หุ่นยนต์

หุ่นยนต์อาซิโม่
3.1 ความเป็นมาและประวัติของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์มาจากคำว่า “โรบอต” (robot หรือ robota) ในภาษาเช็ก ซึ่งแปลว่า ทาส หรือผู้ถูกบังคับใช้แรงงาน
โดยใน พ.ศ. ๒๔๖๔ คาเรล คาเปก (Karel Capek) นักประพันธ์ชาวเช็ก ได้ประพันธ์ละครเวทีเรื่อง “อาร์.ยู.อาร์.”
(Rossum’s Universal Robots: R.U.R.) มีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษย์ต้องการทาสรับใช้ จึงสร้างหุ่นยนต์มาช่วยทำงาน
ต่อมาหุ่นยนต์ได้พัฒนาตัวเองให้มีความฉลาดมากขึ้น จึงเกิดความคิดต่อต้านมนุษย์และไม่ยอมให้กดขี่ข่มเหงอีกต่อไป
ละครเรื่องนี้โด่งดังมาก จนทำให้คำว่า “โรบอต” เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
อ้างอิง http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=36&chap=6&page...
3.2 ชนิดและประเภทของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์สามารถจำแนกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการใช้งาน คือ
๑. หุ่นยนต์ชนิดติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้มีลักษณะเป็นแขนกล ซึ่งสามารถขยับ
และเคลื่อนไหวได้เฉพาะข้อต่อ นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
๒. หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้สามารถเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเอง
โดยการใช้ล้อ ขา หรือการขับเคลื่อนในรูปแบบอื่นๆ
การแบ่งประเภทตามลักษณะรูปร่างภายนอก
โดยทั่วไป หุ่นยนต์ยังถูกจำแนกตามลักษณะรูปลักษณ์ภายนอก และมีคำศัพท์เฉพาะเรียกต่างๆกันไป ได้แก่
1 หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid Robot) เป็นลักษณหุ่นยนต์ที่เหมือนกับมนุษย์
2 แอนดรอยด์ (Android) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่สามารถแสดงออกเหมือนมนุษย์ แม้ว่ารากศัพท์ภาษากรีกของคำนี้
หมายถึงเพศชาย แต่การใช้ในบริบทภาษาอังกฤษมักไม่ได้มีความหมายเจาะจงว่าเป็นเพศใด
3 จีนอยด์ (Gynoid) เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์เพศหญิง
4 แอ็คทรอยด์ (Actriod) เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ เช่น กะพริบตา หายใจ เริ่มพัฒนาโดย
มหาวิทยาลัยโอซาก้าและบริษัทโคโคโระ
5 ไซบอร์ก (Cyborg) เป็นหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับสิ่งมีชีวิต หรือ ครื่งคนครึ่งหุ่น เริ่มปรากฏครั้งแรกในเรื่องแต่งปี 1960
6 นาโนโรบอท (Nanorobot) เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ 0.5-3 ไมครอน
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%
B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C
3.3 การทำงานของหุ่นยนตร์
หลักการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมประกอบด้วย ๒ ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบทางกลของหุ่นยนต์
และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ระบบทางกล หมายถึง ส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนที่ให้กำลังขับเคลื่อนหุ่นยนต์
ส่วน ระบบควบคุม ประกอบด้วย ระบบบังคับการทำงานหุ่นยนต์ ระบบป้อนข้อมูลกลับ
ตลอดจนการสอนหุ่นยนต์ให้ทำงานตามชุดคำสั่ง
ระบบทางกลของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ระบบทางกลของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่สำคัญมี ๓ ประการ คือ ลักษณะโครงสร้างของหุ่นยนต์
อุปกรณ์ให้ กำลังขับเคลื่อนหุ่นยนต์ และมือหุ่นยนต์
ลักษณะโครงสร้างของหุ่นยนต์
เนื่องจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้รับการออกแบบสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แทนคน ดังนั้น ลักษณะการออกแบบ
จึงมักจะเป็นส่วนบนของลำตัวมนุษย์ ประกอบด้วยหัวไหล่ แขน และมือ โดยปกติแล้ว มักออกแบบเป็นแขนเดียว
ในบางแบบได้ออกแบบให้แขนเคลื่อนที่อยู่บนทางเลื่อนได้
3.4 บทบาทและประโยชน์ของหุ่นยนต์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในอดีต ปัจจุบัน และ ในอนาคต
ด้านการทหาร
การที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานการทหาร หรือการรักษา
ความสงบเรียบร้อย ในปัจจุบันนี้หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาในงานด้านการทหารนั้นมีมากมายและสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในด้านการช่วยเหลือ ด้านการตรวจจับวัตถุระเบิด
ด้านการบันเทิง
มีหุ่นยนต์จากหลายบริษัทที่พัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่สำหรับให้ความบันเทิงแก่ผู้คนทั่วไป
หุ่นยนต์ดังกล่าวอาจจะเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งอาจนะควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล หรือ มีการเขียน
โปรแกรมเข้าไปเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงาน หรือ แสดงท่าทางได้อย่างที่ต้องการ นอกจากนี้หุ่นยนต์
จำพวกนี้ราคาจะไม่แพงจนเกินไปซึ่งสามารถซื้อมาเล่นได้ และเราจะได้เห็นหุ่นยนต์แบบนี้มากขึ้นใน
อนาคต
ด้านอุตสาหกรรม
ในโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันได้มีการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้เป็นจำนวนมากเพราะ
หุ่นยนต์พวกนี้สามารถทำงานได้เร็ว และทำงานได้อย่างต่อเนื่องนั้นเอง และโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศ
ญี่ปุ่นบางโรงงานมีพนักงานเป็นหุ่นยนต์อย่างเดียว
3.5 หุ่นยนต์ที่นักเรียนต้องการให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ
ดีๆ