มะ-หัด-สะ-จอ-รอ-หัน แห่งสายน้ำไทย
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ช่วงชั้นที่่3
สถานการณ์น้ำในประเทศไทย
พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่อปีทั้งประเทLประมาณ1,700 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นปริมาณน้ำจากน้ำฝนปีลประมาณ800,000ล้านลูกบาศก์เมตร จะซึมลงใต้ดินและระเหยกลับไปสู่บรรยากาศ เหลือเพียง ล้านลูกบาศก์เมตร ที่อยู่ในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง ปัจจุบันการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบต่างๆ ทั้งโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง 650 แห่ง และโครงการขนาดเล็ก600,000 แห่งสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ 70,800 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ30ของปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปีส่วนที่เหลือ ไหลลงสู่ทะเล ปริมาณน้ำฝนปีละ 600,000ล้านลูกบาศก์เมตรที่ซึมลงไปใต้ดินและระเหยกลับไปในอากาศ มีเพียงส่วนหนึ่งไหลไปกักเก็บน้ำอยู่ในแหล่งน้ำใต้ดินปริมาณน้ำที่ไหลลงไปเก็บกักในแหล่งน้ำใต้ดินนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะและสภาพของชั้นหินสามารถที่จะเก็บกักน้ำไว้ได้สูงถ้าเป็นหินร่วน เช่น กรวด ทราย ดินเหนียวชั้นน้ำใต้ดินที่เป็นกรวดทรายสามารถเก็บกักน้ำไว้ในช่องว่างหรือรูพรุนได้สูง ถ้าเป็นหินแข็งปริมาณน้ำที่เก็บไว้ได้ จะขึ้นอยู่กับช่องว่างที่เกิดจากรอยแตก รอยเลื่อน โพรง หรือช่องว่างระหว่างการวางตัวของชั้นหินการศึกษาทางอุทกธรณีวิทยา สามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า แต่ละปีน้ำฝนไหลซึมลงไปเก็บกักในดินร่วนประมาณร้อยละ10และในส่วนหินแข็งประมาณร้อยละ 2-5ในประเทศไทยมีทั้งหินร่วนและหินแข็งที่เป็นแหล่งน้ำใต้ดินโดยในภาพรวมปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินทั่วประเทศ ปีละประมาณร้อยละ5ของปริมานน้ำฝนทั้งหมด หรือประมาณปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตรปริมาณน้ำที่ซึมลงไปเหล่านี้จะไม่สามารถเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำใต้ดินได้ทั้งหมด มีบางส่วนไหลลงสู่ทะเลหรือไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในกาประเมินปริมาณน้ำใต้ดินทั้งหมดในประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่จัดว่ามีความสะอาด และมีศักยภาพสูงสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค
http://www.pwa.co.th/document/watersituation.html
|
http://answeron.com/wp-content/uploads/2011/05/graph-increase.jpg |
![]() ![]() |
