0630 กำเนิดศิวลึงค์
กำเนิดศิวลึงค์

ตำนานการเกิดศิวลึงค์ในทางศาสนาสากลได้กล่าวไว้ว่า ในครั้งหนึ่งเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นอีกภาคหนึ่งของพระแม่อุมามหาเทวีอัครมเหสีขององค์พระศิวะมหาเทพนั้น ได้บังเกิดความกริ้วในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งทรงบังเกิดความไม่พอใจอย่างมากจนกระทั่งได้เกิดโรคระบาดในหมู่บ้านทำให้เจ็บไข้ได้ป่วยลมตายเป็นจำนวนมากซึ่งบรรดาชาวบ้านชาวเมือง ได้เชื่อกันว่าภัยพิบัติครั้งนั้นเกิดขึ้นจากความกริ้วของเจ้าแม่กาลีเป็นแน่ดังนั้นพวกพราหมณ์จึงได้ปรึกษาหารือกันแล้วีมติให้นำดินมาปั้นเป็น รูปอวัยวะเพศของพระศิวะเพื่อถวายให้กับเจ้าแม่กาลีซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าพระแม่อุมาในภาคนี้นั้นค่อนข้างจะดุดันมิใช่น้อยการปั้นเป็น รูปอวัยวะเพศให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะแล้วนำไปถวายเพื่อบูชาเจ้าแม่กาลีนั้นจึงน่าจะทำให้เจ้าแม่เกิดความพอใจและระงับ ความกริ้วลงได้ซึ่งปรากฏว่าเมื่อพวกพราหมณ์ได้นำเอาศิวลึงค์หรือรูปของลับนั้นไปบูชายังเทวลัยหรือศาลเจ้าที่มีรูปเคารพของเจ้าแม่กาลี ประดิษฐานอยู่และได้มีการสวดมนตร์สรรเสริญบูชาถวายเครื่องบวงสรวงสังเวยต่างๆพร้อมกับรูปศิวลึงค์นั้นปรากฏว่าเมื่อเสร็จสิ้นการบวงสรวง บูชาในพิธีกรรมนั้นบรรดาชาวบ้านชาวเมืองก็ได้รอดพ้นจากโรคระบาดที่ทำให้ป่วยไข้และล้มตายกันไปอย่างน่าอัศจรรย์นักเพราะหลังจากนั้น ไม่นานโรคระบาดก็ได้หายไปไม่เกิดขึ้นอีก จึงทำให้ได้มีการสร้างรูปศิวลึงค์กันอย่างแพร่หลาย และได้มีการประกอบพิธีกรรมบูชาศิวลึงค์นั้น ควบคู่ไปกับการสักการะบูชาเจ้าแม่กาลีด้วยนี่เป็นตำนานการเกิดศิวลึงค์อีกตำนานหนึ่งซึ่งยังได้ระบุว่าการที่พ่อแม่นำศิวลึงค์ขนาดเล็กๆผูก ไว้กับเชือกแล้วผูกรอบเอวของเด็ก ๆก็เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าแม่กาลีทำร้ายเด็กได้ เด็กที่ผูกศิวลึงค์ไว้ป้องกันตัว ก็จะแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งก็เป็นความเชื่อหนึ่งที่ยังมีให้เห็นในปัจจุบันนี้และแม้แต่ในบ้านเมืองเราก็มีปรากฏให้เห็นถึงความเชื่อนี้ด้วยเช่นกัน แต่เราจะเรียกศิวลึงค์นั้นว่า "ปลัดขิก" ในเทวลัยบางแห่งนั้น นอกจากรูปศิวลึงค์ที่สร้างเป็นรูปแท่งอวัยวะเพสชาย จากหินบาง จากดินบ้างหรือจากไม้แกะสลักบ้างแล้วนั้น ในบางแห่งจะปรากฏว่าฐานของศิวลึงค์จะมีแท่นรองรับอีกแท่นหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนอวัยวะเพศหญิง เรียกกันว่า "โยนี" นั่นเอง การที่ได้คิดสร้างโยนีเป็นแท่นรองรับศิวลึงค์นั้นก็เพื่อให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนองค์พระแม่อุมาที่เป็นอัครมเหสีขององค์พระศิวะมหาเทพนั่นเอง และในความหมายอันลึกซึ่งกว่านั้น ตามคติพราหมณ์ได้เชื่อกันว่าทั้งโยนีและศิวลึงค์ ซึ่งเป็นอวัยวะเพศหญิงและอวัยวะเพศชายนั้น ก็เปรียบเสมือนสิ่งของที่จะต้องคู่กันและมีพลังที่จะส่งเสริมกันให้มีอำนาจและมีพลังยิ่งใหญ่โดยแท้เสมือนกับผู้หญิงที่มักจะเป็นแรงเสริม คอยผลักดันให้ผู้ชายได้มีอำนาจมีความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงอันเป็นสิ่งที่จะต้องคู่กันและเสริมกันให้เกิดความสมบูรณ์อย่างแท้จริงในการดำเนินชีวิต ของมนุษยชาติ
การบูชาศิวลึงค์
ในอินเดียตอนใต้จะมีการประกอบพิธีสักการะบูชาศิวลึงค์กันอย่างจริงจังโดยจัดทำกันในเมืองที่อยู่บนยอดเขาโดยจัดเป็นประจำทุกปีเรียกกัน ว่าเทศกาลบูชาศิวลึงค์โยนีหรือเทศกาล KAETIKAI หรือเทศกาล SATURNALIT เทศกาลทั้ง 2 นี้ จะทำพิธีกันค่อนข้างใหญ่โตเป็นพิเศษ มีงานเฉลิมฉลองกันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน เครื่องบวงสรวงที่จะใช้ในพิธีกรรมนี้ก็ประกอบด้วยน้ำนมสดและพวงมาลัยดอกไม้สดเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องประกอบพิธีดังนี้ - ดอกไม้เหลือง - ดอกไม้แดง - ข้าวตอก - ใบมะตูม - หญ้าคา - มูลโค - มะพร้าวอ่อน - เมล็ดธัญพืชต่าง ๆเช่นข้าวโพดแห้งเมล็ดข้าวแห้งธูปหอมและเทียนหอมในเทศกาลนี้จะมีการตั้งรูปศิวลึงค์อยู่ณเทวสถานกลางเมืองเมื่อมีการเฉลิมฉลองและถวาย เครื่องบวงสรวงบูชาเรียบร้อยแล้วจะมีการสวดมนต์สรรเสริญบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ด้วยการจัดเทศกาลเพื่อสักการะบูชาศิวลึงค์ด้วยความเคารพ เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงนี้บรรดาชาวบ้านชาวเมืองนิยมกระทำพิธีเพื่อขอพรให้เกิดความสุขและความสำเร็จในชีวิตโดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์
