ตะลุยญี่ปุ่น...ดินแดงแห่งอาทิตย์อุทัย


เทศกาลท่องเที่ยว...ประเทศญี่ปุ่น
|
ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของโลก จึงเป็นที่มาของชื่อ " ดินแดนอาทิตย์อุทัย " ลักษณะของประเทศญี่ปุ่น
เป็นหมู่เกาะที่ทอดตัวยาวมีลักษณะเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ประกอบด้วย 4 เกาะใหญ่ ได้แก่ เกาะฮอกไกโด เกาะฮอนชู เกาะชิโกกุ เกาะคิวชู และมีเกาะใหญ่น้อยอีกกว่า 6,800 เกาะ วัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่นประกอบ ขึ้นจากการผสมกัน ระหว่างวัฒนธรรมเก่าและใหม่ วัฒนธรรมทางตะวันตกและตะวันออก ทางด้านอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน ยังมีร่องรอยของความเป็นประเทศกสิกรรมหลงเหลืออยู่ แม้ว่าความเจริญทางอุตสาหกรรมในศตวรรษของประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านมาจะทำให้ญี่ปุ่นได้แปรสภาพเป็นประเทศที่มี ความก้าวหน้า ทางด้านอุตสาหกรรม สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก
ประเทศญี่ปุ่น มีเทศกาลต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่าง ๆ ทั้ง 4 ฤดูในญี่ปุ่น ซึ่งนำความบันเทิงมาสู่ชุมชนในทุกภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่นตลอดทั้งปี
งานเทศกาลต่าง ๆ ของญี่ปุ่น
ถือเป็นโอกาสดี ที่ผู้คนได้พบปะครั้งสำคัญในทุกภูมิภาคตลอดทั้ง 4 ฤดู ในแต่ละปี การฉลองเทศกาลต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบ ที่เผยให้เห็นความนึกคิดของชาวญี่ปุ่น การกำเนิดของงานเทศกาลก็จะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่เตือนความทรงจำให้นึกถึงค่านิยมที่ยึดถือกันมานาน เช่น งานเทศกาล โอ-บน ในฤดูร้อนของญี่ปุ่น ผู้คนจะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดและเคารพบรรพบุรุษ งานฉลองปีใหม่ในฤดูหนาว งานชมดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิและเทศกาลชมสีสันของใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความรักและชื่นชมในธรรมชาติของคนญี่ปุ่น รวมถึงการเก็บเกี่ยวความสุขจากการอนุรักษ์ธรรมชาติของชาวญี่ปุ่นอย่างชัดเจน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ |
ฤดูใบไม้ผลิ - ญี่ปุ่น (มีนาคม-พฤษภาคม)เป็นฤดูที่ดอกไม้นานาพันธ์จะบานสพรั่ง จากวันแรกของต้นมีนาคมของทุกปีที่ดอกเหมยจะบานกระทั่งวัน จนถึงวันสุดท้ายของพฤษภาคมของทุกปีเมื่อดอกซะกุระทางตอนเหนือโรยจากต้น ระหว่างวันที่ 29 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นช่วง Golden Week ของชาวญี่ปุ่นที่จะได้หยุดพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ฤดูใบไม้ผลินี้เป็นเวลาเริ่มต้นของธรรมชาติอันสดใสงดงามในญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองเทศกาลท่ามกลางธรรมชาติทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น |
