ข้อมูลเบื้องต้น

หมาก(Betel Nuts)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Areca catechu Linn
ข้อมูลทั่วไป
หมากเป็นพืชที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านความเป็นอยู่ของคนไทย ในอดีตคนไทยนิยมกิน
หมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านธรรมดามักมีเชี่ยนหมากไว้รับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน
ปีใดเกิดภาวะแห้งแล้งมีผลกระทบเศรษฐกิจ สภาวการณ์เช่นนี้เรียกว่าข้าวยากหมากแพง
ปัจจุบันคนนิยมกินหมากกลดน้อยลง ความสำคัญแห่งวัฒนธรรม ปัจจุบันหมากเปลี่ยนเข้าไปมีบทบาทในแง่อุตสาหกรรมหลายชนิด
มีการส่งออกจำน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ปลูกง่ายการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก
โรคแมลงรบกวนน้อย ลงทุนไม่สูง ทำรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปี
โดยแนะนำให้ปลูกในลักษณะผสมผสานร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเสริมรายได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หมากมีชื่อวิทยาศาสตร์ Areca eatechu Linn เป็นพืชตระกูลปาล์มชื่อภาษาอังกฤษ Betel
Nuts หรือ Arecanut หรือ Arceanut plam เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่มีราคแก้ว
รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน
ลำต้น
หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว ระยะแรกจะมีการเจริญ
โตด้านกว้างและด้านสูง หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง
หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอดตายหมากจะตาย ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบเรียกว่าข้อ
ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ
จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร
ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้อ่อนนุ่นคล้ายฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มาก
ใบ
เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็น
แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก
ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก
ดอก
ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น
ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัวเมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน
ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน 21 วัน หลังจากนั้น 5 วัน ดอกตัวเมียเริ่มบาน
ผล
ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1
ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ
ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง
ผลประกอบด้วย 4 ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว
เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก
ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล
เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง
พันธุ์หมาก
พันธุ์หมากไม่มีชื่อเรียกแต่จะแบ่งตามลักษณะของผลและของต้น คือ
1. แบ่งตามลักษณะของผล
1.1 หมากผลกลมแป้น
1.2 หมากผลกลมรี
2. แบ่งตามลักษณะของทรงต้น
2.1 พันธุ์ต้นสูง
2.2 พันธุ์ต้นเตี้ย
2.3 พันธุ์ต้นกลาง
การขยายพันธุ์
หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อ
การขยายพันธุ์ได้ การขยายพันธุ์ใช้เพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดหมากที่มีอายุ 7 – 8 เดือน เปลือกเป็นสีเหลืองเข้ม
การปลูกการดูแลรักษา
หมากเจริญเติบโตดี ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 – 30 ปี
หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน
ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี มีหน้าดินลึก 1 เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่
การให้ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใส่ปุ๋ยขณะลูกหมากอ่อน ๆ ทำให้ผลร่วงการใส่ปุ๋ยควร
ใส่ระหว่างต้นปุ๋ยที่ใส่
1. ปุ๋ยอินทรีย์ 4 ครั้ง/ปี อัตรา 500 – 1,000 กก./ไร่
2. ปุ๋ยเคมี 46 –0 – 0 อัตรา 25 – 5 กก./ไร่/ปี 15 – 15 – 15 , 13 – 13 –21 ใส่ปีละ 1 – 4 ครั้ง อัตรา 50 – 100 กก./ไร่/ปี
การหุ้มต้น
เมื่อหมากอายุ 1 ปี จะเริ่มย่างปล้อง ลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว ถ้าถูกแดดเผาจะทำให้ต้นแห้งไม่
เจริญเติบโตและตายได้ การหุ้มจะหุ้มหลังจากหมดฤดูฝนด้วยทางมะพร้าวหุ้มปิดลำต้นแล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น
ไม่ควรหุ้มต้นตลอดจะเป็นที่สะสมของโรคแมลง
โรคแมลง
โรคแมลงที่สำคัญจะมี 4 โรค
1. โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อราเนื่องจากน้ำฝนขังบริเวณขั้วผล ผลจะเน่าเสียหล่นสะสมบริเวณโคนต้น
2. โรคโคนเน่าและรากเน่า เกิดจากโรคผลเน่าที่ร่วงหล่นสะสมบริเวณโคนต้น สภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม
ทำให้มีการรุกลามไปที่รากและโคนต้นอย่างรวดเร็ว
3. โรคยอดเน่า เกิดจากเชื้อรา Pylhium.sp. โรคนี้พบทั้งในระยะต้นกล้าต้นโตที่ตกลงแล้ว
ฝนชุกและอากาศความชื้นสูง แผลจะเน่าดำบริเวณโคนยอด ลุกลามต่อจนทำให้ใบยอดเน่า
4. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Curvularia.sp. ทำความเสียหายระยะกล้า เกิดเป็นรอยแผลสีเหลืองอ่อน
แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเทา หมากชะงักการเจริญเติบโตและอาจตาย
+++
การป้องกันกำจัด
1. สวนหมากไม่ควรให้มีสภาพแน่นทึบเกินไป ให้มีอากาศถ่ายเท แสงแดดส่องไม่ถึงพื้น
2. เก็บทำลายส่วนที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ เช่น ผลเน่าเสียที่ร่วงหล่นโดยการเผาทำลาย
3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไชแรม เทอร์ราคลอร์ หรือ เทอร์ราโซน
4. หมากที่เป็นโรคมีอาการมากป้องกันกำจัดไม่ได้ให้โค่นเผาทำลายบริเวณต้นที่เป็นโรคให้ราดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา
ผลผลิต
การให้ผลผลิตหมากแบ่งออกได้ 2 ช่วง ซึ่งหมากจะให้ผลเกือบตลอดปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นหมาก
สภาพแวดล้อม อายุและความอุดมสมบูรณ์ ช่วงการเก็บเกี่ยวมีดังนี้
1. หมากปี จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ช่วงผลผลิตหมากมาก กรกฎาคม - สิงหาคม
2. หมากทะวาย เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม หมากทะวายจะมีราคาแพงกว่าหมากปี
+++
การเก็บเกี่ยว
1. ใช้คนปีนขึ้นไปเก็บบนต้น การปีนต้นหมากเหมือนปีต้นมะพร้าว อาจใช้เท้าเปล่าหรือปลอกสรวมเพื่อผ่อนแรง
และพักกลางลำต้น ถึงคอหมากจะรองหน้าหมากโดยเก็บมาผ่าดูว่าแก่พอดีหรือไม่ ถ้าใช้ได้ก็จะตัดทะลาย
โดยเฉือนบริเวณขั้วให้เกือบขาดแล้วกระชากโยนลงน้ำในร่องสวนหรือวางบนเข่าแล้วเป็นลงมา
2. ใช้ตะขอสอย โดยใช้ไม้ไผ่ทำเป็นด้ามยาวตามความต้องการ ปลายมีตะขอเหล็กลักษณะคล้ายเคียว
ติดอยู่ใช้โดยให้ตะขอเกี่ยวที่ขั้วทะลายแล้วกระชากให้ขาดล่วงลงมา โดยโคนต้นหมากจะมีคน 2 คน
ถือกระสอบรอรับหมากที่หล่นลงมาไม่ให้กระแทกกับพื้น
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
สภาพภูมิอากาศ
หมากเจริญได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น ปริมาณน้ำฝน 1,300-1,500 มม./ปี
มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี ไม่น้อยกว่า 50 มม./เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสม 25-35 องศาเซลเซียส
มีแสงแดดมาก อากาศโปร่ง ควรเป็นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 200-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะดิน
เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง มีอินทรียวัตถุสูง
สภาพภูมิอากาศ
หมากเจริญได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น ปริมาณน้ำฝน 1,300-1,500 มม./ปี
มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี ไม่น้อยกว่า 50 มม./เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสม 25-35 องศาเซลเซียส
มีแสงแดดมาก อากาศโปร่ง ควรเป็นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 200-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะดิน
เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง มีอินทรียวัตถุสูง
การแปรรูป
หมากซอย
นำหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น 2 ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากซอย 3-5 กก.
หมากกลีบส้ม
ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ 5-7 กลีบ ตากแดดให้แห้ง
หมากเสี้ยว
ใช้หมากดิบผ่าตามยาว 4-5 ชิ้น แล้วนำมาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้ง
หมากแว่น
นำหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแว่น 14-15 กก.
หมากผ่าซีก
ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก นำไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก 4-5 แดด จนแห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแห้ง 15 กก. ส่วนหมากผ่าสี่ และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดด แล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีก
นำหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น 2 ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากซอย 3-5 กก.
หมากกลีบส้ม
ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ 5-7 กลีบ ตากแดดให้แห้ง
หมากเสี้ยว
ใช้หมากดิบผ่าตามยาว 4-5 ชิ้น แล้วนำมาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้ง
หมากแว่น
นำหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแว่น 14-15 กก.
หมากผ่าซีก
ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก นำไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก 4-5 แดด จนแห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแห้ง 15 กก. ส่วนหมากผ่าสี่ และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดด แล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีก
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
อ่านรายละเอียด http://www.thaigoodview.com/node/159116
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