ความรู้คู่ความดี

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ของมนุษย์ในระยะแรก จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่
สลับซับซ้อน แต่เมื่อเริ่มพัฒนาทางด้านความคิดจึงได้มีการคิดและรู้จักสร้างเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขึ้นใช้ จนถึงปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยในการศึกษาและจัดเก็บข้อมูล เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ ดาวเทียม เป็นต้น
1.แผนที่ (MAP)
แผนที่ เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เพราะแผนที่คือการจำลองและย่อส่วนพื้นผิวโลกที่โค้งกลมลงบนพื้นผิวที่แบนราบตามที่ต้องการ คล้ายกับมองผิวโลกลงมาจากที่สูงโดยใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น ประกอบด้วยแผนที่ 3 ชนิดดังต่อไปนี้
1.1แผนที่ภูมิประเทศ ( topographic map) เป็นแผนที่แสดงความสูงต่ำของผิวโลกจากระดับทะเลปานกลาง ทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินและพื้นน้ำ ซึ่งอาจแสดงด้วยเส้นชั้นความสูง เงา หรือแถบสี
ก็ได้ แผนที่ภูมิประเทศ ที่ใช้ส่วนมากมี 2 มาตราส่วนคือมาตราส่วนเล็ก 1: 250,000และมาตราส่วนใหญ่1: 50,000 ซึ่งทั้ง 2 มาตราส่วนใช้เป็นแผนที่ต้นร่างหรือใช้ปรับแก้ไขข้อมูลจากดาวเทียมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีจุดพิกัดอ้างอิงได้
1.2แผนที่เฉพาะแบบหรือเฉพาะเรื่อง ( thamatic map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดง
ข้อมูลหลักอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาจจะซ้อนอยู่บนแผนที่พื้นฐาน เช่นแผนที่ท่องเที่ยว แผนที่เส้นทางประเทศไทย แผนที่การเมือง หรือแผนที่รัฐกิจ แผนที่แสดงเขตภูมิอากาศ แผนที่ดิน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ธรณีวิทยาและแหล่งแร่ เป็นต้น
1.3 แผนที่เล่ม (Atlas) เป็นการรวมแผนที่หลายฉบับไว้ในเล่มเดียวกันและอาจมีแผนภูมิ
รูปภาพ สถิติและตารางที่เกี่ยวข้องกับแผนที่นั้นประกอบด้วยก็ได้
2.ลูกโลกจำลอง
ลูกโลกจำลองเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลก แสดงที่ตั้ง อาณาเขตพรมแดนของประเทศต่างๆ เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี ซึ่งแสดงสิ่งต่อไปนี้
2.1รูปทรงของโลก
โลกมีรูปทรงกลมคล้ายลูกฟุตบอลหรือบาสเกตบอล เนื่องจากโลกอยู่ห่างจาก
ดวงอาทิตย์ 147- 152 ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร ยาว 12,756 กิโลเมตรและมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว 12,714 กิโลเมตร จึงเห็นได้ว่ารูปทรงของโลกไม่เป็น
ทรงกลมอย่างแท้จริง แต่จะมีลักษณะแบนเล็กน้อย ทางด้านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ บนผิวโลกจะมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ได้แก่มหาสมุทรต่างๆ มีเนื้อที่รวมกัน 227 ล้านตารางกิโลเมตร และส่วนที่เป็นแผ่นดิน ได้แก่ทวีปและเกาะต่างๆ มีเนื้อที่รวมกัน 90 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว โลกจะมีเนื้อที่รวมกัน 317 ล้านตารางกิโลเมตร โดยคิดสัดส่วนพื้นน้ำเป็น 2 ใน 3 ส่วนและส่วนที่เป็นแผ่นดิน 1 ใน 3ส่วน
2.2องค์ประกอบของลูกโลกจำลอง
ลูกโลกจำลองมีหลายแบบตามวัตถุประสงค์ของการแสดง ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
1) แสดงลักษณะผิวโลก โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจนคือส่วนที่เป็นพื้นน้ำ
ซึ่งได้แก่น้ำทะเลเป็นส่วนใหญ่ จะแสดงด้วยสีน้ำเงินอ่อน และส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งได้แก่ทวีปและเกาะ
2) ส่วนที่เป็นแผ่นดิน จะแสดงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่แสดง
ลักษณะภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ เขตประเทศ หรือชื่อเมืองหลวง เป็นต้น
