แม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
รูปช้างในท้องนํ้า
หมายถึง การฝึกช้างป่าให้
ร้จักการบังคับบัญชาในการรบและงานด้านต่าง ๆ
สาเหตุที่ใช้รูปช้างในท้องนํ้าเป็นตราประจําจังหวัด
เพราะเป็นที่มาของการตั้งเมืองแม่ฮ่องสอน โดย
เริ่มจากการที่ เจ้าแก้วเมืองมา
ออกจับช้างให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2368 - 2389) และได้
รวบรวมชาวไทยใหญ่ให้มาตั้งบ้างเมืองเป็นหลักแหล่งขึ้น
2 แห่ง มีหัวหน้าผู้ปกครอง คือ ที่บ้าน
ปางหมูและบ้านแม่ฮ่องสอน
สาเหตุที่เรียกว่าแม่ฮ่องสอน ก็เพราะว่าได้มาตั้งคอกฝึกช้าง ณ
บริเวณลําห้วยแห่งนี้นั่นเอง
สีประจำจังหวัด
สีฟ้า - สีน้ำตาล
ธงประจําจังหวัด
พื้นธงเป็นสีนํ้าตาล–สีฟ้า–สีนํ้าตาล
แบ่งตามแนวนอนเป็นสามส่วนเท่ากัน
กลางแถบสีฟ้าเป็นรูปตราประ
จังหวัดในวงกลมสีแดง รูปตราประจําจังหวัด
ด้านบนเป็นภาพท้องฟ้าสีฟ้า มีเมฆสีเหลือง
ตํ่าลงมาเป็นท้องนํ้าสี
ฟ้า
มีร้วคลื่นนํ้าสีขาว ในน้ำามีช้างพลายสีนํ้าตาล
1 เชือก ด้านล่างเป็นแถบสีเหลืองขอบแดง
ตรงกลางมีคําว่า
“จังหวัดแม่ฮ่องสอน”
ต้นไม้ประจําจังหวัด
ชื่อพื้นเมือง จ่น พี้จ่น ปี้จ่น กระพี้จ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Milettia brandisiana
Kurz
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
นิเวศวิทยา ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง
ลักษณะทั่วไป ต้ นไม้ ไม้ ืยนต้นขนาดกลาง สูง
8-15 เมตร ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่เร็ว
เปลือกนอกค่อนข้างเรียบ
สีเทาอมนํ้าตาลแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกในสีแดง เรือนยอดกลมรีๆ พุ่มใบหนาทึบ
ใบ : ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 6-8
คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1.7 ซม. ยาว 2.5-7 ซม. ก้านใบย่อย 2
มม. ที่ฐานใบมีหูใบย่อย ตาใบมีขนสีทองแดงปกคลุม ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ
เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-3 มม.
ดอก : ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบ
ช่อยาว 7-22 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีม่วงดํา
กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.8-1 ซม.
ดอกคล้ายดอกถั่วสีม่วงแกมขาว
ผล : ผลเป็นฝักรูปดาบ หรือขอบขนานปลายแหลม ขอบฝักเป็นเส้นหนาแข็ง
ฝักแก่สีนํ้าตาล แกมเหลือง กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 10-14 ซม.
เมล็ด : กลมแบน 1-3 เมล็ด
ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล ออกดอก มี.ค.-เม.ย. ผลแก่ มิ.ย.-ก.ค.
การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ดได้ง่าย ๆ
การใช้ประโยชน์ ด้านเป็นไม้ประดับ
ในผืนป่าหน้าแล้ง กระพี้จั่นจะทิ้งใบหมดต้น แล้วผลิช่อดอกออกมาเต็มต้น
สีม่วงอมครามกระจ่างไปทั้งต้น เป็นความสวยหวาน อยู่กลางฤดูกลาลที่แห้งแล้ง
ใบไม้โดยรอบปลิดปลิวลงหมดสิ้น ดอกกระพี้จั่นจึงเป็นราชินีที่โดดเด่น
นิยมเพาะกล้าแจกเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ แต่เมื่อปลูกแล้วรดนํ้ามากความชุ่มชื้นสูง
การผลัดใบจึงไม่เด่นชัด ดอกสีม่วงครามจึงแฝงเงาอยู่ในใบสี ี เขยวสวยไปอีกมิติหนึ่ง
ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก 2x2 เมตร ปลูกง่าย และเติบโตเร็ว
เมื่อแตกใบอ่อนจะมีสีแดงสนิมเหล็กพลิ้วไสวสวยงามจับใจเมื่อกระทบกับแสงแดดยามเช้า
ด้านสมุนไพร สรรพคุณยาพื้นบ้านอีสานใช้ลําต้นต้มดื่มบํารุงเลือด