การปลูก

รูปภาพโดย : 1. ด.ญ.รัญชิดา เฉยนาค 2. ด.ญ.เขมจิรา มีดี
การปลูกจามจุรีที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อผลทางการเศรษฐกิจจึงเป็นไปเพื่อการเลี้ยงครั่งเป็นหลัก ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เนื้อไม้ พืชอาหารสัตว์ จึงเป็นผลพลอยได้ และการปลูกสวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั่ง นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การเตรียมพื้นที่และการเพาะปลูก เนื่องจากจามจุรีเป็นไม้โตเร็วต่างประเทศ ซึ่งปลูกง่ายและขยายพันธุ์ได้เร็ว เป็นไม้ที่ไม่เลือกชนิดของดิน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบสูงตั้งแต่ริมทะเลไปจนถึงที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 – 400 เมตร จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ในขั้นตอนของการเตรียมพื้นที่ปลูกจะเหมือนๆ กับการปลูกสร้างสวนป่าอื่นๆ คือ การเก็บเผา และ ไถดะเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูก หลังจากที่ได้มีการนำเมล็ดไปเพาะแล้ว อาจนำไปปลูกได้เลยหรือ ใช้เมล็ดหยอดหลุม โดยขุดหลุมกว้างและลึก 30 เวนติเมตร แต่การย้ายกล้าปลูกจะมีอัตราการรอดตายสูงกว่า ระยะในการปลูก 4 x 4 เมตร และ 4 x 6 เมตร หรือ 4 x 8 เมตร แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่มีเรือนพุ่มขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงต้องตัดสางออก ในระหว่างการปลูกช่วงแรก โดยให้มีระยะการปลูก 10 x 10 เมตร ดังนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ จะมีจามจุรี 16 ต้น แต่หากความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวจะน้อยกว่า 10 เมตร ก็ได้
2. การบำรุงรักษา ภายหลังการปลูกแล้วต้องมีการบำรุงรักษาให้ต้นไม้รอดตาย โดยมีการปลูกซ่อมในภายหลังโดยจะต้องทำการป้องกันไฟ โดยทำแนวกันไฟรอบบริเวณแปลงปลูกต้นไม้และมีการแผ้วถางวัชพืชอย่างน้อยปีละ 2 – 3 ครั้ง ในขณะที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่หากจะมีการดายหญ้าพรวนดินใส่ปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี ใส่ปีละ 1 – 2 ครั้ง ก็เพียงพอจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตและแข็งแรงดี
3. การตัดแต่งกิ่ง โดยเหตุที่ลูกครั่งชอบอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากกิ่งไม้ของต้นไม้ที่อวบอ่อน ลูกครั่งไม่สามารถดูดน้ำเลี้ยงเป็นอาหารจากกิ่งไม้แก่ๆ เพราะเปลือกไม้แข็งทำให้ลูกครั่งซึ่งมีปากเป้นงวง (probosis) ไม่สามารถชอนไชลงไปในเปลือกจนดูดเอาน้ำเลี้ยงมาเป็นอาหารได้ ต้นไม้ที่มิได้ตัดตกแต่งไว้เลยอาจใช้เพาะเลี้ยงครั่งได้ โดยลูกครั่งจะเลือกเกาะทำรังอยู่ในส่วนของกิ่งเฉพาะตรงที่เหมาะสมเท่านั้น หรือเฉพาะกิ่งที่มีอายุไม่แก่จนเปลือกแข็ง แต่ผลผลิตครั่งที่ได้ไม้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการตกแต่งกิ่งก่อนการปล่อยครั่งจึงมีความจำเป็น การตัดแต่งกิ่งต้องรักษารูปทรงของเรือนยอดไว้ และมีที่ว่างสำหรับกิ่งที่งอกใหม่ให้เจริญเติบโตได้ดีและต้นไม้ที่จะตัดแต่งกิ่งต้องสมบูรณ์แข็งแรง การตัดแต่งกิ่งเพื่อเก็บครั่งจงอย่าถือความสะดวกเป็นสำคัญ คือถ้ากิ่งใดมีครั่งจับอยู่จนถึงโคนหรือติดลำต้นอย่าตัดให้ชิดลำต้น ขนาดของกิ่งที่เหมาะสมที่จะตัดแต่งกิ่งนั้นมีขนาด 3/4 -1 นิ้ว ตามเส้นผ่าศูนย์กลางโดยตัดให้เหลือต่อไว้ยาวไม่เกิน 18 นิ้ว กิ่งที่แห้งตายหรือตายเป็นโรคตัดทิ้งออกให้หมด กิ่งที่มีรอยแตกร้าวหรือกิ่งหักให้ตัดรอยแตกหรือรอยหัก แต่หากต้นไม้ที่ปลูกมีขนาดอายุของกิ่งอวบอ่อนพอจะเลี้ยงครั่งได้ ก่อนปล่อยครั่งเพียงแต่ตัดสางกิ่งแห้งหรือกิ่งที่เป็นโรคไม่สมบูรณ์ออกให้หมดเท่านั้น ก็พอที่จะปล่อยครั่งได้ แต่ปริมาณผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรเพราะอายุของกิ่งไม่เท่านั้น ครั่งจะเลือกจับเฉพาะกิ่งที่เหมาะสมเท่านั้น
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
อ่านรายละเอียด http://www.thaigoodview.com/node/159116
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