พันธุ์ปากช่อง
ลักษณะสายพันธุ์ปากช่อง
-ใบ มี 7 แฉก ใบสีเขียวเข้ม ใบกว้าง 85-70 เซนติเมตร ใบยาว 66-70 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวยาว 80-89 เซนติเมตร
-ผล น้ำหนักผลดิบ 1,000-1,200 กรัม น้ำหนักผลสุก 900-1,100 กรัม สีผิวผลสุกสีเหลือง สีเนื้อสุกสีส้มแดง ความหนาเนื้อประมาณ 3 เซนติเมตร น้ำหนักเนื้อ 810 กรัม น้ำหนักเปลือก 50 กรัม น้ำหนักเมล็ด 40 กรัม คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เนื้อ เปอร์เซ็นต์เปลือก เปอร์เซ็นต์เมล็ด ความหนาเปลือก 0.16 เซนติเมตร
-ความหวาน 15 องศาบริกซ์ กลิ่นหอมรสชาติดี หลังจากปลูก 8 เดือน ให้น้ำหนักผลผลิต 40-50 กิโลกรัม ต่อต้น
*ค่อนข้างทนต่อโรคไวรัสจุดวงแหวน
ลักษณะสายพันธุ์ ปากช่อง 2 (12 – 21) ใบมี 7 แฉก ใบสีเขียวเข้ม ใบกว้าง 85 – 70 เซนติเมตร ใบยาว 66 – 70 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวยาว
80 – 89 เซนติเมตร น้ำหนักผลดิบ 1,000 – 1,200 กรัม น้ำหนักผลสุก 900 – 1,100 กรัม สีผิวผลสุกสีเหลือง สีเนื้อสุกสีส้มแดง ความหนาเนื้อประมาณ
3 เซนติเมตร น้ำหนักเนื้อ 810 กรัม น้ำหนักเปลือก 50 กรัม น้ำหนักเมล็ด 40 กรัม คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เนื้อ เปอร์เซ็นต์เปลือก เปอร์เซ็นต์เมล็ด ความหนาเปลือก
0.16 เซนติเมตร ความหวาน 12- 14 องศาบริกซ์ กลิ่นหอมรสชาติดี หลังจากปลูก 18 เดือน ให้น้ำหนักผลผลิต40 – 50 กิโลกรัมต่อต้น ค่อนข้างทนต่อ
โรคไวรัสจุดวงแหวน
มะละกอทานสุก
1 มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ลักษณะทั่วไปของมะละกอฮอลแลนด์ลำต้นใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ดอกออกเป็นช่อ ติดผลดก อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักประมาณ 2-3กิโลกรัมต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม ผิวเรียบ เก็บผลผลิตเมื่อลูกเริ่มเป็นแต้มสีส้ม ผลผลิตราว 5-8ตัน ต่อไร่ ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10 – 18 บาทต่อกิโลกรัม ความต้องการของตลาดสูง แต่ปัจจุบันมีผู้หันมาปลูกพันธุ์นี้กันเยอะมาก ทำให้ราคาตลาดค่อนข้างผันผวน
2 มะละกอพันธุ์เรดเลดี้(red lady) เป็นมะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่เปิดตัวสายพันธุ์มากว่า 3 ปีแล้ว มะละกอสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตและติดผลเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตรก็สามารถติดดอกออกผลได้เร็ว โดยในแต่ละต้นมีจำนวนผลดกเฉลี่ย 30 ผลต่อต้น ลักษณะผลสั้นจนถึงยาวรี น้ำหนักเฉลี่ย 1,500 – 2000 กรัม ผลที่เกิดจากต้นตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาสีส้มแดง กรอบ กลิ่นหอม ความหวาน 13 บริกซ์ เหมาะสำหรับรับประทานสุกหรือดิบ ทนทานต่อการขนส่งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวนที่เกิดจากไวรัสได้เป็นอย่างดี ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10-18 บาทต่อกิโลกรัม ความต้องการของตลาดเป็นที่นิยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ราคากล้าค่อนข้างแพงและหายากทำให้มีผ็คนให้ความสำคัญน้อยกว่าพันธุ์ฮอลแลนด์
3 มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 เป็นพันธุมะละกอที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนซึ่งเป็นการผสมข้ามพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยมีความสูงเฉลี่ย 1.32 เมตร ผลแรกเริ่มสุกภายใน 7 เดือน โดยให้ผลผลิต 6,300 กิโลกรัมต่อไร่ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 770 กรัม ผิวเป็นมัน เปลือกเรียบ เนื้อแน่น สุกช้า ทนทานต่อการขนส่ง เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมส้ม รสชาติหอมหวาน ความหวานเฉลี่ย 13.12 องศาบริกซ์ทั้งยังมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีด้วย แต่ความต้องการของตลาดภายในประเทศยังมีน้อย แต่ตลาดส่งออกมีการส่งไปขายยังประเทศฮ่องกง ไต้หวันแทนมะละกอฮาวาย อนาคตคาดว่าจะมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเพื่อกินสุกทั้งภายในประเทศและส่งออก
4 มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 พัฒนาสายพันธุ์โดยสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ลำต้นสีเขียวปนม่วงเล็กน้อย ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง 50-60 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร อายุ 8 เดือน ก็เริ่มเก็บผลได้ มีน้ำหนักผล 350-500 กรัม เนื้อสีส้มหนา 1.8 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อไม่เละและมีรสหวาน กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ในระยะเวลา 18 เดือน จะให้ผลผลิตต้นละ 30-40 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง การตลาดยังไม่ค่อยแพร่หลาย แต่ความต้องการของตลาดต่างประเทศสูง