ในการกระทำพืชไร่ ซึ่งสังคมของชาวอินเดียตอนใต้นั้นนิยมทำอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่มีการปลูกพืชไร่กันทั่วไป ดังนั้นการขอให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่การเพาะปลูกที่กระทำอยู่นั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การประกอบพิธีเพื่อบูชาศิวลึงค์ นอกจากที่ในอินเดียตอนใต้นี้แล้ว ทุกหนทุกแห่งทั่วไผก็จะมีลักษณะการบูชาที่คล้ายคลึงกันในส่วนของการเทน้ำนมสดราดลงไปในศิวลึงค์ โดยความบริสุทธิ์ของน้ำนมนั้นเปรียบเสมือนการให้กำเนิดผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์นั่นเองแต่ก็มีบางแห่งที่นอกจากจะใช้นมสดราดรดบนศิวลึงค์แล้ว ยังนิยมใช้ฝุ่นสีแดงมาแต้มทาที่ยอดปลายของศิวลึงค์ เพื่อแทนความหมายของการกำเนิดใหม่แห่งชีวิตใหม่นั่นเอง ในการสักการะบูชาศิวลึงค์นั้น ยังมีความเชื่ออีกว่าหากบวงสรวงสังเวยด้วยศิวลึงค์ชนิดใดก็จะได้รับพรที่องค์พระศิวะมหาเทพจะประทานให้แตกต่างกันออกไป ดังเช่น หากนำมูลโคมาสร้างสรรค์ปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์แล้วทำการบวงสรวงบูชาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ตลอดชีวิตมีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใดๆเลยหากนำเอาดินจากบริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์แล้วทำการบวงสรวงบูชา เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตลอดชีวิตมีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใดๆเลยหากนำเอาดินจาก บริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นเป็นศิวลึงค์แล้วบวงสรวงบูชาด้วยความเคารพเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นเกิดความร่ำรวยมั่งคั่ง มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมหาศาลเลยทีเดียว หากนำเอาเมล็ดข้าวทั้งดิบและสุก มาสร้างสรรค์บรรจงประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์แล้วทำการสักการะบูชา จะทำให้บุคคลนั้นหรือครอบครัวนั้น มีความสมบูรณ์พูลสุข มีข้าวปลาอาหารกินโดยบริบูรณ์ หรือทำกิจกรรมการค้าเกี่ยวกับอาหาร ก็จะมั่งคั่ง ร่ำรวยและรุ่งเรืองเป็นแน่แท้ หากนำเอาทองคำบริสุทธิ์มาสร้างสรรค์ ปั้นประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความมั่นคง ร่ำรวยในระดับเศรษฐีตลอดชีวิต หากนำไม้จันทร์มาสร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชา ก็จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขสันต์หรรษามิสร่างคลายหากนำเมล็ดรุทรรากษ์สร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชาก็จะทำให้ผุ้นั้นมีความรอบรู้ศิลปวิทยาการทั้งปวง ในคัมภีร์อินเดียโบราณนั้นกล่าวไว้ว่าศิวลึงค์นั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัสดุที่สร้างลึงค์แบ่งตามหลักของนักปราชญ อินเดียโบราณแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ จลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนไหวได้หรือสั่นไหวได้ อจลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ลึงค์ที่ทำจากแก้ว เรียกว่า รัตนชะ ลึงค์ที่ทำจากหิน เรียกว่า ไศละชะ ลึงค์ที่ทำจากดิน เรียกว่ามรินมยะ ลึงค์ที่ทำจากไม้ เรียกว่า มารุชะ ลึงค์ที่ทำจากโลหะ เรียกว่า โลหชะ และลึงค์ที่ทำขึ้นเฉพาะกิจตามวาระโอกาสต่างๆเรียกว่า กษณิกลิงค