งานครั้งที่ 1

ความเป็นมาและประวัติของหุ่นยนต์
ในสมัยก่อนหุ่นยนต์เป็นเพียงแค่จินตนาการของมนุษย์ ที่ต้องการอยากจะนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระ ผ่อนงานของตนหรือช่วยในการปฏิบัติงานที่ยากเกินความสามารถของตน จินตนาการนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์คิดค้นและประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้
ในปี ค.ศ.1940-1950 Grey Walter ได้สร้างหุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า Alise the Tortoise ซึ่งเป็นหุ่นยนต์รูปเต่าสร้างจากมอเตอร์ไฟฟ้านำมาประกอบเป็นเครื่องจักร สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยล้อทั้ง 3 ซึ่งนอกเหนือจากหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปมาด้วยล้อแล้ว ในปี ค.ศ. 1960 หุ่นยนต์ที่ชื่อ General Electric Walking Truck ที่สามารถเดินได้ด้วยขาก็ถือกำเนิดขึ้น มีขนาดโครงสร้างใหญ่โตและหนักถึง 3,000 ปอนด์ สามารถก้าวเดินไปด้านหน้าด้วยขาทั้ง 4 ข้างด้วยความเร็ว 4 ไมล์/ชั่วโมงโดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการเคลื่อไหวของขา General Electric Walk Truck ได้รับการพัฒนาโครงสร้างและศักยภาพโดยวิศวกรประจำบริษัท General Electric ชื่อ Ralph Moser
ชนิดและประเภทของหุ่นยนต์
1.การแบ่งประเภทตามการเคลื่อนที่ได้ จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.1 หุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ จะสามารถเคลื่อนไหวไปมาแต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หุ่นยนต์ในประเภทนี้ได้แก่ แขนกลของหุ่นยนต์ที่ใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีลักษณะโครงสร้างที่ใหญ่โต และมีน้ำหนักมาก ใช้พลังงานให้สามารถเคลื่อนไหวได้จากแหล่งจ่ายพลังงานภายนอก และจะมีการกำหนดขอบเขตการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์เอาไว้ ทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อไหวไปมาได้ในเฉพาะที่ที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น
1.2 หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ คือ หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองที่หนึ่งไปยังอีกที่ได้อย่างอิสระ หรือมีการเคลื่อนที่ไปมาในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้นี้ ถูกออกแบบลักษณะของโครงสร้างให้มีขนาดเล็กและมีระบบเคลื่อนที่ไปมา รวมทั้งมีแหล่งจ่ายพลังสำรองภายในร่างกายของตนเอง แตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ ซึ่งจะต้องมีแหล่งจ่ายพลังงานอยู่ภายนอก
2.การแบ่งประเภทตามลักษณะรูปร่างภายนอก
โดยทั่วไป หุ่นยนต์ยังถูกจำแนกตามลักษณะรูปลักษณ์ภายนอก และมีคำศัพท์เฉพาะเรียกต่างๆกันไป ได้แก่
2.1หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid Robot) เป็นลักษณะหุ่นยนต์ที่เหมือนกับมนุษย์
2.2แอนดรอยด์ (Android) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่สามารถแสดงออกเหมือนมนุษย์ แม้ว่ารากศัพท์ภาษากรีกของคำนี้หมายถึงเพศชาย แต่การใช้ในบริบทภาษาอังกฤษมักไม่ได้มีความหมายเจาะจงว่าเป็นเพศใด
2.3จีนอยด์ (Gynoid) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์เพศหญิง
2.4แอ็คทรอยด์ (Actriod) เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ เช่น กะพริบตา หายใจ เริ่มพัฒนาโดย มหาวิทยาลัยโอซาก้าและบริษัทโคโคโระ
2.5ไซบอร์ก (Cyborg) เป็นหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับสิ่งมีชีวิต หรือ ครื่งคนครึ่งหุ่น เริ่มปรากฏครั้งแรกในเรื่องแต่งปี 1960
2.6นาโนโรบอท (Nanorobot) เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ 0.5-3 ไมครอน
การทำงานของหุ่นยนต์
การทำงานของหุ่นยนต์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1.ส่วนระบบพลังงาน การให้พลังงานกับหุ่นยนต์ เราสามารถนำพลังงานหลายๆรูปแบบมาใช้ เช่น พลังงานไฟฟ้า และสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นๆได้ เช่น เปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล เปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานแสง เปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง และเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
2.ส่วนระบบจักรกล หุ่นยนต์แต่ละยุคแต่ละรุ่นจะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งมีการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์และสัตว์ต่างๆ แต่มนุษย์และสัตว์แต่ละชนิดมีการเคลื่อนที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่จะทำให้การเคลื่อนไหวของสัตว์ต่างๆอยู่ในหุ่นยนต์ตัวเดียวถือเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการออกแบบกลไกต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวนั้นๆไป
3.ส่วนของระบบควบคุม ระบบนี้จะทำหน้าที่สั่งงานกลไกต่างๆให้เคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งได้ ระบบควบคุมจะแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนประมวลผล ส่วนหน่วยความจำ และส่วนของความคิด
บทบาทและประโยชน์ของหุ่นยนต์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในอดีต ปัจจุบัน และ ในอนาคต
1.บทบาทในด้านการแพทย์
2.บทบาทในงานวิจัย
3.บทบาทในงานอุตสาหกรรม
4.บทบาทในด้านความมั่นคง
5.บทบาทในด้านบันเทิง
6.บทบาทในงานครัวเรือน
หุ่นยนต์ที่นักเรียนต้องการให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต (เล่าถึง รูปลักษณะของหุ่นยนต์ การทำงาน ประโยชน์ และวาดรูป แล้ว scan นำมาลงใน blog ของตน)
หุ่นยนต์ที่ผมอยากให้เกิดขึ้นในอนาคต คือ หุ่นยนต์เจ้าแห่งการเดินทาง จะมีระบบอยู่ทั้งหมด 4 ระบบ คือ รถยนต์(ขับเคลื่อนด้วยล้อทั้ง 4) เครื่องบิน (ขับเคลื่อนด้วยเครื่องไอพ่น) เรือ (ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ปกติ) และรถไฟ (ขับเคลื่อนด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้า) จะมีประโยชน์ในการเลือกวิธีการเดินทางที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ และหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมันก็ได้
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ
หุ่นยนต์เจ็งมาก
หุ่นที่วาดเองสวยจ้า ^^
เนื้อหาแน่นดีมาก
เนื้อหาอ่านเเล้วเข้าใจ ดีมากค่ะ รูปหุ่นยนต์น่ารักมาก
It's a good work but the letters are very big. รถอีกล่ะ
เนื้อหาอ่านง่ายและก็หุ่นยนย์เจ๋ง
หุ่นยนต์ที่ออกแบบสวยดี
หุ่นยนต์เจ๋งดี ^ ^
ดีจ้าาา:))
ดีนะเราชอบ
หุ่นยนต์ที่ออกแบบเองอะเจ๋งอะ