ดอกผกากรอง:แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

ภาพโดย : นางสาวศรัณยธร เลิศผดุงกิจ
ชื่อพื้นเมือง : ผกากรองต้น ขะจาย ตาปู ขี้กา คำขี้ไก่ สาบแร้ง
ชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lantana camara, Linn
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ภาพโดย : นางสาวศรัณยธร เลิศผดุงกิจ
ผกากรอง เป็นไม้พุ่มที่พบทั่วไปในบ้านเราใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบรูปไข่ขอบใบจักเล็กน้อย ผิวใบจะมีขนอยู่ทำให้รู้สึกสากๆเมื่อจับต้อง ผกากรองนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยอาจปลูกเป็นแถวหรืออาจปลูกเป็นกลุ่มให้เกิดเป็นพุ่มก็ได้ ดอกของผกากรองมีลักษณะสีสันที่ สวยงามมากมีหลายสีตั้งแต่เหลือง ชมพูและม่วง
แสง ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ ต้องการน้ำน้อย
ดิน สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดแต่ดินที่เหมาะคือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดและปักชำ(ส่วนใหญ่แล้วนิยมการปักชำเพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า)
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวนเท่าไหร่
ส่วนที่นำมาใช้ทำยา คือ ใบ ดอก ราก โดยเก็บได้ตลอดปี จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้
"ใบ" มีรสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นหรือหิด ซึ่งเตรียมยาดังนี้นำใบสด10-15 กรัม มาตำและพอกบริเวณที่เป็น หรือ นำใบสดมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาชะล้างบริเวณที่เป็น
"ดอก" มีรสจืดชุ่ม แต่ให้ความรู้สึกเย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื่นและรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก โดยเตรียมยาดังนี้ ถ้าเป็นยารับประทานเพื่อรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แก้วัณโรค แก้ปวดท้องอาเจียน ให้ใช้ดอกสด 10-15 ช่อหรือดอกแห้ง6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าใช้รักษารอยฟกช้ำหรือผดผื่น ให้นำดอกสดมาตำและพอกบริเวณที่เป็น
"ราก" ใช้แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม รอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระแทก โดยถ้าใช้รักษาอาการไข้ คางทูม ให้ใช้ราก30-60กรัม ต้มน้ำดื่ม และถ้าใช้รักษาอาการปวดฟัน ใช้รากสด 30 กรัมกับเกลือจืด 30กรัม ต้มน้ำบ้วนปาก การใช้ผกากรองรักษาโรคก็มีข้อควรระวัง คือ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน ส่วนที่ห้ามรับประทานสำหรับทุกคนเพราะจะเกิดอันตรายจากพิษ คือ ผลแก่แต่ยังไม่สุกเนื่องจากสารกลุ่ม triterpenoid ได้แก่ lantadene A และ lantadene B ซึ่งรับประทานเมล็ดเข้าไปจะมีอาการเพลีย มึนงง ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด
ภาพโดย : นางสาวศรัณยธร เลิศผดุงกิจ
ส่วนที่เป็นพิษ คือ ส่วนของผลแก่แต่ยังไม่สุกและใบ
สารพิษ : ในใบพบสาร triterpenes ชื่อ lantadene A และ B, lantadene A มีพิษมากกว่า lantadene B และสารขม corchorin
การเกิดพิษ : สาร lantadene A และ B เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง แต่ไม่เป็นพิษต่อตับ แต่อนุพันธ์ของมันเป็นพิษต่อตับ ในเมล็ดมีสาร glycosides corchoroside A และB จะกระตุ้นหัวใจ ส่วนสารขมcorchorin กินมากทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ
การรักษา : - ล้างท้องทันที - ส่งโรงพยาบาล - รักษาตามอาการ
** หมายเหตุ : ผกากรองจะมีหลายชนิด บางชนิดเป็นไม้พุ่ม บางชนิดเป็นไม้เลื้อย บางชนิดมีพิษ บางชนิดไม่มีพิษ ดอกหลายสี
สวยมากเลยค่ะ ^^
ตั้งใจทำงาน เรียบร้อยมาก
ตกแต่งได้น่าอ่านมากค่ะ ;)))
ตรวจครั้งที่ 2 ยังไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง
2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี
3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง
4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย
5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด
7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้
8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย
จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน