การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.4 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่
1 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น
ผู้รายงาน นายธารินทร์ ลครพล
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น เป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจะต้องปรับวิธีสอนและนำเทคนิคการเรียนรู้ต่าง ๆ ไปใช้ในการสอน ให้มีความหลากหลายให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน
รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีเอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
4) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน
และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนกับเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช และ 5) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 โรงเรียนบ้านหญ้าคา ปีการศึกษา 2554 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7 จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี
5 ชนิด คือ
1) แผนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องการดำรงชีวิตของพืช 2) เอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช
เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน
แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15
ข้อ และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และร้อยละ (Percentage) และสถิติทดสอบ ได้แก่ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาค้นคว้า
พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่
4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช มีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ
87.28/85.11
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. เอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
มีค่าดัชนีประสิทธิผล
(E.I) โดยรวมเท่ากับ 0.7537 หรือเท่ากับร้อยละ 75.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ .50 หรือร้อยละ 50 ที่ตั้งไว้
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.42,
S.D = 1.79)
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่ากับเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นกัน
5. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนร่วมกับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.62,
S.D = 2.72)
โดยสรุป การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช
โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่ผู้รายงานได้สร้างและพัฒนาขึ้นเป็นนวัตกรรมที่มีคุณภาพ สามารถส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รู้จักคิด
รู้จักปฏิบัติ รู้จักแก้ปัญหา สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้