter)
ที่มาของภาพ : http://mblog.manager.co.th/uploads/88/images/jesus-ldcn-org-uk.jpg
อีสเตอร์คือเทศกาลหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิซึ่งในประเทศที่นับถือคริสตศาสนาอีสเตอร์คือการเฉลิมฉลองวันหยุดทางศาสนาซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้าได้ทรงฟื้นพระชนม์ขึ้นจากความตาย แต่ นอกจากการเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์นี้แล้วยังมีการฉลองในลักษณะประเพณีต่างๆและจากตำนานต่างๆซึ่งมาจากที่มาทางศาสนาที่แตกต่างกัน และไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาคริสต์
นักวิชาการทางด้านศาสนาได้ยอมรับต้นตอที่มาของคำว่าอีสเตอร์ซึ่งศึกษาโดยนักวิชาการทางด้านศาสนาชาวอังกฤษอังกฤษในศตวรรษที่8 ที่ชื่อว่าเซนต์ เบเด(St.Bede) ซึ่งเชื่อว่า ชื่อ"Easter" นั้นมาจากภาษาสแกนดิเนเวียนว่า"OSTRA" และในภาษาทิวโทนิค(ภาษาพื้นเมืองสแกนดิเนวีย)ว่า"Ostern" หรือ "Eastre"ซึ่งเป็นชื่อของเทพธิดาแห่งเทพปกรณัมผู้ที่นำฤดูใบไม้ผลิและการเจริญพันธุ์และยังเป็นผู้ที่ถูกสักการะและเฉลิมฉลองในวันที่เรียกว่าVernal Equinox(วันในฤดูใบไม้ผลิที่มีกลางวันและกลางคืนเท่าๆกันพอดี)และประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ การฉลองเทศกาลแห่งการมีชีวิตอยู่ โดยใช้กระต่ายอีสเตอร์เป็นสัญลักษณ์และการเจริญพันธุ์ซึ่งใช้ไข่อีสเตอร์เป็นสัญญลักษณ์
ซึ่งไข่เหล่านั้นถูกทาสีอย่างสดใสและสวยงามซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหมายของแสงอาทิตย์ที่สดใสในฤดูใบไม้ผลิและถูกใช้ในการแข่งขันโยนไข่อีสเตอร์(เป็นประเพณีอย่างนึงในวันอีสเตอร์) และไข่อีสเตอร์ยังใช้มอบให้เป็นของขวัญแก่กันด้วย
การเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ในเทศกาลอีสเตอร์นั้นเกิดจากการนำเอาหลายประพณีมารวมกันซึ่งโดยรวมแล้วมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างเทศกาลอีสเตอร์และเทศกาลPassover หรือเทศกาลปัสกาของชาวยิวนั่นเอง หรืออีกชื่อนึงซึ่งชาวยุโรปชอบเรียกกันคือเทศกาลPaschซึ่งใช้เรียกวันอีสเตอร์ในแถบยุโรปนั่นเอง
เทศกาลปัสกานั้นคือเทศกาลเฉลิมฉลอง ที่สำคัญมากในชาวยิวซึ่งเป็นการฉลองต่อเนื่องเป็นเวลา 8วันเพื่อระลึกถึงการเดินทางมายังดินแดนแห่งพันธะสัญญา(คานาอัน)และการเป็นอิสระของชนชาติอิสราเอลจากการตกเป็นทาสในอียิปต์ซึ่งคริสเตียนรุ่นหลังๆที่มีเชื้อสายยิวได้นำเอาประเพณีฮิบรู (ยิว)รวมถึงเทศกาลอีสเตอร์ในฐานะของเทศกาลปัสกายุคใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงพระเมสไซอาห์(พระเยซู)ซึ่งได้มีผู้เผยพระวจนะได้ทำนายไว้ล่วงหน้าเทศกาลอีสเตอร์ได้ถูกรักษาไว้โดยเคร่งครัดเริ่มโดยคริสตจักรในประเทศทางตะวันตกโดยนับเอาวันอาทิตย์แรกหลังจากวันพระจันทร์เต็มดวงซึ่งเกิดขึ้นหลังวัน Vernal Equinox (21มีนาคม)ดังนั้นวันอีสเตอร์จึงเป็นเทศกาลที่ไม่มีวันที่ที่แน่นอน แต่จะเคลื่อนไปมาทุกปีอยู่ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายนคริสตจักรในประเทศทางตะวันตกซึ่งอยู่ใกล้กับที่เกิดของศาสนาคริสต์และยังต้องดำรงประเพณีดั้งเดิมอย่างเข้มแข็ง ได้รักษาวันอีสเตอร์ไว้ในช่วงเวลาเดียวกันกับเทศกาลปัสกา
วันอีสเตอร์ยังเป็นวันสิ้นสุดของเทศกาลมหาพรต(Lenten Season)ซึ่งครอบคลุมเวลา 46วัน ซี่งเริ่มในวันที่เรียกว่า วันพุธรับเถ้า(Ash Wednesday) และจบลงในวันอีสเตอร์ แต่เฉพาะเทศกาลมหาพรตเองนั้นมีกำหนดเวลา 40 วัน เพราะจะไม่นับวันอาทิตย์ทั้ง 6 วันรวมอยู่ในเทศกาลมหาพรตด้วย(เทศกาลมหาพรตเป็นเทศกาลของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค)
สัปดาห์ศักสิทธิ์(Holy Week) คือสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งเริ่มต้นในวันปาล์มซันเดย์ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูทรงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลมอย่างผู้พิชิตและฝูงชนโห่ร้องต้อนรับพระองค์และได้เอาใบปาล์มโบกต้อนรับและเอาเสื้อผ้าปูลงตามทางเพื่อให้พระองค์ทรงดำเนินผ่านเพราะพระลักษณะที่พระองค์เสด็จมานั้นตรงกับพระวจนะของพระเจ้าที่มีผู้เผยพระวจนะทำนายไว้ล่วงหน้าของพระองค์เป็นมื้อสุดท้าย(TheLastSupper) ซึ่งเกิดขึ้นในตอนเย็นก่อนวันที่พระองค์จะถูกตรึงบนไม้กางเขน และในวันศุกร์ของสัปดาห์ศักสิทธิ์นี้ถูกเรียกว่าวันศุกร์ประเสริฐ(GoodFriday)ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงถูกตรีงและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนสัปดาห์ศักสิทธิ์และเทศกาลมหาพรตนั้นจะสิ้นสุดพร้อมกันใน วันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้าทรงฟื้นคืนพระชนม์ขี้นมาจากความตายนั่นเอง
แห่งที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=E3JZyHjm4Ug
Easter Eggs : ไข่อีสเตอร์
ที่มาของภาพ : http://talk.mthai.com/uploads/2009/04/03/12202-attachment.jpg
