รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง :
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ผู้ประเมิน : นายสมพงษ์ วิเชียรรัตน์
ปีที่ทำการประเมิน : ปีการศึกษา 2553-2554
การประเมินครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
คลองมหาสวัสดิ์ สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ
เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาในการดำเนินโครงการต่อไป เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบซิป(CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอน 14 คน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 10 คน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จำนวน 174 คน รวมทั้งสิ้น 198 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 3 ฉบับเป็นแบบสอบถาม
จำนวน 2 ฉบับ แบบบันทึกข้อมูล 1 ฉบับ
เก็บข้อมูลด้วยวิธีสอบถาม และการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version
Trial
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า
ประเด็นการประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ
1. ด้านบริบท ในภาพรวมมีความสอดคล้องในระดับมาก โดยครูเห็นว่าด้านที่มีความสอดคล้องมากที่สุด
คือ โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสร้างคุณลักษณะที่ดีด้านใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้แก่ผู้เรียน
อยู่ในระดับมากที่สุด
สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่าด้านที่มีความสอดคล้องมากที่สุด
คือ ด้านโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและความต้องการของครูและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
โดยครูเห็นว่าด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านเอกสาร / คู่มือในการดำเนินกิจกรรมในโครงการมีความชัดเจน
มีคุณภาพและพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด
สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่า
ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านอาคารสถานที่
ห้องปฏิบัติงานตามโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
โดยครูเห็นว่าด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการสำรวจรวบรวม
วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการและนำมาใช้ในการวางแผนดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ
ด้านการประชุมวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
โดยครูเห็นว่าด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการและการดำเนินงานห้องสมุด
อยู่ในระดับมากที่สุด
สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่าด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด
คือ ด้านมีการดำเนินกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์ได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ การรวบรวมพันธุ์ไม้มาปลูกในโรงเรียน
การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ การเขียนรายงานและการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนเห็นว่าด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด
คือ การให้บริการของห้องสมุดมีความรวดเร็ว อยู่ในระดับมากที่สุด