การพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติเทเบิลเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ
หัวข้อวิจัย การพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติเทเบิลเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายนำพล จุมพิศ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติเทเบิลเทนนิสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาทักษะเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติเทเบิลเทนนิส และ
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติเทเบิลเทนนิส
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 ถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2554 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหาในรายวิชาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรโรงเรียนสวงษ์วิทยาคม พุทธศักราช 2553
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะเทเบิลเทนนิส สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 17 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาเทเบิลเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเทเบิลเทนนิส ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.46 - 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.30 – 0.74 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ใช้ทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติ
4) แบบทดสอบทักษะเทเบิลเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบไปด้วยแบบวัดทักษะปฏิบัติ 4 รายการ คือ การส่งลูก การตีโต้ การตบลูก และการตีลูกหยอด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกปฎิบัติ E1 และ E2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ Nonparametrics การทดสอบลำดับพิสัย
Wilcoxon ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกปฏิบัติเทเบิลเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวงษ์วิทยาคม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.26/82.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
2. ทักษะเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติ อยู่ในระดับดี เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติ (