บ้านศิลปิน

3. จาก รูปแบบทางศิลปะ สถาปัตยกรรมของวัดกำแพงที่มีความประณีต และแสดงออกถึงเชิงช่างชั้นสูง ทั้งที่ปรากฏในงานจิตรกรรมและ ปะติมากรรมปูนปั้นตกแต่งนั้น ชี้ให้เห็นว่าช่างศิลปกรรมผู้สร้างสรรค์ งานดังกล่าว อาจเป็นช่างหลวงหรือไม่เช่นนั้น ก็เป็นกลุ่มช่างพื้นถิ่นซึ่ง มีฝีมือดีมาก ซึ่งจากเหตุผลนี้จึงพอสันนิษฐานได้ว่า ในการซ่อมบูรณะ วัดกำแพงครั้งใหญ่ราวสมัยรัชกาลที่ 4 คงจะใช้ทุนทรัพย์ค่อนข้างสูง โดยผู้ออกทุนในการบูรณะ อาจเป็นขุนนางสำคัญหรือเศรษฐี ซึ่งมีทุน ทรัพย์และแรงศรัทธาเป็นอย่างมาก จากการสำรวจในบริเวณเขต พุทธาวาสของวัดกำแพงพบว่า ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถเป็น ที่ตั้งของเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กองค์หนึ่ง โดยที่ส่วนฐานเจดีย์มี แผ่นศิลาจำหลักข้อความ ซึ่งสรุปได้ว่า เจดีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ ระลึกและใช้บรรจุอัฐิของ “พระพิศาลผลพานิช” ภายหลังจากที่ได้จัด การฌาปนกิจศพที่วัดจักรวรรดิราชาวาส ประกอบกับการค้นคว้า เอกสารสารบาญชีส่วนที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2426 ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า พระพิศาลผลพาณิช มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “จีนสือ”รับราชการตำแหน่งสำคัญในกรมท่าซ้ายขุนนางจีน ในสมัยรัชกาลที่ 5 (อย่างน้อยใน พ.ศ.2426 ที่มีการตีพิมพ์เอกสารยังคงรับราชการอยู่)
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน