โรคที่ควรระวังซึ่งมากับน้ำท่วม

5. โรคตาแดง


การอักเสบของเยื่อตา
(เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของนัยน์ตาและอยู่ใต้เปลือกตา) สาเหตุอาจเกิดจากอาการแพ้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่นัยน์ตาซึ่งอาจสามารถหายไปได้เอง
หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
ซึ่งสามารถเป็นโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ
(เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของนัยน์ตาและอยู่ใต้เปลือกตา) สาเหตุอาจเกิดจากอาการแพ้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่นัยน์ตาซึ่งอาจสามารถหายไปได้เอง
หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
ซึ่งสามารถเป็นโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ
อาการ
ระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม และเยื่อบุตาขาวอักเสบแดง อาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปตาอีกข้างหนึ่ง
วิธีป้องกัน
ถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที ไม่ควรขยี้ตา , อย่าให้แมลงตอมตาและไม่ควรใช้สายตามากนัก , ผู้ป่วยโรคตาแดงควรแยกจากคนอื่นๆ และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาด
6. ไข้เลือดออก

ที่มาของภาพ : http://www.thaisafetywork.com/โรคไข้เลือดออก-วิธีป้อง
เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงในจีนัส Aedes
โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน
ไวรัสมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด
การติดเชื้อแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้นๆ ไปตลอดชีวิต
และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดอื่นๆ ในเวลาสั้นๆ
การติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นในภายหลังอาจทำให้มีอาการรุนแรง
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงในจีนัส Aedes
โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน
ไวรัสมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด
การติดเชื้อแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้นๆ ไปตลอดชีวิต
และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดอื่นๆ ในเวลาสั้นๆ
การติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นในภายหลังอาจทำให้มีอาการรุนแรง
อาการ
ไข้สูงลอย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง อาจมีจุดแดงเล็กๆ ตามลำตัว แขน ขา
วิธีป้องกัน
ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวันโดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง และกำจัดลูกน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้านทุกสัปดาห์ โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำ คว่ำหรือทำลายภาชนะไม่ให้มีน้ำขัง
7. อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย
อุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด จมน้ำ การบาดเจ็บจากการเหยียบของแหลมหรือของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน
วิธีป้องกัน
ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัทเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้าน ก่อนที่น้ำจะท่วมถึง , เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
เนื้อหาเยอะมากค่ะ
เนื้อหากับรูปภาพน่าสนใจมากเลยค่ะ^^
เนื้อหาแน่นมากค่ะ^^
อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน