ตารางธาตูชวนยิ้มม ^3^ ..1..

ตารางธาตุ
ตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเนฟ ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วย
ประวัติของตารางธาตุ
ในระหว่างปี พ.ศ. 2346 ถึง 2456 มีธาตุต่าง ๆที่พบในธรรมชาติประมาณ 63 ธาตุ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามจัดธาตุเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นตารางธาตุโดยในช่วงแรก ๆ นั้นแบ่งธาตุออกเป็นหมวดหมู่โดยอาศัยสมบัติของธาตุ ทั้งนี้ได้จากการสังเกตพบความคล้ายคลึงกันของสมบัติของธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้นำมาจัดเป็นตารางธาตุได้ เช่น แบ่งกลุ่มโดยอาศัยสมบัติเกี่ยวกับโลหะ-อโลหะ โดยอาศัยสมบัติของความเป็นกรด-เบสของธาตุ เป็นต้น ต่อมาเมื่อหามวลอะตอมของธาตุได้ จึงใช้มวลอะตอมมาประกอบในการจัดตารางธาตุ จนในปัจจุบันจัดตารางธาตุโดยอาศัยเลขอะตอม
จากความรู้ในทางฟิสิกส์ เคมี และดาราศาสตร์ พบว่าโลกนี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ มากกว่า 105 ชนิด พบอยู่ตามเปลือกโลกซึ่งมีมากน้อยไม่เท่ากัน เช่น Si และ Fe เป็นธาตุที่มีอยู่ในใจกลางโลกเป็นจำนวนมาก
ค.ศ.1817 Dobereiner พบว่าธาตุบางประเภทซึ่งประกอบไปด้วยธาตุ 3 ธาตุ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน และเขาพบว่าน้ำหนักอะตอมของธาตุหนึ่งจะมีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักอะตอมเฉลี่ยของธาตุอีกสองธาตุ เช่น ในหมู่ธาตุ Cl , Br และ I จะพบว่าค่าน้ำหนักอะตอมเฉลี่ยของ Br เท่ากับ น้ำหนักอะตอม Cl + น้ำหนักอะตอม I
ในทำนองเดี่ยวกันยังมีธาตุที่มีคุณสมบัติเช่นนี้อีก 2 กลุ่ม คือ ธาตุสตรอนเตียม (Sr) แคลเซียม (Cl) และธาตุแบเรียม (Ba) อีกกลุ่มคือ หมู่ธาตุเซเลเนียม(Se) ธาตุซัลเฟอร์ (S) และธาตุเลทูเรียม ซึ่งธาตุหมู่ดังกล่าวเหล่านี้เรียกว่า Triads
ค.ศ. 1864 John A.R. Newlands ชาวอังกฤษได้เสนอการจัดธาตุต่างๆโดยเรียงตามน้ำหนักอะตอม ซึ่งเรียกการจัดแบบนี้ว่า Law of Octaves
ต่อมาได้มีการค้นพบค่าอะตอมมิคนัมเบอร์ โดย Henry Gwyn Jeffeys Moseleys (ค่าของอะตอมมิคนัมเบอร์ คือ จำนวนโปรตอนที่มีอยู่ในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ) ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการจัดเรียงธาตุตามอะตอมมิคนัมเบอร์ แทนน้ำหนัก
ตารางธาตุของเดอเบอไรเนอร์
การจัดตารางธาตุนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1817) โดย โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์ (Johaun Dobereiner) นักเคมีชาวเยอรมัน ได้นำธาตุต่าง ๆ ที่พบในขณะนั้นมาจัดเรียงเป็นตารางธาตุ โดยนำธาตุต่าง ๆ ที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันมาจัดไว้ในหมู่เดียวกัน หมู่ละ 3 ธาตุ เรียงตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากในแต่ละหมู่ มวลอะตอมของธาตุที่อยู่กลางจะเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุที่เหลืออีก 2 อะตอม เรียกว่า กฎชุดสาม (law of triads หรือ Dobereine’s law of triads)
..............
................
สูตรการจำตารางธาตุอย่างง่ายๆ
มันก็ไม่ใช่สูตรอะไรมากก็แค่วิธีจำสัญลักษณ์ง่ายๆเท่านั้นเอง
สูตรนี้มาจากศิษย์เก่าของ สวนกุหลาบ มุขบางอย่างอาจไม่เข้าใจกัน
ก็หมู่ IA นะก็มี H ก่อนใช่ม่ะ เขียนไป เสร็จแล้วก็ตามนี้ (ดูตารางประกอบไปด้วยนะ)
ไล่ นา กา รู สีฟ้า
Li = ไล่
Na = นา
K = กา
Rb = รู
Cs = สี
Fr = ฟ้า
หมู่ IIA
เบอ แมก กา ซา แบ หลา
Be = เบอ
Mg = แมก
Ca = กา
Sr = ซา
Ba = แบบ
Ra = หลา
Transition (คาบที่ 3)
สตรีวิท ขาย หม้อ เหล็ก นิโคล ขุด สังกะสี
Sc = สะ
Ti = ตรี
V = วิท
Cr = ขาย
Mn = หม้อ
Fe = เหล็ก
Co = โคล
Ni = นิ
Cu = ขุด
Zn = สังกะสิ
คาบที่ 2 กึ่งโลหะ+อโลหะ ที่วงเล็บไว้คือไม่เกี่ยวกับธาตุนะครับ
E บ้า ฆ่า น้า ออฟ
B = (e)บ้า
C = ฆ่า
N = น้า
O , F =ออฟ
หมู่ IIIA
บอล แก ใน ทีม
B , Al = บอล
Ga = แก
In =ใน
Tl = ทีม
หมู่ IVA ดีบุกกับตะกั่วนี่คือธาตุจริงๆนะครับ (ศิวัฒที่เป็นดาราสะกดยังไงหว่า *-*)
ซี ศิวัฒน์ เจอ ดีบุก ตะกั่ว
C = ซี
Si = ศิวัฒน์
Ge = เจอ
Sn = ดีบุก
Pb = ตะกั่ว
หมู่ V
น้า แปส ห่ม สไบ
N = น้า
P , As = แปส
Sb = (ห่ม) สะ
Bi = ไบ
หมู่ VI
ออส ขอ สี ที เดียว พอ
O , S = ออส
Se = (ขอ) สี
Te = ที (เดียว)
Po = พอ
หมู่ VII
แฟน ครับ บ้าน ผม อยู่ นี่
F = แฟน
Cl = ครับ
Br = บ้าน
I = ผม
At = อยู่นี่
หมู่ VIIIA
เขาผู้ชาย หนี อาขับรถ สีแดง
He = เขาผู้ชาย
Ne = หนี
Ar = อา
Kr = ขับรถ
Xe = สี
Rn = แดง
แหล่งอ้างอิง http://www.unigang.com/Article/8890
http://www.thaigoodview.com/node/146184