จิตอาสาจากวิกฤตมหาอุทกภัย 54 : บริจาคโลหิตไม่น่ากลัวอย่างที่คิด(:

ผลกระทบ
ทางบ้านของข้าพเจ้าไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะน้ำท่วมไม่ถึง แต่ที่ร้านได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำได้ท่วมในระดับหัวเข่าเป็นเวลาเกือบสองเดือน ภายในร้านไม่ได้รับความเสียหายมากเนื่องจากได้มีการเตรียมการขนกระสอบทรายมากั้น ยกสินค้าบางส่วนขึ้นที่สูง และบางส่วนขนกลับไปไว้ที่บ้าน ส่วนที่เสียหายจึงมีเพียงต้องทาสีใหม่ และได้รับความลำบากในการเดินทาง
และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งคือ สินค้าในร้านสะดวกซื้อขาดแคลนมาก ทำให้ไม่สามารถหาซื้อสินค้าได้สะดวก โดยเฉพาะน้ำดื่มที่หาซื้อยากและมีราคาสูง แต่ที่บ้านก็ไม่ได้รับผลกระทบมากเพราะใช้เครื่องกรองน้ำ ในบริเวณบ้านมีร้านค้าและร้านสะดวกซื้อหลายร้านที่ไม่มีสินค้าจำหน่าย ไม่เพียงแต่น้ำดื่ม แต่ยังรวมถึงสินค้าที่สามารถกักตุนได้ เช่น ปลากระป๋อง ผักดอง เป็นต้น
ภาพแสดงระดับน้ำที่ท่วมในบริเวณร้าน
โดย ปาจรีย์ เปี่ยมปิ่นเศษ
ภาพแสดงผลกระทบการขาดแคลนสินค้า
โดย ปาจรีย์ เปี่ยมปิ่นเศษ
จิตอาสา
1. บรรจุถุงยังชีพ@สภากาชาด
ช่วงน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุทกภัยโดยการช่วยจัดทำถุงยังชีพ ไปบรจาคยังส่วนต่างๆที่ถูกน้ำท่วม ร่วมกับทางสภากาชาดไทย โดยได้ไปมาประมาณ 3 ครั้ง แต่ละครั้งที่จะให้ลงทะเบียนช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทางสภากาชาดจะให้บัตรมา หลังจากนั้นก็ไปช่วยเหลือตามที่ตนเองถนัด บางคนไปช่วยทำอาหาร บางคนไปช่วยบรรจุปลากระป๋องลงถุงเล็ก ซึ่งจะมารวมกันเป็นถุงใหญ่อีกครั้ง
ในถุงยังชีพประกอบด้วย มาม่า อาหารกระป๋อง เช่น ข้าวกระป๋อง ปลากระป๋อง ยาสามัญประจำบ้าน เทียนไข ไฟแช็ค ถุงดำ ปูนขาว และบางวันมีเสื้อยืดที่บริษัทต่างๆนำมาบริจาคด้วย โดยการทำงานจะเริ่มตั้งแต่ แปดนาฬิกาถึงยี่สิบนาฬิกาโดยประมาณ ร่วมกับกองทัพบกทำหน้าที่นำถุงยังชีพไปบริจาคตามพื้นที่ต่างๆ เพราะรถทหารมีขนาดใหญ่ สามารถเข้าไปยังพื้นที่ที่ประสบปัญหาได้
บัตรอาสาสมัคร : ภาพโดย ปาจรีย์ เปี่ยมปิ่นเศษ
ภาพโดย ปาจรีย์ เปี่ยมปิ่นเศษ
2. บริจากโลหิต@ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ได้มีส่วนร่วมในการบริจาคโลหิต เพราะในช่วงน้ำท่วม มีอุบัติเหตุต่างๆเกิดขึ้นมากและทางศูนย์บริการโลหิตฯมีความต้องการโลหิตในปริมาณมาก หลักในการเตรียมตัวสำหรับผู้ที่จะบริจาคโลหิตคือ อายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปี, น้ำหนักตัว 45กิโลกรัมขึ้นไป นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย6 ชม. ขึ้นไปม, มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี, สตรีต้องไม่อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน
ในวันที่ข้าพเจ้าไป มีคนมาบริจาคโลหิตเป็นจำนวนมากเพราะเป็นวันหยุด ขั้นตอนการบริจาคสามารถแบ่งได้โดยประมาณเป็นห้าขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1ผู้บริจาคโลหิตจะต้องกรอกแบบฟอร์มขนาดประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 ในนั้นก็จะเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประจำเดือนในกรณีที่เป็นผู้บริจาค หญิง และการตอบคำถามซึ่งคัดกรองเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัส บี, เอดส์หรือซิฟิลิส ได้แก่ ความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ทางการรับเลือด ทางการผ่าตัด เป็นต้น
- ขั้นตอนที่ 2ก็คือการชั่งน้ำหนัก ตรวจความเข้มข้นของเลือดโดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วว่าเลือดข้นเพียงพอที่จะ บริจาคหรือไม่ ซึ่งเรียกกันว่าเลือดจม ถ้าข้นไม่เพียงพอที่จะบริจาคได้ จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่าเลือดลอย และมีการวัดความดันโลหิต รับยาบำรุงเลือด คุณหมอในห้องตรวจใจดีมาก มีบางคนมาแล้วไม่สามารถบริจาคได้เพราะความดันต่ำหรือพักผ่อนไม่พอก็จะให้ยาบำรุงเลือดและบอกว่าเดือนหน้าค่อยมาใหม่
- ขั้นตอนที่ 3 คือการรับสติกเกอร์และบาร์โค๊ดที่เคาท์เตอร์ซึ่งจะนำไปติดที่หลอดเลือดต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 เป็นการบริจาคเลือด ข้าพเจ้าคิดว่าตอนเจาะไม่เจ็บอย่างที่หลายๆคนกลัวกัน แต่ตอนถอดเข็มออกจากแขนต่างหากที่เจ็บกว่ามาก การเจาะเข็มเข้าไปในแขนต้องไม่เกร็ง เพราะถ้าเราเกร็งแขน คุณพยาบาลจะไม่สามารถหาเส้นเลือดเจอ และอาจจะต้องเจ็บแขนสองครั้ง
- ขั้นตอนที่ 5 คือขั้นตอนสุดท้าย คือการพักรับประทานเครื่องดื่มและของว่างก่อนที่จะกลับ บริจาคเสร็จแล้วต้องนอนพักประมาณห้านาที ห้ามรีบลุก อาจะทำให้เวียนหัวและเป็นลมได้ จากนั้นจึงลุกออกมาทานเครื่องดื่ม วันที่ข้าพเจ้าไปมีให้เลือกทั้งโอวันตินเย็นและร้อน เมื่อเราจะกลับจะได้รับบัตรนัดครั้งต่อไปและปลาสเตอร์ปิดแผล
ภาพโดย ปาจรีย์ เปี่ยมปิ่นเศษ
ภาพโดย ปาจรีย์ เปี่ยมปิ่นเศษ
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม
- http://icare.kapook.com/blood.php?ac=detail&s_id=25&id=2160
- http://icare.kapook.com/blood.php?ac=detail&s_id=26&id=1601
อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน