ลักษณะ

ลักษณะของต้นจามจุรี
รูปภาพโดย : 1. ด.ญ.รัญชิดา เฉยนาค 2. ด.ญ.เขมจิรา มีดี
จามจุรีเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู
มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวาน ซึ่งต้นจามจุรี ยังมีชื่ออื่นอีก
คือ “ก้ามปู” และ “ฉำฉา” จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป
สามรถพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่างๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด
(Mr. H. Slade.)
อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2443 ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ
อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้ที่โตเร็วเรือน ยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี
ทางภาคเหนือนิยมปลูกไว้เลี้ยงครั่ง
ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2-10 คู่/หนึ่งใบ
ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยเป็นรูปขนมเปียกปูนแต่เบี้ยว
ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย
ที่มารูปภาพ : http://upic.me/i/rz/biodiversity-122556-1.jpg
ดอก เป็นช่อดอกทรงกลม
แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเล็กมาก
ในแต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก
ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้
ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
ผล เป็นฝักแบน เมื่อแก่ก็จะไม่แตก
ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 12 -20 เซนติเมตร
ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ด 15-25 เมล็ด
เมล็ดจะมีสีน้ำตาลดำยาว 0.5-0.8 เซนติเมตร
ฝักจะแก่ในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