จำปี:แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

จำปี
ที่มา : http://www.the-than.com/FLower/13-3.jpg โดย นางสาว ชลธิชา คุณเผือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia longifolia Blume
ตระกูล Magnoliaceae
ชื่อสามัญ White champae tree
ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีีย
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
จำปี-จำปา เป็นไม้ดอกยืนต้นที่ปลูกในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว ในปัจจุบันมีเกษตรกรสนใจปลูกเป็นการค้ากันมากขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บดอกใช้ทำพวงมาลัยหรือใช้ประกอบในงานพิธีต่าง ๆ และยังปลูกตกแต่งสวนได้เพราะว่าทั้งดอกจำปี-จำปามีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีจำปีสีนวล จำปาแขกที่จัดเป็นชนิดเดียวกันอีกด้วย พื้นที่การปลูกจำปี-จำปาในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2534 มีประมาณ 2,000 ไร่ และผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศมีเพียงส่วนน้อยที่เหลือส่งออกมีมูลค่า 8,000 บาท ประเทศที่รับซื้อคือเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม บรูไน (ข้อมูลจากด่านตรวจพืช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ทั้งจำปี-จำปา เป็นไม้ยืนต้นมีลักษณะเป็นพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว กว้าง ปลายใบแหลม การออกดอกจะออกที่บริเวณส่วนยอดของกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมแต่กลิ่นจะแตกต่างกัน กลีบดอกจำปีมีสีขาว-ขาวครีม ส่วนจำปานั้นกลีบดอกมีเหลืองเข้ม กลีบดอกมี 10-12 กลีบภายในดอกประกอบด้วยเกสรตัวเมีย 1 อันและเกสรตัวผู้มากกว่า 1 อัน
การปลูก
การปลูก การเตรียมดิน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะทำการยกร่องแล้วปลูกบนร่อง ถ้าหากสภาพพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องปลูก หลังจากนั้นทำการเตรียมดินโดยการขุดไถพรวนดิน ใส่ปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ทำการขุดหลุมปลูกโดยใช้ระยะปลูก 4 x 6 เมตร ขนาดของหลุม 1 x 1 x 1 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกประมาณ 1 บุ้งกี๋และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาให้เข้ากันดี แล้วใส่ลงไปในหลุม ก่อนที่จะนำต้นมาปลูกต่อไป นอกจากนี้อาจมีการนำเอาเศษกระดูกสัตว์จากโรงงานมาใส่ในหลุมปลูกด้วย เพื่อช่วยให้ออกดอกมากขึ้น
การขยายพันธ์
การขยายพันธุ์ จำปี นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง โดยจะทำการตอนในช่วงฤดูฝนเพราะจะออกรากดีที่สุด ในฤดูอื่นไม่นิยมการตอนกิ่งเลย ส่วนการเพาะเมล็ดจะไม่นิยมทำกันเพราะการติดเมล็ดยากกว่าจำปา จำปา นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เนื่องจากการติดเมล็ดง่ายและมีจำนวนมาก ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์โดยการตอนอีกด้วย เพราะว่าจะได้ต้นที่เจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด แต่ยังไม่นิยมทำกันมากนัก เพราะจำปาจะออกรากยาก เมื่อเราจะตอน จะต้องเตือนกิ่งทิ้งไว้ก่อน จึงจะทำการตอนได้
การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ จำปี-จำปา เป็นไม้ที่ชอบน้ำมาก แต่อย่าให้น้ำขัง จึงจำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งมาก ๆ อาจต้องรดวันละ 2 ครั้ง ก็ได้ ถ้าให้น้ำไม่เพียงพอจะให้ดอกน้อยลง
2. การให้ปุ๋ย หลังจากจำปี-จำปา ตั้งตัวได้ดีแล้ว (ประมาณ 24 สัปดาห์) ควรมีการใส่ปุ่ยสูตร 15-15-15, 16-16-16, 20-15-15 อัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยเจาะใส่เป็นหลุม ตามแนวของทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยควรใส่เดือนละครั้ง หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตามด้วย นอกจากนี้ยังมีการใส่ปุ๋ย คอกและปูนขาวทุกปีเพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น
3. การตัดแต่งกิ่ง เมื่อต้นมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะมีลำต้นสูง จะต้องตัดแต่งโดยตัดยอดให้ต่ำลง เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ สะดวกในการเก็บดอก แล้วควรตัดกิ่งแก่ กิ่งแห้งออกด้วยเพื่อให้ทรงต้นโปร่งไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง
โรคแมลงและการป้องกันกำจัด
1. โรคใบแก้ว จะพบในจำปา ส่วนจำปีไม่ค่อยพบ สาเหตุเกิดจากการเตรียมดินไม่ดีอาการเหมือนกับโรคใบแก้วของส้ม คือ ใบจะเป็นสีเหลืองบริเวณยอด ส่วนเส้นใบจะเป็นสีเขียว ขนาดดอกเล็กลง และมีสีเปลี่ยนไป การแก้ไข ทำได้โดยการปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยคอก และปูนขาว
2. โรคกิ่งแตก สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาการจะพบว่าที่กิ่งและลำต้นเปลือกนอกของกิ่ง จะแตกเต็มไปหมด ทำให้ออกดอกน้อยลง จะพบในต้นที่มีอายุมาก ๆ การแก้ไข ให้โค่นต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่
3. หนอน จะทำลายทั้งต้นและดอก ทำให้ใบเหี่ยวและดอกเสียหายถ้าปล่อยไว้ ต้นอาจตายได้ การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น แลนเนต อโซดริน ริพคอร์ด ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง
ตรวจครั้งที่ 2 ยังไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
ตรวจครั้งที่ 2 ยังไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
ผ่านมา 20 วัน ไม่แก้ไขอะไรเลยนะจ้ะ
1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง
2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี
3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง
4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย
5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด
7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้
8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย
จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
ส่งงานค่ะ
http://www.thaigoodview.com/node/107061