เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
1. การฟื้นดิน โดยใช้หญ้าแฝกเป็นกำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต |
|
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกขวางตามแนว
ระดับให้กอชิดติดกัน ตามความเหมาะสมของพื้นที่ลาดชัน เพื่อช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ ที่เกิดจาก
การชะล้างของหน้าดิน ในบริเวณร่องน้ำ แนวของหญ้าแฝกช่วยเก็บกักตะกอน เป็นกำแพงป้องกันดินตาม
ธรรมชาติ ล้อมดินไว้เพื่อสร้างหน้าดินขึ้นมาใหม่โดยทำการปลูกป่าเสริมลงไปในพื้นที่ ส่วนบริเวณแหล่งน้ำ
รากของหญ้าแฝกยังช่วยดูดซับสารเคมี ซึ่งเป็นวิธีการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
2. ในดินที่แข็งเป็นดาน |
|
ได้ทำการขุดเจาะให้เป็นช่องหรือบ่อ นำดินที่มีธาตุอาหารพืชมาใส่ นำหญ้าแฝกมาปลูกให้น้ำเพื่อสร้าง
ความชุ่มชื้น รากของหญ้าแฝกมีความแข็งแรง สามารถชอนไชลงในแนวดิ่ง ทนต่อสภาพอากาศที่
แห้งแล้งได้ดี ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินที่แข็งเป็นดานให้แตกตัว รากของหญ้าแฝกที่ตายและย่อย
สลายผุพัง เกิดมีช่องว่าง น้ำและอากาศสามารถหมุนเวียนลงสู่ใต้ดินได้ ทำให้เกิดความชุ่มชื้นเกิดขบวน
การย่อยสลาย นำพันธุ์ไม้ที่ทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ เช่น ไม้ดั่งเดิมที่เคยมีในพื้นที่มาปลูกเสริม ใบ
ของหญ้าแฝกที่แก่สามารถตัดและนำมาคลุมผิวดินตามโคนต้นไม้หรือหน้าดิน ช่วยป้องกันการระเหยของ
น้ำ ย่อยสลายได้เร็ว หมุนเวียนเป็นธาตุอาหารของพืชได้ต่อไป
3. การกระจายความชุ่มชื้น |
|
แต่เดิมพื้นที่มีความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นเขตอับฝน เกิดสภาพเป็นทะเลทราย เมื่อมี
ฝนตกเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ภูเขามีสภาพเป็นเขาหัวโล้น
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดหาแหล่งน้ำ เพื่อสร้างและกระจายความชุ่มชื้นใน
พื้นที่ให้มากขึ้น โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
4. การฟื้นฟูสภาพป่าไม้
การปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง
ประโยชน์อย่างที่ ๑ การปลูกไม้โตเร็ว เพื่อพัฒนาและสร้างหน้าดิน
ขึ้นใหม่และยังสามารถนำไม้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
ประโยชน์อย่างที่ ๒ การปลูกไม้ดั้งเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ เนื่องจากไม้
ดั้งเดิมมีความแข็งแรงและทนต่อสภาพของดินฟ้าอากาศได้เป็นอย่าง
ดีประโยชน์อย่างที่ ๓ การปลูกไม้เศรษฐกิจหรือไม้ผล เพื่อนำไม้มาใช้
ประโยชน์ในอนาคต
ประโยชน์อย่างที่ ๔ คือ เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยสร้างความ
ชุ่มชื้นให้กับพื้นที่
5. ระบบภูเขาป่า
คือ การนำพลังงานแสงอาทิตย์ (ระบบโซลาเซล) สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำขึ้นไปใส่ถังพักน้ำที่ก่อสร้างไว้บน
ภูเขาให้น้ำล้นและปล่อยให้ไหลกระจายไปตามพื้นที่โดยรอบถังพักน้ำ แล้วปลูกต้นไม้ไว้รอบๆพื้นที่ก็
สามารถเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งไม้ที่ใช้ปลูกในพื้นที่เป็นไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจและไม้ดั้งเดิม วิธีการปลูก
ป่าแบบนี้มีอัตราการรอดตายของพันธุ์ไม้ค่อนข้างสูง เป็นการปลูกป่าจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง
6. การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการสร้างระบบภูเขาป่า เนื่องจากพืชพันธุ์ไม้ที่รอดตายและสามารถเจริญเติบโตได้
ในระยะเวลาหนึ่งจะสามารถผลิดอกออกผล เมล็ดหรือผลที่แก่จะร่วงหล่นหรือเมื่อสัตว์ได้กินผลแล้วไป
ถ่ายไว้ในพื้นที่ต่างๆ ประกอบกับมีสภาพอากาศที่เหมาะสมทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ หรือ ใน
กรณีที่เราไม่เข้าไปบุกรุกเป็นการปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้ตามธรรมชาติ ในระยะเวลาหนึ่งพืชชนิดต่างๆ ที่ถูกตัด
ต้นไปแล้วเหลือแต่ตอไว้ ก็สามารถแตกหน่อแล้วเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ ดังภาพแสดงให้เห็นบริเวณ
ร่องเขากระปุกในปี ๒๕๔๐ เปรียบเทียบกับปี ๒๕๔๙ มีพืชพันธุ์ไม้ขึ้นเต็มร่องเขา เป็นการคืนสภาพป่า
ตามธรรมชาติโดยไม่ต้องปลูก สามารถประหยัดงบประมาณได้อีกด้วย
7. ระบบป่าเปียก |
|
น้ำบางส่วนที่ไหลลงมาจากระบบภูเขาป่า จะไหลลงมาที่แนวฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือฝายแม้ว หรือ
Check dam สร้างความชุ่มชื้นให้ทั่วพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการปลูกป่า การกระจายน้ำจากฝายแม้ว โดย
การใช้ท่อไม้ไผ่ใช้ท่อสายยาง หรือท่อ PVC เจาะรูต่อขยายไปทางด้านข้างให้น้ำกระจายออกไป เพื่อ
สร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่แล้วทำการปลูกป่าเสริม
8. ป่าชายเลน
เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลจากพื้นที่ตอนบนของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จะไหลเข้าสู่ระบบฝาย
ชะลอความชุ่มชื้น หรือฝายแม้ว หรือCheck dam คันดินกั้นน้ำและคันดินเบนน้ำ ส่วนที่เหลือจะไหลลงสู่
แหล่งน้ำตอนล่างแล้วออกสู่ทะเล เป็นคลองที่เชื่อมต่อกับคลองบางกราใหญ่และบางกราน้อย ซึ่งพื้นที่
ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าชายเลนและป่าชายหาด ในเขตพื้นที่ของกองกำกับการ ๑ กองบังคับการฝึกพิเศษ
ค่ายพระรามหก ทำให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์มากขึ้น ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเพาะและ
ขยายพันธุ์น้ำ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เมื่อเจริญเติบโตก็จะออกสู่ทะเลเป็นแหล่งอาหารของ
ประชาชนต่อไป
|
|
การฟื้นฟูส |
|
การปลูกป่
|
|
ประโยชน์อ
ประโยชน์อย่า
ชุ่มชื้นให้กับพ |
|
|
|
การอนุรักษ
ชุ่มชื้นเ
|
|
|
|
แหล่งอ้างอิง:
http://www.huaysaicenter.org/environment.php