ต้นประดู่: แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

ต้นประดู่
แหล่งที่มา อัฐภิญญา ปัญญาวชิรญาณ
ต้นประดู่นี้เป็นต้นไม้ที่โรงเรียนฉันปลูกเป็นตันที่มีขนาดใหญ่มากๆอายุของต้นน่าจะเป็นสิบๆปี
เพราะชั้นจำได้ว่าตั้งแต่ที่ชั้นเข้ามาเรียนในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยในระดับมัธยมศึกษาชั้นปี่ที่ 1 ก็เห็นต้นประดู่นี้แล้ว
ตอนนี้ฉันอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 6แล้วต้นประดู่เหมือนเป็นต้นไม้คุู่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยก็ว่าได้และ
เป็นต้นไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนอีกด้วยในการปลุกจิตสำนึกการอนุรักษ์คุณค่าต้นไม้ใหญ่ ของชาวกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้รับกระแสตอบรับและเรียกความสนใจจากชาวกรุงจำนวนมากในการส่งภาพถ่าย
พร้อมระบุรายละเอียดต้นไม้ใหญ่ๆ ที่มีอายุเก่าแก่ ในกรุงเทพฯร่วมประกวดทาง
เว็บไซต์ http://www.bangkokbigtrees.com/
ต้นไม้ที่สมบูรณ์สุดในกรุงเทพมหานคร โครงการ "ต้นไม้มหานคร" (Bangkok Big Trees)
โดยวัดจากโหวตในสังคมออนไลน์ ปรากฏว่า
“ต้นประดู่”ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ในซอยเจริญกรุง 57 ถนนเจริญกรุง
คว้ารางวัลชนะเลิศด้วยผลโหวต 828 คะแนน
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลจะถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือ 100 ต้นไม้มหานคร (100 Bangkok Big Trees)
เพื่อบันทึกไว้เป็นหน้าประวัติศาสตร์และเผยแพร่ให้ประชาชน

แหล่งที่มาภาพhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=luckystar&month=08-2009&date=16&group=20&gblog=81
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plerocarpus Indicus
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่อสามัญ Padauk
ชื่ออื่นๆ Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป
การค้นพบ
ประดู่ พบในป่าเขตร้อนของประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย และ อินเดีย แถบทวีปอาปริกา
และอเมริกาในที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายกับเอเซียเป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดในที่มีการระบายน้ำดี ในพื้นที่ดินร่วนปนทราย และเป็นพื้นที่ราบ
หรือเนินเขาไม่สูงมากนัก การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติเกิดขึ้นได้ดีในพื้นที่ค่อนข้าง แห้งแล้ง และเปิดโล่ง ในประเทศไทยไม้
ประดู่ป่าขึ้นอยู่ในป่าเบญพรรณ และป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย
ยกเว้นภาค ใต้ พื้นที่ที่พบจะสูงจากระดับน้ำทะเล 300 - 600 เมตร โดยทั่วไปจะพบขึ้นปนกับ พันธุ์ไม้ต่าง ๆ มี
ไม้สัก แดง มะค่าโมง กระพี้เขาควาย ชิงชัน รกฟ้า สมอไทย และ สีเสียดแก่น เป็นต้น

แหล่งที่มาภาพhttp://kalokwan70.blogspot.com/
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ
ลักษณะของใบ เป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว
โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
ดอกช่อ ออกเป็นช่อบริเวณโคนก้านใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดใหญ่ สีเหลือง แต่ดอกเล็ก ส่งกลิ่นหอมไกล ออกดอกก่อนฤดูฝน
ดอกจะบานพร้อมกันและโรยพร้อมกัน

การปลูกและดูแลรักษา
ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย
แหล่งเมล็ด ควรเก็บเมล็ดจากแม่ไม้ ที่มีลักษณะดีเรือนยอดสมบูรณ์ และลำต้นเปลาตรงรากโคนต้นถึงง่ามแตกกิ่งสูง 2 ใน 3
ของความสูงทั้งหมด และอยู่ในวัยที่สมบูรณ์เต็มที่
การเก็บผล ควรเก็บผลจากต้นโดยตรงและแก่เต็มที่ไม่มีโรครา แมลงทำลาย เพราะถ้าเก็บเมล็ดที่ตกอยู่บนดินหรือผลแก่ติดที่ต้นนานๆ
จะทำให้เมล็ดเสียอัตราการงอกได้ง่าย
วิธีเพาะเมล็ด ใช้มือหว่านเมล็ดแบบกระจายทั่วแปลงอัตราการหว่านเมล็ดที่เหมาะสมคือ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เมื่อหว่านเมล็ด
แล้วควรกลบหน้าดินด้วยฟางข้าวหรือขี้เถ้าแกลบช่วยรักษาความชื้นให้เมล็ด อุณหภูมิที่เหมาะสมในการงอกของเมล็ดประดู่
คืออุณหภูมิสลับระหว่างกลางวัน 30 C เป็นเวลา 8 ชั่วโมง และอุณภูมิกลางคืน 25 C เป็นเวลา 16 ชั่วโมง
หลังจากเพาะประมาณ 7-10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกไปเรือย ๆ จนถึงประมาณ 28 วัน
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ
ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า
ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
แหล่งที่มา อัฐภิญญา ปัญญาวชิณาณ
การใช้ประโยชน์

ภาษาอังกฤษ สรุป
Pterocarpus macrocarpus (Burma Padauk) is a species of Pterocarpus native to southeastern Asia in northeastern
India, Burma, Laos, Thailand, and Vietnam.
It is a medium-sized tree growing to 10–30 m (rarely to 39 m) tall, with a trunk up to 1.7 m diameter;
it is dry season-deciduous. The bark is flaky, grey-brown; if cut, it secretes a red gum.
The leaves are 20–35 cm long, pinnate, with 9–11 leaflets. The flowers are yellow, produced in racemes 5–9 cm long.
The fruit is a pod surrounded by a round wing 4.5–7 cm diameter, containing two or three seeds.
The wood is durable and resistant to termites; it is important, used for furniture, construction timber,
cart wheels, tool handles, and posts; though not a true rosewood it is sometimes traded as such.
แหล่งที่มา http://youtu.be/88DkvYWuChg
สวยมากๆจ้ะ มีความรุ้เยอะแยะเลย
ตรวจครั้งที่ 2 ยังไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง
2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี
3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง
4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย
5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด
7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้
8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย
จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
รวดเร็วดี แต่น่าจะมีรูปต้นประดู่ในโรงเรียน และข้อมูลเกี่ยวกับต้นประดู่ในโรงเรียนด้วย
เอานกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน