ตะลุยญี่ปุ่น...ดินแดงแห่งอาทิตย์อุทัย


ดู
เหมือนว่าชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นประเทศใด จะทึ่งสตรีญี่ปุ่นที่ใส่ชุด
กิโมโน กันมากหรือแม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้แตกต่างกันนัก
ทั้งนี้เป็นเพราะชาวญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จะแต่งกายแบบสากล
ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันก็จะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ
ศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือไม่ก็อาจจะสวมเฉพาะในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
งานแต่งงาน งานฉลองการบรรลุนิติภาวะ งานปีใหม่ ฯลฯ เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่สามารถสวมชุดกิโมโนได้เองจึงมีน้อย
ถึงขนาดจัดเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของ "การเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าสาว" ของสตรี
วิวัฒนาการของชุดกิโมโน
ชุดกิโมโน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ชุดยาว (เหมือนชุดติดกันผ่าหน้าในปัจจุบันแล้ว
เอามาทบกันที่ด้านหน้าและผูกด้วยผ้าคาดเอวที่เรียกว่า โอะบิ)
ยกเว้นพวกเสื้อคลุม หรือเสื้อโค๊ต
ลักษณะชุดยาวดังกล่าวถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยนะระ
และใช้เป็นชุดชั้นในมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงสมัยเฮอัน
หลังจากนั้นได้มีการนำมาสวมใส่เป็นชุดภายนอกให้เข้ากับกางเกงที่เรียกว่า
ฮะคะมะ และถูกดัดแปลงให้ง่ายขึ้น เหมือนกับชุดกิโมโนในปัจจุบัน
สวมใส่กันทั้งหญิงและชายในสมัยมุโระมะฉิ
เมื่อมาถึงสมัยเอะโดะได้มีการนำชุดกิโมโนไปสัมพันธ์กับการแสดงฐานะทางชนชั้น
ในระบบขุนนาง ชุดกิโมโนจึงเริ่มมีข้อบังคับที่หลากหลายขึ้นโดยเฉพาะผู้ชาย
ตัวอย่างเช่น
ชุดกิโมโนผ้าขาวเรียบอนุญาตให้ใส่ได้เฉพาะบุตรชายคนโตของไดเมียวที่เกิดกับ
ภรรยาหลวงเท่านั้น และทหารทั่วไปห้ามใส่ชุดกิโมโนผ้าไหม ( ผ้าซาติน )
ส่วนชาวบ้านจะใส่ผ้าป่านหรือผ้าฝ้าย แต่เมื่อคนทั่วไปมีฐานะร่ำรวยขึ้น
ความอิสระในการแต่งกายก็เริ่มมีมากขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยเอะโดะเป็นต้นมา
เมื่อเข้าสมัยเมจิการแต่งกายแบบสากลก็เริ่มแพร่หลายจากเชื้อพระวงศ์ไปสู่
ทหาร ข้าราชการ และเหล่านักศึกษาตามลำดับ
และในที่สุดก็แพร่หลายกันโดยทั่วไป
การแพร่หลายของชุดสากล
ขณะที่การแต่งชุดกิโมโนของบุรุษผูกพันธ์กับระบบชนชั้น ในทางตรงกันข้ามกลับไม่มีข้อบังคับที่เข้มงวดมากนักกับการแต่งกิโมโนของสตรี กล่าว
คือ มีข้อกำหนดเพียงว่าชุดกิโมโนแขนยาวที่เรียกว่า ฟุริโสะเดะ
สำหรับหญิงสาวที่ยังโสดอยู่ใส่
และเมื่อแต่งงานแล้วให้เปลี่ยนเป็นชุดกิโมโนแบบแขนสั้น
ด้วยเหตุนี้การแต่งกายด้วยชุดกิโมโนชีวิตประจำวันของสตรีจึงมีมาโดยตลอดจน
กระทั่งถึงสมัยไทโช แต่เมื่อเข้าสู่สมัยโชวะที่สตรีมีบทบาทในสังคมมากขึ้น
การแต่งกายแบบสากลก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ประวัติศาสตร์การแต่งกายแบบตะวันตกของชาวญี่ปุ่น
แม้กระทั่งการแต่งกายของบุรุษจึงสั้นมากเพียง 1 ศตวรรษกว่าเท่านั้น
ในปัจจุบันการแต่งกายแบบสากลเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป
ถึงขนาดสตรีสามารถแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของนักออกแบบเสื้อระดับโลกได้โดยไม่
แปลกแต่อย่างใด งานแสดงแฟชั่นก็เช่นเดียวกัน เวทีแสดงแฟชั่นได้ค่อย ๆ
ย้ายจากปารีส นิวยอร์คเข้ามากรุงโตเกียว
นักออกแบบเสื้อของชาวญี่ปุ่นเองไม่ว่าจะเป็นโมะริ ฮะนะเอะ, มิยะเขะ อิสเซ,
ยะมะโมะโตะ คันไซ, ทะคะดะ เค็นไซ และยะมะโมะโตะ โยจิ
ล้วนแต่มีบทบาทในแฟชั่นระดับโลกอย่างมาก