รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น
ผู้วิจัย : นางสุภัทรา อักกะมานัง*
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น และการดำเนิน
การวิจัย มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1)
การศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น
โดยศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยการมี
ส่วนร่วมของชุมชน ชุมชน เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล
วัดราษฎรอุทิศ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถาม
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 128 คน ได้แก่
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8
คน ผู้ปกครองนักเรียน
จำนวน 60 คน และนักเรียน
จำนวน 60 คน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมี
ส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น โดยนำข้อมูลจากการศึกษา
ในขั้นตอนที่ 1 และศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกใน
การอนุรักษ์ท้องถิ่น จากนั้นตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น ที่สร้างขึ้น
โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้
3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น
กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 20 คน และ
*ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อ
|
ส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่นโดยพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
และครูผู้สอนจำนวน 13 คน พิจารณาด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้
ความเป็นประโยชน์
และด้านความครอบคลุม ปัญหา และข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล
วัดราษฎรอุทิศ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
1.1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการ
มีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา
2553 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (
= 4.86)
1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมือง
ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2553 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อยที่สุด (
= 1.21)
ไม่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วม
ของชุมชน โดยใช้ องค์ประกอบ 8 ประการ คือ หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการดำเนินการ
การประเมินผล การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ประโยชน์ที่ได้รับจากการให้
ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหา และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง คุณค่าและประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียนและผู้สอน
จากนั้นตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ที่สร้างขึ้น คือ โดยใช้ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการจัด
การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม
ทุกด้านในระดับ มากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎรอุทิศ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
4.
ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน
มีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการจัด
การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่สร้างขึ้น
พบว่า มีความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุม และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด