ต้นประดู่ : แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

วิชาคณิตศาสตร์
วิธีปฏิบัติที่ดีก่อนนำกล้าไม้ไปปลูก มี
(1) การทำให้กล้าแกร่ง คือ ก่อนนำกล้าไปปลูก 1 เดือน จะลดการให้น้ำจากเช้าเย็นเป็น เช้าเพียงครั้งเดียวในช่วง 1 สัปดาห์ และ 2 สัปดาห์ ต่อมาจะให้น้ำวันเว้นวัน ถ้ากล้าไม้อยู่ใน เรือนเพาะชำหลังคาเปิดก็เกิดให้กล้าไม้ได้รับแสงเต็มที่ตลอดวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนนำไปปลูก แต่ถ้ากล้าไม้อยู่ในเรือนเพาะชำปิดต้องย้ายกล้าไม้ออกมาที่กลางแจ้ง แล้วรดน้ำวันละครั้ง2-3 วัน หลังจากนั้นจึงลดเหลือเป็นวันเว้นวันได้
(2) การคัดเลือกกล้าไม้ ควรเลือกกล้าที่ได้ขนาดไปปลูก่อน ซึ่งสามารถเลือกได้ง่าย ถ้า มีการเรียงตามความสูงตั้งแต่แรกและก่อนปลูกควรรดน้ำกล้าไม้ให้ชุ่ม
(3) การขนส่งกล้าไม้ ควรใช้ภาชนะที่มีขนาดและน้ำหนักพอเหมาะสำหรับคนงานที่จะขนย้ายได้สะดวก และระวังอย่าให้กระทบกระเทือน เมื่อถึงที่ปลูกควรหาที่ร่มให้กล้าไม้ได้วางพักหรือที่ใกล้แหล่งน้ำมากที่สุด และควรนำกล้าไปปลูกในปริมาณพอดีกับแรงงานที่ปฏิบัติงานได้ในแต่ละวัน
(4) การเตรียมหลุมปลูก การขุดหลุมปลูกควรทำในวันปลูก โดยใช้จอบขุดหลุมขนาด (กว้าง x ยาว x ลึก) 25x25x25 เซนติเมตร และไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือยากำจัดปลวก เพราะจากผลการทดลองปลูกไม้ประดู่ ไม่ปรากฎความเสียหายจากสาเหตุดังกล่าวและประดู่สามารถทนทานต่อวัชพืชได้
2.ระยะปลูกที่เหมาะสม ประดู่เป็นไม้ป่าที่มีค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องการไม้ขนาดใหญ่ ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบไม้แปรรูปต่าง ๆ ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 2X 4 หรือ 4 X 4 เมตร ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป ระยะปลูกแคบจะช่วยให้ต้นไม้มีรูปทรงดี ลิดกิ่งตามธรรมชาติหรือแตกกิ่งก้านค่อนข้างน้อย เนื้อไม้มีแผลเป็นน้อยใช้แปรรูปได้ดีปริมาณมาก สำหรับการปลูกป่าในระบบวนเกษตร ระยะปลูกควรจะต้องกว้าง เช่น 2 X 8เมตร หรือ 4 X 4 เมคร เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและใช้ช่วงระหว่างต้นไม้ เพื่อปลูกพืชเกษตรได้ดีด้วย
3.การปลูกผสมกับไม้ชนิดอื่น การปลูกไม้ใช้สอยเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จะมีทั้งไม้โตช้าและโตเร็ว ไม้ประดู่จัดเป็นไม้โตช้ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่ปลูกร่วมกับไม้โตเร็วชนิดอื่นได้ เช่น ไม้ยูคาลิปตัสหรือสะเดา เพื่อผลิตไม้ซุงหรือไม้ใช้ก่อสร้างขนาดเล็ก และปลูกผสมกับไม้โตเร็วตระกูลถั่ว เช่น กระถินยักษ์ กระถินณรงค์หรือกระถินเทพา เพื่อผลิตฟืนและถ่าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และยังเป็นการลดการเช้าทำลายของโรคและแมลงอีกด้วย
4. การปลูกประดู่ด้วยเหง้า การปลูกด้วยเหง้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปลูกสวนป่า โดยเฉพาะการขนส่งและการปลูก จากการทดลองปลูกไม้ประดู่ด้วยเหง้า ปรากฎว่าได้ผลดี มีอัตราการรอดตายอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แม้ว่าจะต่ำกว่าการปลูกด้วยกล้า ส่วนการเติบโตไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด การเตรียมเหง้าประดู่ คือการเตรียมดิน ยกแปลงเพื่อเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าที่เพาะลงในแปลที่เตรียมไว้ ระยะห่างระหว่างกล้าที่ชำ 10 x 10 ซม. การบำรุงรักษาแปลงมีการรดน้ำถอนวัชพืช พ่นยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น เมื่อกล้าไม้มีอายุประมาณ 1ปี จึงถอนมาตัดแต่งให้ความยาวของส่วนเหนือคอรากประมาณ 2.5 ซม. ริดรากแขนงออกให้หมด ขนาดเหง้าที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6-1.2 ซม. ขนาดเหง้าที่ใหญ่กว่าไม่ทำให้มีอัตรารอดตายหรือเติบโตสูงขึ้น ความยาวของเหง้าควรประมาณ 15 ซม. ซึ่งสะดวกในการปลูกและการรวมมัด
5. การปลูกไม้ประดู่ด้วยกล้าเปลือยราก คล้ายวิธีการปลูกด้วยเหง้านอกจากจะลดค่าใช้จ่าย ในแต่ละขั้นตอนการปลูกแล้วกล้าเปลือยรากจะมีน้ำหนักเบาและใช้คนเดียวขนกล้าไปปลูกได้การเตรียมกล้าเปลือยราก จะเพาะเมล็ดในแปลงกลางแจ้ง และย้ายชำลงแปลงให้ต้นห่างกัน 15 เซนติเมตร ทำการตัดรากอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามีระบบรากสมบูรณ์ เมื่อกล้าไม้ มีอายุ 7 - 8 เดือนก็ถอนไปปลูกได้ การเตรียมอีกวิธีหนึ่งจะเลี้ยงกล้าในถุง เมื่ออายุ 7 - 8 เดือน ก็เอาดินในถุงออก และควรจะทำในวันเดียวกันการนำไปปลูกจะให้อัตราการรอดตายสูง และอัตราการเจริญเติบโตไม่ต่างจากกล้าถุงดินปลูก ข้อสำคัญของการปลูกวิธีนี้จะต้องมีการจัดการพัฒนาระบบรากกล้าไม้ให้ดีและมีขนาดความโต และความสูงของต้นที่เหมาะสม6. การปลูกไม้ประดู่ในฤดูแล้ง มีประโยชน์ในการขยายช่วงเวลาให้กล้าได้ ตั้งตัวหลังปลูกจนถึงฤดูฝน ความสะดวกใน การขนส่งต่าง ๆ และหาแรงงานได้ง่าย สิ่งสำคัญจะต้องหาวิธีการที่ดีในการเตรียมกล้าและปลูกให้ประสบความสำเร็จดียิ่ง คือกล้าไม้ควรเป็นกล้าค้างปีอายุประมาณ 16 เดือนก่อนนำไปปลูกจะฉีกเฉพาะก้นถุง ให้รากเจริญลงดินได้ขนาดหลุม 25X25X25 เซนติเมตร เมื่อปลูกแล้วพรวนดินกลบเป็น แอ่งเล็กน้อย ถ้าปลูกในทุ่งหญ้าคาในลักษณะ เจาะช่องปลูก จะได้ร่มเงารอบ ๆ แต่เมื่อถึงฤดูฝนต้องหญ้าออกทันที จากการทดลองปลูกไม้ประดู่วิธีนี้โดยไม่มีฝนตกเลย 32 วัน อัตรารอดตายเฉลี่ยประมาณร้อยละ 90 คือ ไม้ประดู่ สามารถทนแล้งได้ 1 เดือน และ ยังพบอีกว่า อัตรารอดตาย และการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกับการปลูกในช่วงต้น ฤดูฝนแต่อย่างใด
- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »
ถ้าจะสวยเว่อขนาดนี้นะ:)))))))))))
*Num
เจ๋งอ่ะ โอเคๆๆๆๆๆๆๆๆๆ >< สวยๆๆ ชอบๆๆๆ
เลิศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ! :DD
อยู่โรงเรียนมาตั้งนาน พึ่งรู้ว่าตประวัติของต้นประดู่นี้ก็วันนี้และ
ขอบคุณมากค่ะ
ทำได้น่าอ่านมากค่ะ
เลิศอะ ^^
เยี่ยมๆๆๆๆๆ
ชอบอ้ะๆๆๆ รูปภาพเยอะดี แฮ่:))
เฮ่ย เจ๋ง !!!!!!!!!
แต่งสวยมาก ๆๆ เนื้อหาก็น่าสนใจ
(:
ว้าวๆๆ ทำบล๊อกดีจัง ชอบมากเลยย :)
ได้ความรู้ดีมาก :DDD,
เนื้อหาเยอะดี ได้ความรู้เพิ่มเติม !!~ ^^")/
รูปสวยงาม
เนื้อหาน่าสนใจดี
สวยดี เรียบง่าย เนื้อหาครบ
เยี่ยมๆ จร้า ><
ภาพสวย !!
ว้าวววว เจ๋ง เนื้อหาโอเคเลยค่า>.,<
ภาพสวยเนื้อหาดีจ้า
รูปสวย เนื้อหาดีแล้วๆๆ ,,
สวยค่ะ จัดเรียงเป็นระเบียบเรียบร้อยดี น่าหาเยอะ ได้ประโยชนด้วย
สวยงามมาก เนื้อหาเยอะตกแต่งน่ารัก ._.
สวย เนื้อหาครบครัน (;
ตรวจครั้งที่ 2 ยังไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
ผ่านมา 20 วัน ไม่แก้ไขอะไรเลยนะจ้ะ
1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง
2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี
3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง
4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย
5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด
7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้
8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย
จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน