ประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านแม่อมลอง สำนักงานเขตพื้น
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านแม่อมลอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
ผู้ประเมิน นายสัญญา ศรีบุญเรือง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่อมลอง
ระยะเวลาดำเนินการ 16 พฤษภาคม 2556 – 31 มีนาคม 2557
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านแม่อมลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ในปีการศึกษา 2556 โดยใช้การประเมินตามรูปแบบ จำลองซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) 4 ด้าน คือ
ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า โดยสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน
และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 110 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินปรากฏดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ
ผลการวิเคราะห์การให้สัมภาษณ์ของครูสายผู้สอน และกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ สรุปได้ว่า โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ที่โรงเรียนดำเนินการสอดคล้องกับนโยบาย
ของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ในยุทธศาสตร์ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Moral and Ethics) วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการมีความชัดเจน เหมาะสม ครอบคลุม สอดคล้องกับนโยบาย
ของโรงเรียน หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน นอกจากนั้น
ยังสอดคล้องกับสภาพความต้องการในการพัฒนาของนักเรียน ความต้องการของผู้ปกครอง
และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนมีความสอดคล้องกับสภาพชุมชน ระยะเวลา
ในการดำเนินโครงการ และกิจกรรมมีความเหมาะสม ชุมชนมีความพร้อมและยินดี
ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม โรงเรียนมีการจัดทำแผนงานโครงการไว้ล่วงหน้า
การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและผู้รับผิดชอบในส่วนภาระงานต่าง ๆ ในแผนงานโครงการกำหนดชัดเจนดี
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ
ผลการวิเคราะห์การให้สัมภาษณ์ของครูสายผู้สอน และกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ สรุปได้ว่า โรงเรียน
จัดทำโครงการ ไว้ในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนชัดเจน และต่อเนื่องทุกปี ผู้บริหารโรงเรียนประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ และออกคำสั่งแต่งตั้งผู้มีส่วนรับผิดชอบโครงการและกิจกรรม
มีการจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานที่ชัดเจน สามารถดำเนินโครงการได้อย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนทุกกิจกรรมโดยได้จัดสรรงบประมาณ
ในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมของโครงการที่โรงเรียนจัดขึ้น ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ทั้งด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดทั้งแรงงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี กิจกรรมและวิธีดำเนินงานของโครงการมีความเหมาะสมในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนได้ตามวัตถุประสงค์
และเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ
ผลการวิเคราะห์การให้สัมภาษณ์ของครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า การวางแผนดำเนินโครงการ โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
ในการพัฒนาของโครงการ กำหนดกิจกรรมการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการ
ของโรงเรียน ชุมชนและเหมาะสมกับวัยของนักเรียน โรงเรียนได้กำหนดบทบาทหน้าที่
ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ ส่วนการวางระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของการดำเนินโครงการยังไม่มีการกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน การดำเนินงาน
ตามโครงการ โรงเรียนได้กำหนดให้ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน
ไว้อย่างชัดเจน การดำเนินงานโครงการเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด ผู้บริหารโรงเรียน
ให้ความสำคัญกับการกำกับ ติดตาม และสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ โรงเรียนมีการประเมินผลการดำเนินโครงการโดยให้คณะครู นักเรียน และชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมิน
มีการสรุปผล จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 มีการวิเคราะห์ข้อมูล สารสนเทศที่ได้จากการประเมินโครงการ เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนากิจกรรม โครงการอย่างต่อเนื่อง
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ
ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประเมินจากระดับการปฏิบัติ
ตามคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ และความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ต่อโครงการ สรุปได้ดังนี้
4.1 การประเมินผลผลิตของโครงการจากระดับการปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่อมลอง ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
ที่พึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และด้านความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในระดับมาก 6 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความมีวินัย ด้านความเมตตา ด้านความรับผิดชอบ ด้านค่านิยมความเป็นไทย ด้านความกตัญญู และด้านความประหยัดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
4.2 การประเมินผลผลิตของโครงการ จากระดับความพึงพอใจของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน
บ้านดงโทน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ กิจกรรมสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
ที่พึงประสงค์ที่โรงเรียนจัดขึ้นโดยภาพรวม ประโยชน์ที่ได้จากการร่วมโครงการ และการมี
ส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการร่วมโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การเสริมแรงให้กำลังใจของผู้บริหาร