เทศกาลฮินะมัตสึริ - วันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี (Hina Matsuri) ที่ญี่ปุ่นเป็นเทศกาลวันเด็กผู้หญิง ที่จัดขึ้นเพื่ออวยพรให้ลูกสาวเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และประสบความสำเร็จในชีวิต อีก
หลายร้อยปีถัดมา บรรดาเจ้านายในราชสำนักก็เลิกใช้กระดาษแล้วหันมาตกแต่งตุ๊กตาให้มีความ หรูหรา ประดับประดาชั้นวางอย่างสวยสดงดงามสำหรับการเฉลิมฉลองในพระราชวัง ก่อนจะแพร่หลายไปในหมู่พ่อค้าคหบดีร่ำรวยจนถึงประชาชนคนธรรมดา และกลายเป็นเทศกาลประจำปีทุกวันที่ 3 มีนาคม นับแต่นั้นเป็นต้นมา
เทศกาลคะซูกะ - วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี (Kasuga Matsuri) ของศาลเจ้าคะซูกะ ในเมืองนารา มีการฟ้อนรำโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี
ระบำมิยะโกะหรือระบำซากุระ - วันที่ 1-30 เมษายน ของทุกปี ที่เกียวโต เป็นระบำญี่ปุ่น ที่แสดงโดย "ไมโกะ" (Maiko)
เทศกาลถวายดอกไม้ - วันที่ 8 เมาายน ของทุกปี (Hana Matsuri) ตามวัดพุทธต่าง ๆ เพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระพุทธเจ้า
เทศกาลทะคะยะมะ - วันที่ 14 -15 เมษายน ของทุกปี (Takayama Matsuri) ของศาลเจ้าฮิเอะ ในเมืองทะคะยะมะ ชมขบวนรถแห่ศาลเจ้าอันตระการตา เทศกาลทะคะยะมะ เป็น 1 ใน 3 เทศกาลที่สวยงามที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ทั่วทั้งเมืองจะมีการแห่ขบวนเกี้ยวจำนวน 12 คัน ซึ่งประดับประดาไปด้วยทอง ตุ๊กตาแกะสลัก ตุ๊กตาเต้นรำ อย่างวิจิตรตระการตา แห่แหนไปตามท้องถนน ความโดดเด่นของเทศกาลนี้ คือ สีสันอันสวยงามของขบวนเกี้ยวที่ตัดกับ สีขาว สีชมพู ของดอกซากุระและสีเขียวของต้นไม้ รวมทั้งชุดแต่งกายประจำชาติของชาวเมืองที่ออกมาร่วมขบวน
เทศกาลยะโยอิ - วันที่ 16-17 เมษายน ของทุกปี (Yayoi Matsuri) ที่ศาลเจ้าฟุตะระซัน ในเมืองนิกโกที่ญี่ปุ่น มีขบวนแห่ตกแต่งสวยงาม
เทศกาลฮะคะตะโดนทะคุ - วันที่ 3-4 พฤษภาคม ของทุกปี (Hakata Dontaku) ในเมืองฟุคุโอกะที่ญี่ปุ่นมีขบวนแห่เทพเจ้าบนหลังม้า ตามตำนานญี่ปุ่น
เทศกาลแข่งว่าว - วันที่ 3-5 พฤษภาคม ของทุกปี ที่เมืองฮะมะมัตสึที่ญี่ปุ่น เป็นสนามแข่งว่าวที่มีการแข่งขันว่าวขนาดใหญ่ที่สุด
เทศกาลวันเด็กผู้ชาย - วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีการประดับธงปลาคาร์พหลากสี ตามจำนวนลูกชายของแต่ละบ้าน ซึ่งจะโบกสะบัดโต้ลมฤดูใบไม้ผลิ อย่างสวยงามมาก
เทศกาลจับปลาโดยนกกาน้ำ - วันที่ 11 พฤษภาคม -15 ตุลาคม ของทุกปี ในแม่น้ำนะงะระงะ ที่เมืองเซคิในจังหวัดกิฟุ
เทศกาลอะโออิ - วันที่ 15 พฤษภาคม ของทุกปี (Aoi Matsuri) ที่เมืองเกียวโตจะมีขบวนแห่ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โบราณ พร้อมขบวนรถที่มีพรรณไม้ดอกหลากสีอันสวยหรู
เทศกาลใหญ่ของศาลเจ้าโทโชงุ - วันที่ 17-18 พฤษภาคม ของทุกปี ที่เมืองนิกโก้ จะมีขบวนแห่นักรบกว่า 1,000 คน
เทศกาลมิฟูเน่ - วันอาทิตย์ที่ 3 ของ พฤษภาคม ของทุกปี (Mifune Matsuri) มีแห่ขบวนเรือโบราณ บนแม่น้ำโออิ ในเกียวโต
