ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างบ้านใหม่



- ปี 2554 เป็นปีที่ประสบปัญหาใหญ่ น้ำท่วมอย่างหนัก เดือดร้อนกันทั้งกรุงเทพและปริมณฑล และนิคมอุตสาหกรรมไอเทคกว่า 100 โรงงานที่จมน้ำ เกิดความเสียหายอย่างมาก มีผลกระทบต่อรายได้ของประเทศ ขาดทุนอย่างมาก ประชาชนเดือดร้อนไม่มีที่อยู่อาศัย ของใช้บ้านเรือนเสียหาย อีกทั่งต้องคอยระวังไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งน้ำเป็นตัวกลางนำสื่อได้ดีทีเดียว มีคนเสียชีวิตจากน้ำท่วมหลายร้อยศพ นอกจากระวังเรื่องไฟฟ้าแล้วยังต้องระวังโรคที่มากับน้ำท่วม เป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมากๆ ที่เราต้องเผชิญกับมันถ้าบ้านเราเกิดปัญหาน้ำท่วม เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู และหลังน้ำท่วมแล้วผู้ประสบภัยยยังต้องประสบกับปัญหาสุขภาพอีกหลายอย่าง เนื่องจากแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภคจะปนเปื้อน กระแสน้ำจะพาสิ่งสกปรก เชื้อโรค สารเคมีกระจายเป็นวงกว้าง กระทรวงสาธารณะสุขจึงออกมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมา

บ้านของเรา แบ่งได้ 3 อย่าง
- พื้นที่ด้านนอก ประกอบไปด้วย พื้น กำแพง สวน เป็นพื้นที่โดนน้ำและแสงแดดมาก อาจมีการเกิดตะไคร้ได้ง่าย การทำความสะอาดก็ทำได้ง่ายกว่าพื้นที่ด้านใน เพราะสามารถขัดหรือล้างแบบเปียกได้ ไม่ต้องกลัวจะชื้นหรือเปียกเฟอร์นิเจอร์ ทำให้การทำความสะอาดไม่ต้องระมัดระวังมากนัก และยังเป็นพื้นที่โดนแสงแดดได้ดี อากาศและลมถ่ายเทสะดวก การสะสมของความชื้นอับและเชื้อโรคจะน้อยกว่าพื้นที่ด้านใน
- พื้นที่ด้านใน ประกอบไปด้วย พื้นและผนัง หากน้ำขังก็จะซึมผ่านปูน ผ่านพื้น และสะสมความชื้นอยู่ด้านใน หากทาสีเลย สีก็จะร่อน หากไม่ดูแลดีๆความชื้นก็จะอับและเป็นเชื้อราได้ง่าย การทำความสะอาด ก็ทำได้เฉพาะผิวด้านนอก ทั้ง กำแพงและพื้น พวกคราบน้ำ หรือสิ่งสกปรก เท่านั้น หากไม่คิดมากเพราะว่าเปียกจากน้ำท่วมอยู่แล้วก็ขัดล้างทำความสะอาดแบบเปียกเลยจะให้ผลที่ดีกว่าครับ ไม่ควรทาสีทับทันทีเพราะความชื้นจะสะสมอยู่ด้านในและเป็นเชื้อราได้ ความอับชื้นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู ควรเปิดหน้าต่าง ประตู และช่องแสงต่างๆให้ ความร้อนจากแสงแดด และ ลม ช่วยพัดพาความชื้นออกไป
- เฟอร์นิเจอร์ ในที่นี้ไม่รวมเครื่องไฟฟ้านะครับ เพราะคงต้องส่งซ่อมหรือซื้อใหม่เท่านั้น เฟอร์นิเจอร์แนะนำการ ล้าง ซัก และตากแดดครับ วัสดุจากไม้จะสะสมความชื้นและสิ่งสกปรกได้ซึมลึก ทำความสะอาดให้เหมือนเดิมเป็นไปได้ยากครับ วัสดุจากผ้า ถ้าซักได้ ซักเลยครับ และตากแดด ระวังเรื่องความชื้นกันด้วยนะครับ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะสะสมเชื้อโรคและอาจทำให้เจ็บป่วยได้เลยทีเดียว
- กำจัดปัญหาอย่างตรงประเด็น
- 1. ความชื้น – เป็นต้นเหตุของทุกปัญหา พอชื้นปุ๊บ สะสมเชื้อโรค เกิดเป็นเชื้อรา เกิดจุลินทรีย์ เกิดกลิ่นเหม็น มีคราบสกปรก และอีกมากมาย ดังนั้น ต้องกำจัดให้ได้มากที่สุดครับ ง่ายที่สุดคือ…
- เปิดหน้าต่าง เปิดพัดลม เปิดประตู เปิดทุกอย่างที่เป็นไปได้ ให้อากาศและลมถ่ายเทพัดพาเอาความชื้นออกไป หากเป็นวันแดดจัดจะดีมาก แต่ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเครื่องปรับอากาศ จะดูดเอาความชื้นและเชื้อโรค ไปติดในตัวเครื่อง และต่อไปอากาศจากเครื่องปรับอากาศจะไม่สะอาด ทำให้เกิดโรคและภูมิแพ้ได้
- เครื่องทุ่นแรง – ที่ใช้ได้จะเป็นพวกเครื่องเป่าลมหอยโข่ง ถ้ามีลมร้อนด้วยจะดีมาก
- สามารถใช้ กากใบชาแห้ง กากกาแฟแห้ง หรือถ่าน ดูดความชื้นได้
- 2. เชื้อโรค เชื้อรา ต่างๆ – เกิดจากความชื้นและสิ่งสกปรกที่มากับน้ำ ทำให้เกิดการสะสมและรวมตัวกัน เป็น เชื้อโรค เชื้อราต่างๆ มีผลร้ายต่อร่างกายหากสูดดม หรือ สัมผัสเป็นเวลานานๆ
- a. ใช้คลอรีน ผสม 1 ต่อ 500 หรือ 1000 ส่วน เช็ดถู ฉีดพ่น หรือ
- b. ใช้น้ำส้มสายชู เช็ดถู ฉีดพ่น หรือ
- c. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราต่างๆ
- d. หลังจากนั้นประมาณ 10-20 นาที เช็ดถูทำความสะอาดอีกครั้งด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป
- 3. กลิ่นเหม็น – หลังจากกำจัดความชื้นและ เชื้อโรค เชื้อราต่างๆ ไปแล้ว กลิ่นเหม็นจะเบาบางลงไป แต่กลิ่นที่ยังสะสมอยู่ในท่อน้ำหรือพื้นที่อับชื้นเช่น ห้องน้ำ ควรใช้น้ำหมักชีวภาพ EM แล้วราดลงพื้นหรือฉีดพ่น ช่วยกำจัดกลิ่นได้ การออกฤทธิ์จะช้าแต่ได้ผลดี ไม่ควรใช้น้ำยาที่ผสมน้ำหอมราดเพราะจะทำให้กลิ่นเหม็นยังคงอยู่และอยากรุนแรงขึ้นได้
- 4. คราบสกปรก – กำจัดคราบต่างๆโดยใช้น้ำยาทำความสะอาด และเช็ดถู หรือขัด ตามปกติ หากพื้นที่กว้างสามารถใช้เครื่องขัดพื้นช่วยได้ สำหรับพื้นที่ด้านนอกสามารถใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงร่วมกับน้ำยาจะทำความสะอาดได้เร็วขึ้น (ดูในหมวดการทำความสะอาด)

1. พื้น
- ด้านนอกอาคาร ทำความสะอาดโดยการฉีดน้ำล้าง การขัด และใช้น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ สามารถ ล้างแบบเปียกได้แล้วทิ้งให้แห้ง สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาด
- ด้านในอาคาร เช็ดทำความสะอาด หากคราบฝังแน่น ขัดด้วยแปรงหรือแผ่นขัด และใช้น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาดเพื่อทำความสะอาด
*หมายเหตุ หากพื้นที่กว้างสามารถใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง หรือเครื่องขัดพื้น ช่วยทำความสะอาดจะลดเวลาทำงานได้มาก
- พื้นไม้ สะสมความชื้นสูง ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาด ล้าง หรือเช็ดถู
- พื้นพรม หากสะสมความชื้นสูง แนะนำให้เปลี่ยนใหม่จะดีกว่า เพื่อความสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หากไม่ชื้นมากให้ใช้เครื่องซักพรมทำความสะอาด หรือซักล้างด้วยแปรงขัดล้างทำความสะอาด แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดน้ำเพื่อดูดน้ำกลับ ระวังพรมบางประเภทไม่ทนต่อน้ำ
กาวหรือขนพรมอาจหลุดได้


2. กำแพง
- ผนังไม้ ปกติไม้จะเสียหายเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ แต่มักผุกร่อนในจุดที่มีน้ำขึ้น น้ำลง ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำลดให้ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในบ้าน เพื่อให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกไปได้ เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดีแล้วให้ใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ทาชะโลมที่ผิว แล้วรออีกสัก3-4เดือน จึงทาภายนอกอีกทีเพราะผนังภายนอกน่าจะแห้งสนิทดีแลัว
- ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ดำเนินการเหมือนผนังไม้ แต่ต้องทิ้งระยะเวลานานกว่าเนื่องจากผนังอิฐมีมวลสารและการเก็บกักความชื้นในตัววัสดุได้มากกว่าไม้ จึงต้องใช้เฃวลาระเหยออกไปนานกว่าไม้
- ผนังยิบซั่มบอร์ด เนื่องจากวัสดุชนิดนี้เป็นแผ่นผงปูนยิบซั่มที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่าจะดีเพียงใดเมื่อเจอกับน้ำท่วม แล้วก้คงไม่น่าจะมีชีวิตต่อไป ดังนั้นให้แก้ไขโดยเลาะเอาผนังแผ่นชนิดนี้ที่โดนน้ำท่วมจากโครงเคร่าแล้วค่อยหาเแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็เรียบร้อย ระวังโครงเคร่าผนังที่เป็นไม้ ต้องรอให้ความชื้นระเหยออกไปก่อน ให้แห้งสนิท
- ผนังโลหะ/กระจก วัสดุเหล่านี้โดยตัวเนื้อวัสดุคงไม่มีความเสียหาย เพียงแค่ทำความสะอาดขัดถูก็จะสวยงามเหมือนเดิม แต่ระวังเรื่องรอยต่อว่ามีคราบน้ำ เศษผง สิ่งสกปรกติดฝังอยู่หรือไม้ หากทำความสะอาดเสียให้เรียบร้อย เนื่องจากคราบน้ำอาจทำให้วัสดุแนวเสื่อมสภาพเร็วกว่าเดิม

3. เฟอร์นิเจอร์
- ตู้บิลอิน เช็ดถูทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค เปิดหน้าบานระบายความชื้น
- เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ฉีดล้างทำความสะอาด นำตากแดด หากเป็น เฟอร์นิเจอร์ผ้าจะเปียกและสะสมความชื้นสูง แนะนำให้เปลี่ยนใหม่จะดีกว่า
- เพื่อความสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หากไม่ชื้นมากให้ซักล้างด้วยแปรงขัดล้างทำความสะอาด แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดน้ำเพื่อดูดน้ำกลับ


4. เครื่องใช้ต่างๆ
- เครื่องครัว ต่างๆ แช่ทำความสะอาดในน้ำคลอรีนผสม หรือ แอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วนำไปแช่ในน้ำเดือดต้มทำความสะอาดอีกครั้ง
- เครื่องเงินและโลหะ ต้มทำความ แช่ในน้ำเดือดต้มทำความสะอาด

ข้อควรจำ!!
- • สวมถุงมือ รองเท้ายาง ผ้าปิดจมูก ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่ว และการสูดดม สัมผัสกับเชื้อโรคต่างๆ
- • ควรทำความสะอาด ฟื้นฟู ทันทีที่ทำได้ อย่าทิ้งไว้นาน เพราะเชื้อโรคจะสะสมมาก คราบสกปรกจะฝังแน่นทำความสะอาดยาก
- • ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศทันที เพราะ เชื้อโรคจะสะสมในระบบได้ ควรใช้งานหลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้ว
- • เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อลดความชื้นและอับ จะลดโอกาสเกิดเชื้อราและไม่สะสมเชื้อโรค
- • ห้ามทาสีใหม่ทันที เพราะความชื้นสะสมที่กำแพง จะทำให้สีทาใหม่ลอกร่อนได้
- • กำจัดความชื้น เชื้อรา ให้ได้มากที่สุด เพื่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ลดโอกาสเกิดโรคทางเดินหาย โรคปอด หอมหืด

แหล่งอ้างอิง:
www.108clean.com/ความรู้และเทคนิค/คู่มือการทำความสะอาดหลังน้ำท่วม.html
อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน
เนื้อหาดีมาก