แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ดอกปีบ

ดอกปีบ
ลักษณะทั่วไป
ปีปเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ10-20 เมตรผิวเปลือกลำต้นมีสีเทาบริเวณเปลือกลำต้น
และกิ่งก้าน มีรอยขระขระ มีจุดเล็กบ้างใหญ่บ้างคละกัน ใบจะออกเป็นช่อ แต่ละช่อจะประกอบด้วยใบจำนวนมาก ลักษณะ
ใบกลมรี ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบ โคนใบมนใต้ใบจะสังเกตุเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดใบกว้าง ประมาณ 2-3 เซนติ
เมตรยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อตั้งตรงลักษณะของดอกเป็นท่อยาวประมาณ23นิ้วดอกมีสีขาวปนเหลือง
เล็กน้อยขนาดดอกโตประมาณ 2 เซนติเมตรปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉกมี 5 แฉกตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และ
เกสรตัวเมียติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อผลมีลักษณะเป็นฝักแบนยาวประมาณ 8-10 นิ้ว กว้างประมาณ 1 นิ้ว ภายในมีเมล็ด
ลักษณะแบบ ปลิวไปตามลมได้
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นปีปไว้ประจำบ้านจะทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มาก เพราะ ปีป คือ ภาชนะที่ใช้ในการ
บรรจุของ ดังนั้นคนไทยโบราณเรียกภาชนะใส่ของที่มีค่าว่า ปีปเงิน ปีปทอง นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าสามารถทำให้มีชื่อเสียง
โด่งดัง เพราะปีปมีลักษณะแข็งและโปร่ง เวลาเคาะหรือตีจะเกิดเสียงดังไปไกล
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นปีปไว้ทางทิศตะวันตกผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่า
การปลูกไม้เพื่อเอาคุณ ทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิดในวันจันทร์ เพราะ
ปีปเป็นดอกไม้ประจำของนางโคราคเทวีซึ่งเป็นนางประจำวันจันทร์ในธดาของพระอินทร์นอกจากนี้ถ้าหากผู้อาศัยในบ้าน
เกิดในวันจันทร์ด้วยแล้วก็จะเป็นศิริมงคลมากยิ่งขึ้น
การปลูก
นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :
ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูกถ้าปลูกประดับบ้านเรือนหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะปีปเป็นไม้ที่ม
ีทรงพุ่มใหญ่พอสมควร
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธุ์ การใช้เมล็ด และการปักชำ
โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี
<!--pagebreak-->
<p>แนะนำแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม</p>
ตรวจครั้งที่ 2 มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
ผ่านมาหลายวัน รีบปรับปรุง เพิ่มเติม ให้สวยงาม ดูดี และครบถ้วนด้วยนะจ้ะ
1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง
2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี
3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง
4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย
5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด
7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้
8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย
จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน