ตะลุยญี่ปุ่น...ดินแดงแห่งอาทิตย์อุทัย



วัฒนธรรม
การรับประทานอาหารทั่วโลกมีแบบพื้นฐานอยู่ไม่กี่แบบ แบบใช้ช้อนส้อม
แบบใช้มีดกับส้อม แบบใช้มือ และใช้ตะเกียบ
อุปกรณ์แต่ละประเทศนั้นมีการเลือกรับวัฒนธรรมมาใช้ตั้งแต่สมัยก่อนจนสืบ
เนื่องมาถึงปัจจุบัน บางทีก็ไม่เกี่ยวหรอกว่าวิถีแบบนี้มาก่อน
จำเป็นต้องนำมาใช้ตลอดไป
เพราะการเลือกรับความถนัดและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นสำคัญ
กว่า
ในส่วนของประเทศญี่ปุ่นวัฒนธรรมบนโต๊ะอาหารนั้น
เขาใช้ตะเกียบกันเกือบร้อยเปอร์เซ็นก็ว่าได้
เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะ
คนญี่ปุ่นมักจะมีตะเกียบส่วนตัวของแต่ละบุคคล มีชามข้าวประจำตัว
ฉะนั้นการเลือกตะเกียบให้เหมาะกับตัวเราเองนั้นสำคัญอย่างมาก
เพราะการใช้ตะเกียบก็ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิได้อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน
ญี่ปุ่นเค้านิยมทานอาหารประเภทปลามานานแล้วตะเกียบนี่แหละช่วยให้เขาสามารถ
เข้าถึงส่วนต่างๆ ของปลาได้มากกว่าอุปกรณ์อื่นๆ

ความเป็นมาของตะเกียบในประเทศญี่ปุ่น
ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เริ่มนำเข้ามาในช่วงปลายของยุคยาโยอิ
วัสดุในการทำตะเกียบทำจากไม้ไผ่อย่างประณีต
และผู้ที่จะได้ใช้ตะเกียบในยุคแรกนั้นก็คือองค์จักพรรดิ
ส่วนชาวบ้านในยุคยาโยอิ ใช้เพียงมือในการรับประทานอาหารเท่านั้น
ในยุคอาสุกะ เจ้าชายโชโทคุ ไทชิ ได้ถูกส่งไปเป็นฑูตที่ประเทศจีน
และเจ้าชายก็ได้นำวัฒนธรรมวิธีการเตรียมอาหารต่างๆ
ของจีนรวมไปถึงการใช้ตะเกียบของข้าราชการจีนกลับเข้ามาที่ประเทศญี่ปุ่นอีก
ด้วย
และต่อมาในยุคนาราผู้คนทั่วไปเริ่มมีการทำตะเกียบใช้เองและเริ่มมากขึ้นจน
ใช้เป็นปกติในยุคคามะคุระ จากการใช้ตะเกียบเป็นวัฒนธรรมจนเคยชินกันไปแล้ว
ญี่ปุ่นก็เริ่มเรียนรู้และออกแบบรูปร่างของอาหารให้เข้ากับการใช้ตะเกียบ
เพื่อความสะดวกในการคีบอาหารอีกด้วย
นี่สินะที่เขาเรียกว่าการประยุกต์ให้ลงตัวของการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
และต่อมาในสมัยเอโดะ
เริ่มมีการเคลือบเงาและสร้างความหลากหลายให้กับตะเกียบเกิดขึ้น
และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากในช่วงยุคนั้น ต่อมายุคโชวะปีที่ 10
ตะเกียบในรูปแบบ วาริบาชิ
คือตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งได้เกิดขึ้นโดยเริ่มจากแถบโยชิโนะ จังหวัดนารา
โรงเรียนในสมัยนั้นเริ่มมีการสอนเด็กๆ
ในโรงเรียนถึงการใช้ตะเกียบที่ถูกต้องกันบ้างแล้ว และต่อมายุคโชวะปีที่ 30
อุตสาหกรรมในการผลิตตะเกียบก็ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง
ได้รับการพัฒนาในกระบวนการต่างๆ มีหลากหลายทั้งลวดลาย ขนาด และสีสันมากขึ้น
การจัดทำตะเกียบในขั้นตอนแรกๆ ส่วนใหญ่นั้นจะมาจากแถบโอบะมะ จังหวัดฟุคุอิ
และนำส่งต่อไปทั่วญี่ปุ่น
ที่เกียวโตก็นำตะเกียบส่วนหนึ่งจากฟุคุอิมาสร้างสรรค์ลวดลายสวยงามจนเป็นของ
ขึ้นชื่อของเมืองเกียวโตไปในที่สุด

ความเชื่อในเรื่องของตะเกียบในญี่ปุ่นนั้น
ในยุคแรกๆ
เวลาที่ผู้คนต้องการประกอบพิธีกรรมบูชาขอบคุณเทพเจ้าในโอกาสต่างๆ
อาหารที่ใช้ถวายนั้นไม่สามารถแตะต้องถูกมือของมนุษย์ได้
ผู้คนจึงใช้ตะเกียบคีบอาหารแทนการใช้มือ
สังเกตุที่ตะเกียบญี่ปุ่นนั้นจะมีปลายตัดเฉียงอยู่หนึ่งด้านและด้านเท่ากัน
อีกด้าน
เค้าเชื่อกันว่าปลายที่เฉียงเป็นของเทพเจ้าอีกข้างหนึ่งเป็นของคนทั่วไป
และในงานศพ คนญี่ปุ่นเค้าใช้ตะเกียบที่ทำจากไม้ไผ่ คีบ
โอนถ่ายเถ้ากระดูกไปเก็บไว้ในโกศ
เพราะเชื่อว่าตะเกียบจะเป็นตัวแทนของสะพานที่ช่วยเชื่อมต่อให้วิญญาณที่จาก
โลกนี้ไปสู่โลกหน้าได้อย่างสบาย เพราะอย่างนี้ละมั้ง ที่ศัพท์ hashi ( はし) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงสองสิ่งนี้คือ ตะเกียบ ( 箸 ) และ สะพาน ( 橋 ) ต่างกันตรงที่ตัวคันจิและการออกเสียงไม่เหมือนกันผิดกันแค่เสียงต่ำและสูงเท่านั้นเอง

