บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน ปีการศึกษา 2553 ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ได้ดำเนินการประเมินโครงการตามแนวคิดของของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 25 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูผู้สอนจำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมิน 1. ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 5. ผลการประเมินด้านผลผลิต ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ข้อเสนอแนะ 1. ผู้บริหาร ควรสนใจที่จะวิจัยเพื่อหารูปแบบ (Model) ในการพัฒนาด้านสภาวะแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดไป 2. ผู้บริหาร ควรสนใจที่จะวิจัยเพื่อหารูปแบบ (Model) ในการพัฒนาด้านปัจจัยเบื้องต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนิเทศภายใน