แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย : ต้นข่อย

ข่อย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สนนาย เป็นไม้ยืนต้นที่ชาวไทยรู้จักกันดี เพราะข่อยนั้นถือได้ว่าเป็นแปรงสีฟันในยุคแรกๆของประเทศไทยเลยทีเดียว คนโบราณเชื่อกันว่าหากบ้านใด ที่ปลูกต้นข่อยเอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะมีความมั่นคงปลอดภัย และแคล้วคลาดจากอันตรายที่เกิดจากผู้ไม่หวังดี หรือศัตรูที่อาจทำอันตรายแก่สมาชิกภายในบ้าน และผู้คนในบ้านก็จะมีความแข็งแกร่ง อดทนได้ดีเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งความเชื่อนี้ก็เกิดขึ้นเพราะต้นข่อยนั้น เป็นต้นไม้ที่แข็งแรงทนทาน มีอายุยืนหลายชั่วอายุคน และใบของมันยังนำมาโบกพัด เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไปจากบ้านได้เช่นกัน
ภาพโดย : น.ส.ชลดา กทิศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.
ชื่อสามัญ : Siamese rough bush, Tooth brush tree
วงศ์ : Moraceae
ชื่ออื่น : ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี) กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ส้มพอ (เลย) สะนาย (เขมร)
ข่อยเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง 5-15 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปม รูปทรง (เรือนยอด) พุ่มกลม แน่นทึบ พบทั่วไปในที่ราบ ในป่าเบญจพรรณแล้งจนถึงป่าดิบแล้งทั่วไปที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 20-600 เมตร ในต่างประเทศพบในลาว พม่า เขมร
ใบ
ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ ตัวใบมีรูปร่างหลายลักษณะ มีทั้งรูปรี รูปสามเหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปไข่ ปลายมนโค้ง โคนใบแหลม ขอบใบหยัก ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-7 ซม. เนื้อใบหยาบและระคายมือ

ภาพโดย : น.ส.ชลดา กทิศาสตร์
ดอก
ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างดอกกัน ออกใบที่ปลายกิ่ง ดอกตัวเมียอยู่เดี่ยวๆ ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กกว่ามาก และอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกดอก ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์
ผล
รูปไข่ ขนาดประมาณ 0.5 ซม. มีเนื้อฉ่ำน้ำหุ้ม มีเมล็ดขนาดประมาณเมล็ดพริกไทย ผลแก่สีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสหวานกินได้ นกชอบกิน ผลแก่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน

- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »
รูป&ป้ายตกแต่งได้สวยจัง :)
ป้ายสวยมากๆๆๆ เนื้อหาดีจัง
ป้ายbannerสวยๆๆ
ตรวจครั้งที่ 2 มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
สวยจังเลย :)
1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง
2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี
3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง
4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย
5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด
7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้
8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย
จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน