ดอกยูงทอง :)

http://aoynaja.exteen.com/20090322/entry
ชื่อสามัญ : ยูงทอง
รูปร่าง/ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 40 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1.5-3.5 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 90 ซม. ดอก สีเหลืองสด ผลิดอกเต็มต้นตอนทิ้งใบ กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 1 ซม. กลีบดอกรูปช้อน 5 กลีบ ยาว 2-3 ซม. ฝัก รูปไข่กลับ กว้าง 3 ซม. ยาว 8-17 ซม.
แหล่งที่พบ : มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกาถึงบราซิล
ต้นหางนกยูงฝรั่ง หรือที่ชาวธรรมศาสตร์มักเรียกสั้นๆ ว่า ต้นยูงทอง เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จ มาปลูกที่หน้าหอประชุมใหญ่ จำนวน 5 ต้น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506 และพระราชทานให้เป็นต้นไม้ สัญลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยสีของดอกหางนกยูงนั้น มีความสอดคล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยแต่เดิม คือสี เหลือง - แดง
ประวัติ
หางนกยูงฝรั่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Delonix regia (Bojer) Raf. อยู่ ในวงศ์ Caesalpinioideae เช่นเดียวกับ นนทรี ต้นขี้เหล็ก ประดู่แดง ชงโค คูน กาหลง กัลปพฤกษ์ และจามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย[2]
ในประเทศไทยมีผู้นำเข้ามาปลูกเพื่อความสวยงาม โดยปัจจุบันมีต้นหางนกยูงสองชนิดคือหางนกยูงฝรั่ง และหางนกยูงไทยที่มีเป็นไม้พุ่มและดอกสีสดใสหลากสี
ชื่อสามัญ | : | ยูงทอง |
รูปร่าง/ลักษณะ | : | ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 40 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1.5-3.5 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 90 ซม. ดอก สีเหลืองสด ผลิดอกเต็มต้นตอนทิ้งใบ กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 1 ซม. กลีบดอกรูปช้อน 5 กลีบ ยาว 2-3 ซม. ฝัก รูปไข่กลับ กว้าง 3 ซม. ยาว 8-17 ซม. |
แหล่งที่พบ | : | มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกาถึงบราซิล |
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นโตเต็มที่สูงราว 12 - 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม แผ่กิ่งก้านออกคล้ายจามจุรี แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง เป็นพืชผลัดใบ[3] ในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน
ฤดูออกดอก
หางนกยูงฝรั่งออกดอกเป็นช่อ ในช่วงช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปีใดอากาศร้อนและแห้งแล้งมากจะยิ่งออกมาก ดอกดกและทิ้งใบทั้งต้น เหลือแต่ดอกบานสะพรั่ง
- ฟลอริดา: พฤษภาคม - มิถุนายน
- แคริบเบียน: พฤษภาคม – กันยายน
- อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ: เมษายน – มิถุนายน
- ออสเตรเลีย: ธันวาคม – กุมภาพันธ์
- หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา: มีนาคม - มิถุนายน
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ : เมษายน - มิถุนายน
- ฟิลิปปินส์: เมษายน - พฤษภาคม
- บราซิล: กันยายน - กุมภาพันธ์
- ไทย: เมษายน - พฤษภาคม
- ซิมบับเว: ตุลาคม - ธันวาคม
- สรรพคุณทางยา
รากนำมาต้มหรือทอดรับประทานกับอาหาร เป็นยาขับโลหิตในสตรี แก้อาการบวมต่างๆ ลำต้นนำมาฝนทาแก้พิษ ถอนพิษสัตว์ต่อยกัดได้[5] เมล็ดอ่อนของหางนกยูงฝรั่งนำมากินสดๆ ได้ สำหรับเมล็ดแก่ต้องนำมาทำให้สุกเสียก่อนจึงจะใช้กินได้ เพราะมีสารประกอบบางชนิดที่เป็นพิษ แต่จะถูกทำลายด้วยความร้อน
ตรวจครั้งที่ 2 มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
ผ่านมาหลายวัน รีบปรับปรุง เพิ่มเติม ให้สวยงาม ดูดี และครบถ้วนด้วยนะจ้ะ
1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง
2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี
3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง
4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย
5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด
7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้
8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย
จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน