โรคที่ควรระวังซึ่งมากับน้ำท่วม



ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (ได้แก่ จมูกและคอ) อาการของโรคประกอบด้วยการจาม, อาการคัดจมูก, เยื่อจมูกที่จะบวมและแดง, และยังมีการหลั่งน้ำมูกมากกว่าปกติจนไหลออกทางจมูก
ถ้าเชื้อไวรัสติดเชื้อไปที่จมูก แต่ถ้าติดเชื้อที่คอ จะมีอาการเจ็บคอ คอแหบแห้ง
หรือมีเสมหะสะสมอยู่บริเวณลำคอ โดยการติดเชื้ออาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งสองบริเวณ
นอกจากนี้ผู้เป็นโรคจะมีอาการไอ, ปวดศีรษะ และเหนื่อยง่าย
ไข้หวัดมักจะมีระยะโรคอยู่ที่ประมาณสามถึงห้าวัน
อาจร่วมด้วยอาการไอที่สามารถต่อเนื่องไปได้ถึงสามสัปดาห์
เกิดจากเชื้อหวัด
ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน
การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงชนิดเดียว
เมื่อเป็นแล้วคนเราก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดนั้น
ในการเจ็บป่วยครั้งใหม่ก็จะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ
เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือหายใจรดกัน
นอกจากนี้ เชื้อหวัดยังอาจติดต่อได้โดยการสัมผัสมือ กล่าวคือ
เชื้อหวัดติดที่มือผู้ป่วยเมื่อสัมผัสถูกมือของคนอื่นเชื้อหวัดก็จะติดมือของคนๆ
นั้น และเมื่อใช้นิ้วขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายของคนๆ
นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้
การติดต่อ
โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านทางละอองน้ำมูกและน้ำลายที่มาจากการไอหรือจามของผู้ป่วย
โดยละอองเหล่านี้สามารถทำให้คนเป็นหวัดได้ผ่านจากการสูดละอองเหล่านี้เข้าไปโดยบังเอิญ
หรือผ่านการสัมผัสจากมือต่อมือกับผู้ป่วย และจากการสัมผัสวัตถุที่ผู้ป่วยเคยสัมผัสมาก่อน
ซึ่งจะติดต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคได้ผ่านทางส่วนตาและจมูก
เมื่อมือที่เปื้อนเชื้ออยู่สัมผัสไปโดน
ระยะฟักตัว
ระยะตั้งแต่ผู้ป่วยรับเชื้อเข้าไปจนกระทั่งมีอาการเกิดขึ้น 1-3 วัน คนที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดเข้าไปมีอัตราการเป็นโรคสูงถึง 95% อย่างไรก็ตามมีเพียง 75% เท่านั้นที่แสดงอาการออกมา
โดยการแสดงอาการจะเกิดขึ้น 1-2 วันหลังจากการติดเชื้อ
ซึ่งโดยปกติแล้วอาการของโรคหวัดจะเริ่มต้นด้วยอาการเจ็บคอ และไม่มีอาการติดขัดใดๆ
ในระบบทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเอง อาการจะเกิดขึ้นจากกลไกการสกัดกั้นเชื้อโรคของร่างกายได้แก่
อาการจาม, น้ำมูกไหล, และไอเพื่อขับเชื้อออกไป
และการเกิดอาการอักเสบเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงาน
ผู้ป่วยอาจมีไข้ตัวร้อนเป็นพักๆ
ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกใสจาม
คอแห้ง หรือเจ็บคอเล็กน้อย ไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะเล็กน้อยลักษณะสีขาว
บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูก
น้ำมูกใส ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด บางครั้งอาจมีไข้สูง และชักได้
มีอาการท้องเดินได้ หรือถ่ายเป็นมูกร่วมด้วย ถ้าเป็นเกิน 4 วัน หรือถ่ายเป็นมูกข้นเหลืองหรือเขียวหรือไอมีเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว
จากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย และอาจมีอาการอื่นๆ
แทรกซ้อนตามมาซึ่งจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมกัน ตรวจพบ ไข้ น้ำมูก
เยื่อจมูกบวมและแดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอลซิลโต แต่ไม่แดงมากและไม่มีหนอง
หลังจากผู้ป่วยหายจากโรคหวัดแล้ว
ร่างกายของผู้ป่วยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดชนิดที่ผู้ป่วยเพิ่งประสบมาโดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดอยู่มากมาย
ภูมิคุ้มกันนี้จึงให้การป้องกันที่จำกัด ดังนั้นคนที่หายจากโรคหวัดมา
อาจเป็นได้อีก ถ้าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดอีกชนิดหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้กระบวนการและอาการทั้งหมดเริ่มขึ้นใหม่อีกครั้ง
2) ปอดบวม
เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด
โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ
ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ
เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน
อาการ
ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ
เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ[4]
การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ
การป้องกันโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
วิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงเชื้อหวัดได้คือการหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด ด้วยการล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ , หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าของตนเอง , ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน , ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ , สวมเสื้อผ้าให้หนาพอหากอากาศเย็น และปิดปาก จมูกด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอหรือจาม
- 1
- 2
- 3
- 4
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »
เนื้อหาเยอะมากค่ะ
เนื้อหากับรูปภาพน่าสนใจมากเลยค่ะ^^
เนื้อหาแน่นมากค่ะ^^
อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน