โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ. และ2ส.โรงเรียนบ้านแหลมไทร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554
ชื่อผลงานทางวิชาการ โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ. และ2ส.โรงเรียนบ้านแหลมไทร
อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554
ผู้รายงาน นายพีรภัทร ซุ้นสั้น
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2554
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ. และ2ส. โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554 ครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ ( CIPP Model ) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ ประเมินด้านผลผลิต ได้แก่ สภาพการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพตามกลยุทธ์ 5อ. และ2ส.โรงเรียนบ้านแหลมไทร การพัฒนาสภาวะสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมไทร ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม และสถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ พฤติกรรมด้านสุขภาพของครูเพื่อการมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีและเป็นแบบอย่างได้ สมรรถภาพทางกายของนักเรียนรายบุคคลชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 คุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ คุณภาพการศึกษา ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา มาตรฐานที่ 1 ผลการจัดการศึกษา ตัวบงชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และความพึงพอใจของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อผลการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้ กลยุทธ์ 5อ. และ2ส. โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ. และ2ส.โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554 ครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554 ทุกคน รวมกลุ่มตัวอย่าง 104 คน (เนื่องจากนักเรียนชั้นดังกล่าว อ่านออกเขียนได้ และสื่อความหมายได้ดี สามารถที่ให้ข้อมูลตรงตาม สภาพจริงได้ดีกว่านักเรียนชั้นอื่น ๆ) ครู ศึกษาจากประชากรครู โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554 จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2554 จำนวน 104 คน และกลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา และผู้แทนครู ปีการศึกษา 2554 จำนวน 7 คน
เครื่องมือการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์5อ.และ2ส. โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554 จำนวน 10 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Ststistical Package for the Social Soiences) for window v.16 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ. และ2ส. โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554 ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ.และ2ส.โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554เป็นการประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมของการวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุง ตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ. และ2ส. โรงเรียนบ้านแหลมไทร ปีการศึกษา 2554 พบว่า
4.1 สภาพการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามกลยุทธ์ 5อ.และ2ส.โรงเรียนบ้านแหลมไทร ตามความคิดเห็นของนักเรียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
4.2 การพัฒนาสภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทาง ทันตกรรม และสถิติการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ผลการประเมินตามสภาพจริงของนักเรียน โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีภาวะสุขภาพตามเกณฑ์ (ร้อยละ 96.05) มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามของสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน: ประถมศึกษากลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โรงเรียนบ้านแหลมไทร พบว่า ผลรวมคะแนนตัวบ่งชี้ที่ 1 ผลการประเมินคะแนนที่ได้ 9.06 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
4.7 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อผลการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5อ. และ2ส.โรงเรียนบ้านแหลมไทร
ปีการศึกษา 2554 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
ข้อเสนอแนะ
1.1 ควรให้โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน เป็นโครงการต่อเนื่องมีการดำเนินงานทุกปีการศึกษา ให้มีแผนงานรองรับอย่างชัดเจนทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ และวัสดุ / อุปกรณ์อย่างเพียงพอ
1.2 ควรส่งเสริมให้ผู้รับผิดชอบ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีโอกาสพัฒนาตนเองโดยการศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่สามารถดำเนินการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่เป็นเลิศ หรือประสบผลสำเร็จ
1.3 การดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนควรให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ให้มากที่สุด
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาภาวะสุขภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพที่ดี กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3 ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ( CIPP Model )
2.4 ควรมีการประเมินโครงการระดับกลุ่มงานย่อยของสถานศึกษาทุกโครงการโดยเลือกใช้รูปแบบการประเมินที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการประเมิน