วันพืชมงคล

วันพืชมงคล
ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
วันพืชมงคล หมายถึง วันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ เพื่อเป็นศิริมงคลแด่พืชพันธ์ธัญญาหาร บำรุงขวัญเกษตรกรและเตือนให้เริ่มเพาะปลูกข้าวและพืชไร่อันเป็นธัญญาหารหลักในการดำรงชีวิตของชาวไทย
วันพืชมงคล เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีนี้กระทำที่ท้องสนามหลวง
ทางราชการกำหนดให้วันพืชมงคลเป็นวันเกษตรกร และกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ยกเว้นธนาคารและบริษัทเอกชนบางแห่งไม่หยุดทำการ วันพืชมงคลจะไม่ตรงกับวันเดิมตามสุริยคติหรือจันทรคติของทุกปี แต่สำนักพระราชวังจะเป็นผู้ประกาศวันพืชมงคล ให้เป็นวันใดวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม แล้วแต่ในแต่ละปี
ประวัติความเป็นมา
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แต่จะมีแต่เพียงพิธีทางพราหมณ์เท่านั้น ใช้ชื่อว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา ซี่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นเพียง องค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ต่อมา
จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงคือ พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จเป็นองค์ประธาน แต่จะ มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำแทนพระองค์ ส่วนพระองค์นั้นจะทรงจำศีลเงียบ3วัน และได้ถือปฏิบัติเรื่อยมา
ในครั้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพิธีนี้ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)ได้ทรงเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมบางอย่าง กล่าวคือ ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ให้ถือว่าผู้ใดเป็นผู้ที่ยืนชิงช้าให้ถือครองตำแหน่งพระยาแรกนาอีกอย่าง เมื่อถึงรัชกาลที่ 4(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึงเป็น 2 พระราชพิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีของสงฆ์ จะประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วน พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีของพราหมณ์ ในวันที่ 2 จัดขึ้น ณ ลานพระราชพิธี ท้องสนามหลวง โดยพระมหากษัตริย์ จะเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี โหรหลวงจะบูชาพระฤกษ์และลั่นฆ้องชัย ขบวนพระยาแรกนา ซึ่งประกอบด้วยพระยาแรกนา (ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เทพีคู่หาบทอง คู่หาบเงิน รวม 4คน (ปัจจุบัน ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขื้นไป และเป็นสตรีโสดสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ราชบัณฑิตเชิญเต้าเทวบิฐบรรจุน้ำ พระพุทธมนต์1 ท่าน พราหมณ์เป่าสังข์ 2 ท่าน พราหมณ์เชิญพระโคอุศุภราช 1 ท่าน พราหมณ์ถือกรรชิง (เครื่องสูงสำหรับกันแดด มีลักษณะฉัตร) หน้า2 ท่าน หลัง2 ท่าน และพระโค 1 คู่ โดยก่อนเริ่มเคลื่อนขบวนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระยาแรกนาขวัญจุดธูปเทียน ถวายสักการะเทวรูปสำคัญแล้วจะได้ตั้งสัตยาอธิษฐาน หยิบผ้านุ่งแต่งกาย นุ่งผืนนั้นทับผ้านุ่งเดิมอีกชั้นหนึ่ง นุ่งอย่างบ่าวขุนเตรียมออกแรกนา ในการหยิบผ้านุ่ง ก็จะมีการทำนายผลตามที่พระยาแรกนาขวัญหยิบ คือ