ตะลุยญี่ปุ่น...ดินแดงแห่งอาทิตย์อุทัย


หัว
ข้อนี้ถึงแม้จะเป็นคำสั้นๆ
แต่สื่อถึงรากฐานของวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นเลยทีเดียว
บ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมส่วนใหญ่จะเป็นไม้
หลังคากระเบื้องและฝาผนังกั้นห้องเป็นกระดาษที่สามารถเลื่อนเปิด-ปิดได้
จึงทำให้ห้องเล็กกลายเป็นห้องใหญ่ได้
การวัดพื้นที่ห้องจะนับตามจำนวนเสื่อทาทามิขนาดมาตรฐานเป็นเกณฑ์
หลักของการสร้างบ้านญี่ปุ่น คือ “ข้างในก็คือข้างนอก”
ด้วยความที่ผนังบ้านจะแบ่งด้วยบานเลื่อนซึ่งสามารถถอดออกได้
พรมแดนระหว่างในบ้านและนอกบ้านจึงหมดไป ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น
โครงสร้างของตัวบ้านจะยกพื้นสูงขึ้นมาพื้นเรือนจึงไม่อยู่ติดพื้น
ทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี
ส่วนเฉลียงหน้าบ้านจะเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างในบ้านกับนอกอาคารพื้นที่
นี้จะถูกใช้สอยอย่างเต็มที่ในหน้าร้อน
สมาชิกในบ้านจะพากันออกมานั่งรับลมพร้อมชมความงามของสวนที่ออกแบบจัดอย่าง
สวยงามจนขึ้นชื่อว่าสวนญี่ปุ่นออกแบบได้อย่างลงตัว กลมกลืนเป็นธรรมชาติ
บริเวณ
ภายในบ้านส่วนใหญ่นิยมปูด้วยเสื่อทาทามิ(tatami)เพราะทำให้รู้สึกสบายสดชื่น
มีกลิ่มหอมอ่อนๆของหญ้าโชยมาจากเสื่อ
แต่เสื่อทาทามิมีข้อเสียที่สีเปลี่ยนง่าย ดูดความชื้นและไม่ทนทาน
จึงต้องมีการเปลี่ยนเมื่อถึงเวลาอันควร บานเลื่อนที่กั้นระหว่างห้อง
เรียกว่า “ฟุสุมะ (fusuma)”
จะปูด้วยกระดาษจึงทำให้แสงสว่างและเสียงลอดเข้ามาได้
ภายในห้องที่สามารถประยุกต์เป็นได้ทั้งห้องนั่งเล่นในตอนกลางวัน
และเป็นห้องนอนในตอนกลางคืน เพราะที่นอนฟุตน (futon)
จะถูกพับเก็บในห้องโอะฌิอิเระซึ่งเป็นห้องติดผนังมีบานประตูเลื่อนเปิดปิด
ได้ จึงทำให้ห้องดูกว้างขวางขึ้น
ห้องที่ใช้เป็นที่รับรองแขกอย่างเป็นพิธีการมักจะมีมุมที่เว้าเข้าไปสำหรับ
ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้และภาพเขียน เรียกว่า “โทะโกะโนะมะ”
ซึ่งมุมหน้าโทะโกะโนะมะนี้จัดที่นั่งสำหรับแขกคนสำคัญ
เนื่องจากก่อนจะนั่งลงแขกมักจะดูภาพเขียนและดอกไม้
แขกคนสำคัญจึงดูเด่นเป็นสง่าเมื่อนั่งหันหลังให้โทะโกะโมะมะ
โต๊ะรับแขกมักเป็นโต๊ะเตี้ยๆที่นิยมเรียกกันว่าโต๊ะญี่ปุ่นในบ้านเรา
และมีเบาะรองนั่งจัดวางอยู่
จะเห็นว่าญี่ปุ่นมีศิลปะในการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่าที
เดียว