3. รีโมทเซนซิ่ง ( remote sensing )
รีโมทเซนซิ่ง หมายถึงการรับสัญญาณภาพหรือสัญญาณข้อมูลตัวเลขที่เกิดขึ้นจากวัตถุหรือพื้นที่โดยที่ไม่ได้สัมผัสกับวัตถุหรือพื้นที่นั้น เช่นการถ่ายรูปด้วยกล้องขนาด 35 มิลลิเมตรชนิดฟิล์มหรือแผ่นดิจิตอล รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากข้อมูลดาวเทียมซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1รูปถ่ายทางอากาศ ( Aerial photograph )
รูปถ่ายทางอากาศคือรูปที่ได้จากการถ่ายด้วยกล้องถ่ายรูปที่ติดตั้งบนเครื่องบิน เพื่อใช้ในการทำแผนที่หรือสำรวจสิ่งใดสิ่งหนึ่งบนผิวโลก ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
รูปถ่ายทางอากาศ มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนทางภูมิศาสตร์ การศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ เมืองและหมู่บ้าน โรงงานอุตสาหกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ อีกมาก เช่น
1)การสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศ
2)การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3)การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตร การใช้ที่ดิน
4)การวางผังเมืองและชุมชน
5) การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพ
6) การสำรวจแหล่งโบราณคดี
7)การคมนาคมทางบก ทางน้ำ การทหาร
3.2ข้อมูลจากดาวเทียม หรือภาพจากดาวเทียม (satellite image )
ภาพจากดาวเทียม คือการบันทึกภาพด้วยกระบวนการ รีโมทเซนซิ่งจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งเป็นการบันทึกข้อมูลระยะไกล โดยมีสถานีรับภาคพื้นดินทำหน้าที่แปลภาพและข้อมูลเหล่านั้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา ทรัพยากรน้ำ การประมง การป่าไม้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นต้น
ลักษณะที่สำคัญของภาพจากดาวเทียม
1.ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันสมัย
2.เป็นข้อมูลตัวเลข ซึ่งต้องนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ได้โดยตรง
3.ประหยัดงบประมาณ การสำรวจข้อมูลภาคพื้นดินหรือภาพถ่ายทางอากาศในพื้นที่ขนาดใหญ่เสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับภาพจากดาวเทียม
4.ไม่จำกัดพื้นที่ เนื่องจากดาวเทียมโคจรอยู่ในอากาศ การค้นหาและบันทึกข้อมูลจึงไม่มีข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศและขอบเขตทางด้านการปกครอง
ดาวเทียมที่ควรรู้จัก
1.ดาวเทียมแลนด์แซต (Landsat ) เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลก เดิมชื่อ เอิร์ต (ERTS =Earth Resource Technology Satellite - ดาวเทียมเทคโนโลยีทรัพยากรโลก ) โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (Nasa ) ได้ส่งขึ้นโคจรรอบโลกเมื่อ พ.ศ 2515 ในระดับความสูงประมาณ 917 กิโลเมตร และได้ส่งเพิ่มขึ้นไปอีก 6 ดวง ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่ในอวกาศ เพียงดวงเดียวคือ ดาวเทียมแลนด์แซต (Landsat -7 ) เป็นดาวเทียมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการสำรวจภูมิภาคต่างๆบนพื้นโลก โดยการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร การจัดการเรื่องดินและป่าไม้ การกำหนดตำแหน่งของทรัพยากรด้านพลังงาน และแร่ธาตุ การประเมินความหนาแน่นของประชากรในเมืองต่างๆทั่วโลก
ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการกับองค์การนาซาด้วย เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาประเทศโดยเน้นทางด้านป่าไม้ การใช้ที่ดิน ธรณีวิทยา อุทกวิทยา และสิ่งแวดล้อม
จัดทำโดยครูสรัสนันยา โพนสนิท โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ จังหวัดนครนายก
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