ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง เส้นทางสู่นักประดิษฐ์ ผลงานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปอบิดชื่อผู้วิจัย : นายไพโรจน์ เดชโนนสังข์ ตำแหน่ง ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านปอบิด สพป.นม.6ประเภทผลงานวิชาการ : ผลงานวิจัย บทคัดย่อ จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพ เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง เส้นทางสู่นักประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เส้นทางสู่นักประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ โดยการเปรียบเทียบก่อน และหลังเรียน (3) เพื่อประเมิน ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อ เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง เส้นทางสู่นักประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านปอบิด อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 6 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง เส้นทางสู่นักประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 เล่ม (2) แผนจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน จำนวน 6 แผน ใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้สูตร t - test (Dependent Sample) พิจารณานัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนการสอนเมื่อใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏว่ามีค่า E1 / E2 เท่ากับ 87.53 / 86.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ( 80/80) แสดงว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 2. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบหลัง สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง เส้นทางสู่นักประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ระหว่าง 4.75 – 5.00 มีค่าเฉลี่ย 4.91 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