เทศกาลซันจะ - วันอาทิตย์ที่ 3 ของ พฤษภาคม ของทุกปี (Sanja Matsuri) ของศาลเจ้าอะซะกุซะ ในโตเกียว มีการแห่ศาลเจ้าใหญ่ ๆ 3 ศาล อีกทั้งย่อย ๆ อีกนับร้อยกว่าศาล
|
![]()
เทศกาลฮินะ - ญี่ปุ่น
|
![]()
เทศกาลคะซูกะ - ญี่ปุ่น
|
![]()
เทศกาลทะคะยะมะ - ญี่ปุ่น
|
![]()
เทศกาลอะโออิ - ญี่ปุ่น
|
![]() เทศกาลยะโยอิ - ญี่ปุ่น |
ฤดูร้อน (มิถุนายน - สิงหาคม)
ที่ญี่ปุ่นเป็นฤดูกาลแห่งดอกไม้ไฟที่อุดมสมบูรณ์ด้วย พืชพันธุ์พร้อมความเขียวขจีทั่วประเทศญี่ปุ่น ใบ
เขียวของ ซะกุระ เมเปิ้ล โอ๊ค ในป่าเขาที่ตัดกับสีเขียวเข้มของต้นสนและต้นไผ่ที่โอนอ่อนตามสายลมในตอนกลาง วันและยามค่ำคืนตามริมแม่น้ำในเมืองต่าง ๆ ทุกภาคจะเป็นจุดนัดพบของชาวชนบทตามท้องถิ่นและของเพื่อนผู้มาเยือนเทศกาลฤดู ร้อนทั่วญี่ปุ่น เพื่อร่วมชมเทศกาลดอกไม้ไฟอย่างมีสีสรรและชีวิตชีวาและชมระบำพื้นเมือง "Bon Odori" |
เทศกาลซันโน - กลาง มิถุนายน ของทุกปี (Sanno Matsuri) ที่ศาลเจ้าฮิเอะ ในโตเกียว มีการแห่ศาลเจ้าผ่านถนนในย่านอะซะกุซะ
เทศกาลม้า - เสาร์ที่ 2 ของ มิถุนายน ของทุกปี (Chagu-Chagu Umakko Horse Festival) ในเมืองโมริโอกะที่ญี่ปุ่น มีแห่ขบวนม้าประดับอย่างมีสีสรร
เทศกาลดวงดาวหรือเทศกาลทานาบะตะ - วันที่ 7 กรกฎาคม ของทุกปี (Tanabata Festival) จัดขึ้นทั่วญี่ปุ่น แต่ที่เมืองเซนไดอย่างยิ่งใหญ่ และมีชื่อเสียงที่สุด มีการประดับโคมกระดาษหลากสีสวยงาม
เทศกาลบน - วันที่ 13-15 กรกฎาคม (หรือ สิงหาคม ในหลายพื้นที่) ของทุกปี (Bon Festival)
จัดทั่วประเทศ เป็นพิธีทางศาสนา เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมีการเต้นระบำโบราณ BON ODORI เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณเหล่านั้น
เทศกาลไฟ - วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปี (Nachi Shrine No Himatsuri) ที่ศาลเจ้านะจิคะทจึระในเมืองวะกะยะมะ มีการแบก 12 คบเพลิงขนาดใหญ่ โดยนักบวชในชุดขาว
เทศกาลฮะคะตะ กิออน ยะมะงะซะ - วันที่ 1-15 กรกฎาคม ของทุกปี (Hakata Gion Yamagasa) งานใหญ่จะจัดในวันที่ 15 ที่เมืองฟุคุโอกะ มีการแห่ขบวนรถประดับสวยงามที่ยิ่งใหญ่
เทศกาลกิออน - วันที่ 16-17 กรกฎาคม ของทุกปี (Gion Matsuri) เป็นเทศกาลย้อนยุคไปในศตวรรษที่ 9 ที่ใหญ่ที่สุดในเกียวโต จะมีขบวนแห่ชุดแต่งกายโบราณผ่านถนนสายหลักหลายสาย
เทศกาลดนตรี - วันที่ กรกฎาคม หรือ สิงหาคม ของทุกปี (Kangensai Music Festival) ของศาลเจ้า Itsukushima ใกล้เมืองฮิโรชิม่าในญี่ปุ่น มีการรำประกอบดนตรีราชสำนัก
เทศกาลเทนยิน - วันที่ 24 - 25 กรกฎาคม ของทุกปี (Tenjin Matsuri) ของศาลเจ้าเทนมันงู ในโอซาก้า มีขบวนแห่ศาลเจ้าบนเรือเหนือลำน้ำโดจิมะ
เทศกาลเนบุตะ - วันที่ 1-7 สิงหาคม ของทุกปี (Nebuta Matsuri) มีขบวนแห่โครงหุ่นประดับไฟ ในเมืองอะโอโมริ (2-7 สิงหาคม) เมืองฮิโรซะกิ
เทศกาลคันโต - วันที่ 3-6 สิงหาคม ของทุกปี (Kanto Matsuri) ที่เมืองอะคิตะ มีขบวนแห่แผงโคมไฟที่แขวนบนราวไม้ไผ่
เทศกาลฮะนะงะซะ - (Hanagasa Matsuri) ในเมืองยะมะงะตะ มีขบวนฟ้อนรำของชาวเมือง เป็น 10,000 คน ในชุดหมวกฟางติดดอกไม้เทียม ซึ่งเป็นชุดประจำเทศกาล
เทศกาลระบำอาว่า - วันที่ 12-15 สิงหาคม ของทุกปี (Awa Odori Folkdance Festival) ที่เมืองโทคุชิมะ มีการร้องรำทั้งกลางวันและกลางคืน
งานไดมอนหยิ บอนไฟ - วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปี (Daimonji Bonfire) เป็นเทศกาลเพื่อส่งดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้วโดยการเผาไฟบนเนินเขา ซึ่งเห็นได้จากตัวเมืองเกียวโต
|
![]()
เทศกาลเนบุตะ - ญี่ปุ่น
|
![]()
เทศกาลกิออน - ญี่ปุ่น
|
![]()
เทศกาลซันโน - ญี่ปุ่น
|
![]()
เทศกาลคันโต - ญี่ปุ่น
|
ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน)
เป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวและใบไม้เปลี่ยนสี
เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงในเดือนกันยายน และตุลาคม เป็นเดือนที่น่าเพลิดเพลินกับความเย็นสบายในฤดูนี้ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงแห่งสีสรรเป็นสีเหลืองส้ม แต่งเติมขุนเขาราวกับสีสรรแห่งพรม และทุ่งนาเปลี่ยนเป็นสีทองเป็นเวลาแห่งเทศกาลและกีฬา ได้มาบรรจบกับกิจกรรมทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ งานเทศกาลดอกเบญจมาศซึ่งแสดงอยู่ทั่วประเทศเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของฤดูนี้ |
งานแสดงขี่ม้ายิงธนู - วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี (Yabusame) ที่ศาลเจ้าทซึรุหงะโอกะ ฮะจิมังงู ที่เมืองคะมะคุระ
เทศกาลคุนจิ - วันที่ 7-9 ตุลาคม ของทุกปี (Kunchi Matsuri) ของศาลเจ้าซูวะในเมืองนางาซะกิ มีระบำมังกรจีนดั้งเดิม
เทศกาลทะคะยะมะ - วันที่ 9-10 ตุลาคม ของทุกปี (Takayama Matsuri) แห่งศาลเจ้าฮาจิมังงุ ซึ่งมีขบวนรถสีสรรต่าง ๆ มากมาย
เทศกาลเมืองนาโกยา - กลาง ตุลาคม ของทุกปี (Nagoya City Matsuri) มีขบวนพาเหรดซามูไรตามถนนในเมือง
เทศกาลดอกเบญจมาศ - กลาง ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน ของทุกปี ที่ศาลเจ้าเมหยิ และวัดอะซะคุซะในโตเกียว
เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง - วันที่ 17 ตุลาคม ของทุกปี (Autumn Matsuri) ของศาลเจ้าโทโชงุ ที่เมืองนิกโก้ มีขบวนพาเหรดของนักรบโบราณในชุดเสื้อเกราะติดตามขบวน
เทศกาลยุคสมัย - วันที่ 22 ตุลาคม ของทุกปี (Jidai Matsuri) เป็นเทศกาลของศาลเจ้าเฮอันในเกียวโตซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เทศกาลใหญ่ของเกียวโต
เทศกาลไฟ - วันที่ 22 ตุลาคม ของทุกปี จะมีขบวนแห่คบเพลิงมุ่งมายังศาลเจ้ายุคิคุระมะในเกียวโต
เทศกาลโอคุนจิ - วันที 2 - 4 พฤศจิกายน ของทุกปี (Okunchi Matsuri) ของศาลเจ้าคะระทจึในเมืองซะหงะ มีขบวนแห่ที่มีสีสรร
ขบวนแห่เจ้าเมือง - 3 พฤศจิกายน ของทุกปี (Daimyo Gyoretsu) ในเมืองฮะโกเน่
เทศกาลเจ็ดห้าสาม - 15 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับเด็กอายุ 3, 5, 7 ปี จะไปศาลเจ้าเพื่อขอพรจากเทพเจ้าให้มีสุขภาพดีตลอดไป
|
![]()
เทศกาลโอคุนจิ - ญี่ปุ่น
|
![]()
เทศกาลยุคสมัย - ญี่ปุ่น
|
![]() เทศกาลคุนจิ - ญี่ปุ่น |
|
ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์)เป็นฤดูแห่งการเพลิดเพลินกับหิมะ ฤดูหนาวในญี่ปุ่นไม่ค่อยรุนแรง ยกเว้นทางเหนือสุด อุณหภูมิโดยปกติจะอบอุ่นด้วยแสงอาทิตย์และฟ้าสีคราม อีก ด้านหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เทศกาลต่างๆ จะเกี่ยวพันกับหิมะและน้ำแข็ง นักท่องเที่ยวจะเพลิดเพลินกับหิมะและรูปแกะสลักและมีส่วนร่วมในประเพณีท้อง ถิ่นตามฤดูนั้น เทศกาลงานต่างๆ ทั่วญี่ปุ่นถูกจัดขึ้นต่อเนื่องกับเทศกาลปีใหม่อันเป็นวันที่สำคัญที่สุด สำหรับชาวญี่ปุ่น |
เทศกาล อ็อง มัตสุริ - วันที่ 15-18 ธันวาคม ของทุกปี (On Matsuri) ของศาลเจ้าคะซึกะของเมืองนารา จะมีขบวนแห่สวมหน้ากาก
งานฮะโกอิตะ อิชิ - วันที่ 17-19 ธันวาคม ของทุกปี (Hagoita-Ichi) ของวัดอะซะคุซะคันนอนในโตเกียว มีการออกร้านขายไม้ตีลูกขนไก่โบราณ
งานไหว้พระ - วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี (OTERAMAIRI) ที่ศาลเจ้ายะซะกะในเกียวโต มีพิธีไฟศักดิ์สิทธิ์
วันปีใหม่ - วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี (New Year’s Day)
มีจนถึงวันที่ 3 ร้านค้า โรงงาน ธุรกิจต่างๆ จะปิด ครอบครัวต่างๆ จะฉลองด้วยอาหารมื้อพิเศษ แต่งชุดกิโมโนที่สวยที่สุด และจะพากันไปวัดหรือศาลเจ้า เพื่อไหว้พระขอพรให้สุขภาพดี และมีความสุขตลอดปี
วันทำพิธีดับเพลิง - วันที่ 6 มกราคม ของทุกปี (Dezomeshiki) ชมขบวนสาธิตการดับเพลิงในโตเกียว โดยมีตัวแทนพนักงานดับเพลิงแสดงโลดโผนบนยอดบันไดช่วยหนีไฟ
ก่อนวันบรรลุ นิติภาวะ (Day Before Coming of Age Day) เทศกาลเผาหญ้า บนเขา WakakusaYama ในเมืองนารา
เทศกาลหิมะ - ต้น ก.พ. (7วัน) (Snow Festival) ที่
มีชื่อที่สุดในญี่ปุ่น ที่เมืองซัปโปโร บนเกาะฮ็อกไกโด มีรูปแกะสลักหิมะและน้ำแข็งอันมหึมาต่างๆ มากมายจากทั่วโลกมาประชันและแข่งขันกันทุกปี ต้นหรือกลาง ก.พ. เทศกาลหิมะ ที่อะซะฮิคะวะหรืออะบะชิริและเมืองอื่นๆ ในฮ็อกไกโด
เทศกาลโปรยถั่ว - วันที่ 3 หรือ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี (Setsubun Matsuri) เป็นพิธีไล่สิ่งอัปมงคล ทำกันตามวัดใหญ่ทั่วประเทศ
เทศกาลแห่โคม - วันที่ 3 หรือ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี (Lantern Matsuri) ของศาลเจ้าคะซึกะ ในเมืองนารา
เทศกาลคะมะคุระ - วันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ ของทุกปี (Kamakura Matsuri) ของเมืองโยโคเทะในอะคิตะ มีกระท่อมหิมะที่สร้างบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำ
เทศกาลเปลือย - วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี (Hadaka Matsuri) ที่วัดไซไดหยิในเมืองโอคะยะมะ
|
![]()
เทศกาลแห่โคม - ญี่ปุ่น
|
![]()
งานฮะโกอิตะ อิชิ - ญี่ปุ่น
|
![]() |