5 มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุที่ได้รับความนิยมในอดีต แต่เนื่องจากอ่อนแอต่อโรคจุดวงแหวน ได้ถูกการพัฒนาไปผสมข้ามพันธุ์กับต่างประเทศจนเกิดเป็นพันธุ์แขกดำท่าพระ เป็นมะละกอ GMO ทำให้เกิดปัญหาขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในข้อมูลทำให้การบริโภคพันธุ์นี้มีน้อยลง เนื้อสุกสีแดงส้มแต่เนื้อเละ มีกลิ่นค่อนข้างรุนแรง
ทำให้ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ปลูกสักเท่าไร
ปลูกมะละกอทานสุกกันเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้มะละกอดิบขาดตลาด ซึ่งการบริโภคมะละกอดิบนั้นมีทุกวัน ทุกครัวเรือน เพราะถือว่าเป็นอาหารประจำชาติ จนทุกวันนี้ราคาขายของมะละกอดิบที่ชาวบ้านต้องซื้อกันถึง กิโลกรัมละ 15 บาท ยังหาไม่ค่อยจะ ดังนั้น บริษัท โปร- กรุ๊บ คอนซูเมอร์ โปรดักส์ จำกัด จึงได้ทำการวิจัยและหาข้อมูลเพื่อหาพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสามารถลืมตาอ้าปากได้จึงส่งเสริมการปลูกมะละกอทานดิบ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน ความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง จึงอยากจะแนะนำมะละกอทานดิบให้แก่สมาชิกได้พิจรณาดังนี้
มะละกอทานดิบ
1.มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นมะละกอไทยเพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะเป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคามสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำสำหรับส้มตำโดยเฉพาะ ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนิองของมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวาน เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยว ปัจจุบันมีความต้องการในตลาดสูงแต่จากการสังเกตุลักษณะของการออกดอกและติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้คือในช่วงเดือนที่ 9 หลังปลูกลงดินผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวทำให้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ต่อเนื่อง
2.มะละกอพันธุ์แขกนวลดำเนิน เป็นมะละกอที่ในวงการส้มตำถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำส้มตำได้อร่อยที่สุดเนื่องจากมีความกรอบและหวานกว่ามะละกอที่ทำส้มตำทุกพันธุ์ ทำให้ราคาในตลาดสำหรับมะละกอพันธุ์นี้พุ่งไปถึงกิโลกรัมละ 15-18 บาทในปัจจุบัน ราคาที่พ่อค้าเข้าไปซื้อถึงสวน ณ ปัจจุบันให้ราคาถึงกิโลกรัมละ 5 บาทสำหรับมะละกอดิบแล้วถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งลักษณะเด่นของมะละกอแขกนวล ดำเนิน นั้นเป็นมะละกอทานดิบหรือมะละกอส้มตำให้ผลผลิตในรุ่นแรกที่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ซึ่งผลผลิตที่ได้ในเบื้องต้นประมาณต้นละ 20-30กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือนโดยจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนละ 2-3 ครั้ง และสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถ้าการดูแลการจัดการเรื่องธาตุอาหารดีจะไม่ทำให้เกิดอาการขาดคอรวงสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถึง 2 ปี นับว่าเป็นมะละกอที่จัดได้ว่าเป็นที่พืชเศรฐกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คุ้มค่าต่อการลงทุน อีกทั้งตลาดยังมีความต้องการสูง เฉลี่ยต่อต้นแล้วผลผลิตที่ได้เท่ากับต้นละ200-300กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ถ้า 1 ไร่ปลูกระยะห่าง 2x2 เมตร 1ไร่ปลูก 400 ต้นจะได้ผลผลิตเฉลี่ย8-10ตันต่อไร่ต่อปี ถ้าราคาตลาดรับซื้อที่กิโลกรัมละ 4 บาท จะได้รายได้โดยประมาณ320,000-400,000 บาทต่อไร่ ซึ่งการเก็บมะละกอพันธุ์นี้ จะเก็บตอนน้ำหนักประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัมซึ่งถือว่าเป็นมะละกอที่ยังอ่อนมากทำให้การเข้าทำลายของโรคจุดวงแหวนน้อยลง จึงถือว่าเป็นมะละกอที่เกษตรกรน่าจะหันมาทดลองปลูกดู ซึ่งการปลูกสามารถทำได้ดังนี้
ดำเนินการปลูกมะละกอแขกนวล ดำเนิน นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
อ่านรายละเอียด http://www.thaigoodview.com/node/159116
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