ลักษณะของตะเกียบญี่ปุ่น
1. โชโระคุ ( 丁六 ) ด้านท้ายของไม้เป็นสี่เหลี่ยม
2. โคบัน ( 小判 ) ด้านท้ายของตะเกียบจะถูกตัดมุมด้านนอกข้างละสองด้าน
3. เก็นโระคุ ( 元禄 ) ด้านท้ายของตะเกียบมีลักษณะหกเหลี่ยม
4. มารุบาชิ ( 丸箸 ) ด้านท้ายของตะเกียบมีลักษณะวงกลม
5. เท็นเคะซุริ ( 天削 ) ด้านท้ายของตะเกียบถูกตัดเฉียง

ประเภทของตะเกียบ
1. ตะเกียบสำหรับเทศกาล เรียกว่า อิวาอิบาชิ (いわいばし)
2. ตะเกียบใช้แล้วทิ้ง เรียกว่า วาริบาชิ (わりばし)
3. ตะเกียบทำอาหาร เรียกว่า เรียวริบาชิ (りょりばし)

ข้อห้าม ! มารยาทพื้นฐานในการใช้ตะเกียบของคนญี่ปุ่น
- ทะเตะบาชิ ก็คือ ปักตะเกียบไว้บนข้าว เพราะถ้าปักถือว่าเป็นข้าวของคนที่เสียชีวิตไปแล้ว
- โคจิบาชิ คือ การเขี่ยและแหวกอาหารเพื่อเลือกทานอาหารที่ชอบเท่านั้น
- มาโยอิบาชิ คือ การแกว่งตะเกียบไปมาแบบลังเลในการเลือกอาหาร
- นิกิริบาชิ คือ การกำตะเกียบ ควรใช้ในลักษณะการถือตะเกียบที่ถูกต้องจะเป็นการให้เกียรติมากกว่าการกำไว้
- ซากุริบาชิ คือ การจิ้มๆอาหารด้วยตะเกียบ
- ทาคาอิบาชิ คือ การเคาะหรือขูดตะเกียบกับภาชนะให้เกิดเสียง
- โยเซะบาชิ คือ การดึงคีบถ้วยอาหารให้เคลื่อนย้าย
- ฮาชิวาตาชิ คือ การส่งอาหารต่อกันด้วยตะเกียบ ควรคีบไปวางบนจานของผู้อื่นดีกว่า

ใน
ปัจุบันตะเกียบที่ญี่ปุ่นนั้นมีวัสดุที่ทำด้วยไม้ต่างๆ สแตนเลส พลาสติก
มีมากมายหลายสีสัน หลากดีไซน์ มีราคาตั้งแต่ถูกมากไปจนถึงแพงมากก็มี
สมัยนี้มีเคสและที่วางสำหรับเก็บตะเกียบแบบหรูๆ แบบน่ารักๆ เต็มไปหมด
มีทั้งขายเป็นเซทและแยกชิ้นก็มี ทำให้เป็นของจำหน่ายคู่กันไปโดยปริยาย

สำหรับ
เด็กๆที่ใช้ตะเกียบยังไม่ค่อยคล่อง
เขาก็มีสินค้าตะเกียบที่ออกแบบมาช่วยพยุงมือของเด็กๆ ให้ค่อยๆ
คุ้นเคยและช่วยฝึกการใช้ตะเกียบไปในตัวอีกด้วย
เรื่องของการกินเนี่ยไม่ใช้เรื่องเล็กๆ เลยนะเนี่ยสำหรับญี่ปุ่น
ใส่ใจไปซะทุกเรื่องดีจริงๆ

ญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องวันแปลกๆ วันตะเกียบ ( hashi no hi )
ก็มีนะ คือวันที่ 4 เดือน 8 เป็นคำพ้องเสียงของคำว่า hashi พ้องกับคำว่า
hachi และ shi ก็คือเลข 8 กับเลข 4 นั่นเอง โดยเริ่มก่อตั้งในปี 1975
และในวันนี้จะมีงานเทศกาล Hashikanshasai ( 箸感謝祭 ) ขอบคุณสิ่งศักด์สิทธิด้วยตะเกียบที่ ศาลเจ้าฮิเอะ ( Hie Jinja ) อะคาซาคะ โตเกียว งานจะเริ่มเวลา 10.30-12.30 มีทุกปี ใครสนใจก็คลิกนี่เลย http://www.hiejinja.net/jinja/english/access.html
ขอบคุณที่มา :
http://www.jshoppers.com/
http://www.kyotoguide.com
http://www.hiejinja.net/index.html
http://ja.wikipedia.org/wiki/%E7%AE%B8
http://hashibunka.blog64.fc2.com/blog-category-5.html