การหาไข่อีสเตอร์ กลายเป็นธรรมเนียมประเพณีที่สนุกสนาน เคียงคู่ไปกับการเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ จนยากที่จะตัดทิ้ง ทั้ งๆที่ไข่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับอีสเตอร์แรกเลย เริ่มแรกเมื่อมีการใช้ไข่ในยุโรปสมัยโบราณ หมายถึง “ชีวิตใหม่”หรือ “ความ อุดมสมบูรณ์ที่กลับมาอีกครั้งหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ” ชาวยุโรปเคยใช้ไข่กลิ้งไปตามท้องทุ่ง แล้วบนบานให้ทุ่งนาของตนมีผลิตผลบริบูรณ์ ต่อมาเมื่อคริสต์ศาสนาเผยแผ่เข้าไปในยุโรป และในหลายๆประเทศยอมรับเชื่อเป็นสาวกของพระเยซู เมื่อถึงปัสกา หรืออีสเตอร์ ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิพอดี เลยเอาไข่ที่เคยใช้แต่ก่อนแล้วมาผสมโรงด้วย
ไปดูหลักฐานการใช้ไข่ตั้งแต่โบราณคือ ชาวอียิปต์ และชาวเปอร์เชียได้นำไข่มาทาสีและมอบให้เป็นของขวัญแก่เพื่อนๆ ในเ วลาต่อมาคริสตชนในตะวันออกกลาง เป็นพวกแรกก็ได้เอาไข่ทาสีเข้ามาในพิธีเฉลิมฉลอง อีสเตอร์ของตน
ณ เวลานี้ ไข่ก็ได้พัฒนาเป็นช็อกโกแลตรูปไข่หรือไข่พลาสติก ข้างในบรรจุของกิน หรือของขวัญตามที่จะออกแบบใช้กันในป ระเทศนั้นๆ นี่เป็นที่มาด้านธุรกิจ อย่างไรก็ตามสำหรับอีสเตอร์ในคริสตจักรไทยๆ ก็ยังนิยม เอาไข่ ไก่-เป็ด มาต้ม ทาสีแดง หรือไม่ ทา แต่ก็เอาไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆ เช้ามืดของวันอาทิตย์ คริสตชนจะไปโบสถ์กันตั้งแต่เช้ามืด เด็กๆก็หาไข่ที่ซ่อน ผู้ใหญ่ก็ร่วมนมัสก ารเช้ามืด จำลองสถานการณ์เหมือนเช้าตรู่ เมื่อสองพันปีที่ แล้วที่สาวกย่องไปที่อุโมงค์เพื่อไปชโลมพระศพ และพบว่าอุโมงค์ว่างเปล่า เพราะพระเยซูเป็นขึ้นจากความตายแล้ว
Easter Bunny : กระต่ายอีสเตอร์
ที่มาของภาพ : http://www.creation-church.com/idea/easter09.jpg
ทำนองเดียวกับไข่ เพียงแต่กระต่ายเป็นสัญลักษณ์ของ “ชีวิตใหม่” ที่ออกลุกดกในฤดูใบไม้ผลิ มากกว่าการเน้น “การเป็นขึ้ นจากความตาย” มาดูที่ความเชื่อโบราณของคนอียิปต์ กระต่ายเป็นสัญลักษณ์ของ “ดวงจันทร์” ประกอบกับการยึดเอาปฏิทินทางจันทรคติมาเป็นตัวกำหนดวันอีสเตอร์ในแต่ละปีด้วย ดังนั้นกระต่ายจึงเป็นของแถมกลายเป็นสัญลักษณ์ของอีสเตอร์ไปเลย
ด้านตำนานสมัยใหม่เกี่ยวกับกระต่ายคือ สตรีนางหนึ่งซ่อนไข่อีสเตอร์ไว้สำหรับลูกๆของนางในช่วงกันดารอาหาร ในขณะที่เ ด็กๆพบไข่ที่คุณแม่ซ่อนไว้นั้น พวกเขาพบกระต่ายตัวโตตัวหนึ่งกระโดนออกไปจากหลุมที่ซ่อนไข่นั้น พวกเด็กๆจึงเข้าใจว่า กระต่ายเป็นผู้เอาไข่มาให้พวกเขา ดังนั้นเรื่องของกระต่ายจึงแจมเข้ามาด้วยประการละฉะนี้
แหล่งอ้างอิง 1.http://www.saranair.com/10161
2.http://www.catholic.or.th/spiritual/article/article2009/article01.html
ดีจ้า
ขอมอบปลาให้ไปเลี้ยงนะจ้ะ
ที่มาของภาพ http://2.bp.blogspot.com/_7rUu3IhNi9I/TLR00C2uJRI/AAAAAAAABfY/P6v3yNeL54g/s1600/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A11.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน