ผลการใช้ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อเรื่องศึกษา ผลการใช้ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นางเทียมจันทร์ กลิ่นบุหงา
สังกัดสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่ศึกษา 2554
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80 เพื่อศึกษาพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งานประดิษฐ์บายศรี
ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน
5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ งานประดิษฐ์บายศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 แผน 22 ชั่วโมง
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนงานประดิษฐ์บายศรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30
ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.45 - 0.75 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.30 - 0.70 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.43 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.60 การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้สถิติค่าเฉลี่ย (µ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(s) ค่าร้อยละและค่าร้อยละความก้าวหน้า
ผลการศึกษาพบว่า
ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)
เท่ากับ 83.92/81.79 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
ผลพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 มีค่าเฉลี่ย (µ) หลังเรียนเท่ากับ 16.45
และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)
หลังเรียน เท่ากับ 1.35
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์บายศรี
มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.76 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(s) เท่ากับ 0.54