สร้างโดย : นางสาวสุพิรญาณ์ ตั้งกมลเลิศ และนางสาวศรีสวาสดิ์ บุนนาค
สร้างเมื่อ จันทร์, 12/07/2010 – 18:04

สวัสดีค่ะทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของเรา
บล็อกนี้สร้างขึ้นสำหรับผู้ที่มีความสนใจในหลักภาษา
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ท43101 ภาษาไทยหลัก
เนื้อหาในบล็อกนี้ จะกล่าวเกี่ยวกับ หลักภาษาทั้งหมด สำหรับผู้ที่สนใจ
เเละรักในภาษาไทย หรือ ต้องการที่จะหาความรู้เพิ่มเติม ก็สามารถเข้ามา
เยี่ยมชมที่เว็บไซด์ของเรา และหวังว่าเว็บไซด์นี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน
ได้ไม่มากก็น้อย และสามารถติชมกันได้นะคะ

ธรรมชาติของภาษา

        ธรรมชาติของภาษา ภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญต่อมนุษย์ เพราะเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เป็นหัวใจของการถ่ายทอดความรู้ ความเชื่อ คติธรรม และวัฒนธรรมของมนุษย์

ความหมายของภาษา

  1. ภาษาในความหมายอย่างกว้าง : ทุกอย่างที่สื่อความหมายได้ เช่น ยิ้ม เครื่องหมาย
  2. ภาษาในความหมายอย่างแคบ : ภาษา ” พูด ” เท่านั้น

ข้อสังเกต

  • เสียงกับความหมายไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน เช่น กิน Eat เจี๊ยะ
  • เสียงกับความหมายสัมพันธ์กันก็มี เช่น คำเลียนเสียงธรรมชาติ

3. ภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น
4. ภาษามีพันธกิจ = มีหน้าที่ + ประโยค

หน่วยในภาษา
        พยางค์—>คำ—>กลุ่มคำ(วลี)—>ประโยค(ต้องมีS+V)
ประโยคยาวได้ไม่จำกัด

ลักษณะทั่วไปหรือลักษณะสากลของภาษา
แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ

  1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย เช่น : – แม่ (ไทย), mother (อังกฤษ) ฯลฯ
  2. ภาษาประกอบด้วยหน่วยเล็กไปจนถึงหน่วยใหญ่ เช่น : – เสียง (สระ, พยัญชนะ, วรรณยุกต์) >>> พยางค์ >>> คำ ? กลุ่มคำ >>> ประโยค >>> เรื่องราว
  3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ :
    เปลี่ยนจากการพูดจาในชีวิตประจำวัน เช่น : – หมากม่วง >>> มะม่วง, สิบเอ็ด >>> สิบเบ็ด, นกจอก >>> นกกระจอก, โจน >>> กระโจน
    เปลี่ยนเนื่องจากอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ เช่น : – ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ได้แก่ ฟุตบอล คอมพิวเตอร์ เทคนิค ฯลฯ หรือการนำสำนวนภาษาต่างประเทศมาใช้ ได้แก่ สนใจใน … , เข้าใจใน … , ในความคิดของ ฉัน … , ทุกสิ่งทุกอย่าง … ฯลฯ
    เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม เช่น : – พูดตามสมัย ได้แก่ : – กิ๊ก ปิ๊ง ฯลฯ หรือเลียนเสียงเด็ก ได้แก่ : – ม่ายอาว (ไม่เอา), อาหย่อย (อร่อย) ฯลฯ

ประเภทของภาษา

  1. วัจนภาษา (วัจน แปลว่า วาจา ) คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำสำหรับใช้สื่อสารทั้งที่เป็นคำพูดหรือเป็นตัวหนังสือ
  2. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ
  3. อาการภาษา คือ ภาษาบอกอาการ
  4. วัตถุภาษา คือ ภาษาบอกวัตถุ
  5. กาลภาษา คือ ภาษาบอกเวลา
  6. เทศภาษา คือ ภาษาบอกสถานที่
  7. นัยนภาษา คือ ภาษาผ่านดวงตา

1. หลักภาษา

ภาษาบาลี สันสกฤต

การสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาบาลี

  1. ภาษาบาลีสระ 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ โอ โอะ เอ
  2. ภาษาบาลีมีพยัญชนะ 33 ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้
    ก.พยัญชนะวรรคมี 25 ตัว ได้แก่
    พยัญชนะวรรค/ฐาน
    วรรคที่ 1 ฐานคอ ก ข ค ฆ ง
    วรรคที่ 2 ฐานเพดาน จ ฉ ช ฌ ญ
    วรรคที่ 3 ฐานปุ่มเหงือก ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
    วรรคที่ 4 ฐานฟัน ต ถ ท ธ น
    วรรคที่ 5 ฐานริมฝีปาก ป ผ พ ภ ม ข
    เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬ °
  3. ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
  4. คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็นตัวตาม ตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฏดังนี้
    ก. พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
    ข. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
    ค. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
    ง. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
    จ. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ ตัวอย่าง
           ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
           ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
           ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
           ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา
    ข้อสังเกต
    คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
    เราตัดตัวสะกดออก เช่น
    จิต มาจาก จิตต
    กิต มาจาก กิจจ
    เขต มาจาก เขตต
  5. คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม (สันสกฤตใช้ ประถม) ,อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์)
  6. คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น
    บาลี ครุฬ กีฬา จุฬา
    สันสกฤต ครุฑ กรีฑา จุฑา

คำสันสกฤต มีลักษณะดังนี้

  1. ภาษาสันสกฤตมีสระ 14 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา
  2. ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ จากภาษาบาลี)
  3. ภาษาสันสกฤตมีตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฏเหมือนภาษาลี เช่น บาลี สัจจ (ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม) สันสกฤตใช้ สัตบ (พยัญชนะวรรคสะกด เศษวรรคตาม)
  4. คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ เช่น พัสตร์ จันทร์
  5. คำบางคำในภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ
  6. คำว่า “เคราะห์” มีในภาษาสันสกฤตเท่านั้น
  7. ภาษาสันสกฤตมีตัว รฺ (ร เรผะ) ซึ่งไทยนำมาใช้เป็น รร ฉะนั้นคำที่มี รร ส่วนหนึ่งในภาษาไทย จึงมาจากภาษาสันสกฤต

เปรียบเทียบภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี

ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี – สันสกฤต

ภาษาบาลีภาษาสันสกฤต
1.   สระมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ1.   สระมี 14  ตัว  เพิ่มจากบาลี  6  ตัว  คือ  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ  ไอ  เอา
( แสดงว่าคำที่มีสระ 6 ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด )
2.  มีพยัญชนะ  33 ตัว  (พยัญชนะวรรค)2.  มีพยัญชนะ  35  ตัว  เพิ่มจากภาษาบาลี  2  ตัว  คือ  ศ  ษ 
(แสดงว่าคำที่มี  ศ ษ  เป็นภาษาสันสกฤต 
*ยกเว้น  ศอก  ศึก  เศิก  โศก  เศร้า  เป็นภาษาไทยแท้ )
3.  มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน  เช่น  กัญญา  จักขุ  ทักขิณะ  ปุจฉา  อัณณพ  คัมภีร์  เป็นต้น3.  มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น  กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ  อัธยาศัย  เป็นต้น
4.  นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ เป็นต้น
(จำว่า กีฬา บาลี)
4.  นิยมใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ  
(จำว่า  กรีา สันสกฤต)
5.  ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น  ปฐม  มัจฉา  สามี  มิต  ฐาน  ปทุม  ถาวร  เปม  กิริยา  เป็นต้น5.  นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น ประถม มัตสยา สวามี  มิตร  สถาน  ประทุม  สถาวร  เปรม  กริยา  เป็นต้น
6.  นิยมใช้  “ ริ ”  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น6.  นิยมใช้  รร  (รอหัน)  เช่น  ภรรยา  จรรยา  อัศจรรย์  เป็นต้น เนื่องจากแผลงมาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  เช่น  วรฺณ = วรรณ ธรฺม = ธรรม    * ยกเว้น  บรร  เป็นคำเขมร
7.  นิยมใช้  ณ  นำหน้าวรรค ฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์ หรือ  ณ  นำหน้า  ห  เช่น  กัณหา  ตัณหา7.  นิยม “ เคราะห์ ”  เช่น  วิเคราะห์  สังเคราะห์  อนุเคราะห์  เป็นต้น

ข้อสังเกต
คำบางคำใช้ ศ ษ แต่เป็นคำไทยแท้ เช่น ศอ ศอก ศึก เศิก ดาษ ดาษดา ฯลฯ
       ตัวอย่างคำภาษาบาลี กิจ ทัณฑ์ ยาน มัชฌิม พิมพ์ ขัณฑ์ ขันธ์ ขัตติยา บุญ นิพพาน วิชา วุฒิ สามัญ อัคคี สัญญาณ มัจฉา มเหสี อุตุ อักขร อัชฌาศัย ขณะ ปัจจุบัน อิตถี อัตถุ อัจฉรา ภริยา อิทธิ ปกติ วิตถาร ปัญญา กัญญา กัป
       ตัวอย่างภาษาสันสกฤต กษัตริย์ อัศวะ ขรรค์ คฤหัสถ์ บริบูรณ์ อธิษฐาน สวรรค์ ศึกษา วิทยุ นิตย์ ทฤษฎี ปราโมทย์ ไอศวรรย์ จักร อาศัย ปราศรัย วิเศษ มรรค มัธยม สถาปนา ปรัชญา อมฤต สถาน จักษุ รัศมี ภรรยา บุษบา กัลป์ ราษฎร บุญย ศรี

ชนิดของคำ

      คำมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่

1. คำนาม
       คือคำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของต่างๆทั้งมีตัวตนและไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น เวลา จิตใจ อำนาจ มี 5 ชนิด

  1. สามานยนาม คือ นามทั่วไป เช่น โต๊ะ เรือ ช้าง รถ
  2. วิสามานยนาม คือ นามเฉพาะ เช่น เรือสุพรรณหงส์ โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม
  3. ลักษณนาม คือ นามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอก รูปร่าง ลักษณะ ขนาด ประมาณของนามนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ปี่ 1 เลา ดนตรีหนึ่งวง ปากกาด้ามนั้น ดินสอแท่งนี้ของใคร ช้างป่าชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง
  4. สมุหนาม คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของนามข้างหลัง เช่น ฝูง คณะ พรรค องค์กร หน่วย กลุ่ม เช่น กองทหาร ฝูงนกพากันออกหากิน พรรคร่วมรัฐบาล คณะครูโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม กองลูกเสือจังหวัดเชียงราย
  5. อาการนาม คือ นามบอกการหรือความเป็นอยู่ จะมีคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำกริยา เช่น การกิน การนั่ง ความดี ความชอบ ความฝัน

2. คำสรรพนาม
       คือคำที่ใช้แทนคำนาม มี 7 ชนิด

  1. สรรพนามแทนการพูดจา แบ่งเป็น
    – สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ฉัน ข้าพเจ้า ตู กระผม อาตมา
    – สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ ลื้อ เอ็ง
    – สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น เขา มัน ท่าน หล่อน
  2. สรรพนามแสดงคำถาม ได้แก่ ใคร อะไร ไหน เช่น ใครมาแน่ะ อะไรอยู่ในกล่อง
  3. สรรพนามใช้ชี้ระยะ ได้แก่ นี่ นั่น นั้น โน่น เช่น นั่นรถเมล์มาแล้ว โน่นคือดอยสุเทพ
  4. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ได้แก่ ใคร อะไร สิ่งใด ผู้ใด เช่นอะไรก็อร่อยทั้งนั้น ใครๆ ก็อยากได้เงิน
  5. สรรพนามบอกความชีช้ำ ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น สุนัขกัดกัน นักเรียนต่างก็ทำการบ้าน เด็กตีกัน
  6. สรรพนามเชื่อมประโยค จะทำหน้าที่แทนนามที่อยู่ข้างหน้าและเชื่อมประโยค ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน เช่น หญิงที่กำลังเดินมาเป็นเจ้าของบ้าน กระท่อมอันเก่าแก่เป็นที่อยู่ของเขา
  7. สรรพนามใช้เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด ได้แก่ ท่าน แก เช่น พระภิกษุท่านออกบิณฑบาตทุกเช้า โจรมันถูกยิง ตาสมแกไม่ชอบเสียงดัง ผู้อำนวยการท่านให้รางวัลแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก

3. คำกริยา
       คือคำแสดงอาการ การกระทำของคำนาม หรือ สรรพนาม หรือ แสดงการกระทำของประธาน ในประโยค มี 4 ชนิด

  1. สกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง จะต้องมีกรรมมารับข้างท้าย จึงจะได้ความสมบูรณ์ เช่น ชาวบ้านยิงเสือ เด็กนักเรียนถือ พาน ครูชมศิษย์
  2. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารับท้าย เช่น นายกรัฐมนตรีป่วย นกเขาของเขาตายแล้ว กระดาษปลิว
  3. วิกตรรถกริยา หรือ กริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องมีคำตามมาข้างหลัง หรือมีคำมาเติมข้างท้ายจึงจะมีความสมบูรณ์ กริยาพวกนี้ได้แก่คำ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ดุจว่า เช่น ฉันเป็นครู เธอเหมือนคุณแม่เธอ แมวคล้ายเสือ คนดีคือผู้มีเกียรติ
  4. กริยานุเคราะห์ คือ กริยาที่ทำหน้าที่ช่วยหรือ ประกอบกริยาสำคัญในประโยค ได้แก่คำ คง พึง กำลัง ย่อม น่า จะ จง โปรด เช่น โปรดงดบุหรี่ เราต้อง ทำงาน ฝนน่าจะตก

4. คำวิเศษณ์
       คือคำที่ขยายคำอื่น ซึ่งจะเป็น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง ให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ชนิดของคำวิเศษณ์มี 6 ชนิด คือ

  1. คำวิเศษณ์บอกลักษณะ ชนิด ขนาด สัณฐาน สี เสียง คุณภาพ เช่น ดอกมะละมีกลิ่นหอม เศรษฐีมีบ้านหลังใหญ่ครูอธิบายดีมาก ใครหนอเอาหนังสือไป นกเขาขันเพราะ
  2. คำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น เช่น หน้าหนาวนักเรียนมักจะมาสาย คนโบราณนับถือผีสางเทวดา
  3. คำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล เหนือ ใต้ ขวา ซ้าย เช่น โรงเรียนอยู่ไกล ผมชอบนั่งเรียนแถวหน้า
  4. คำวิเศษณ์แสดงขนาด ปริมาณ จำนวน เช่นมาก น้อย ใหญ่ เล็ก กว้าง เช่น นกยูงรำแพนบ่อยๆ เขามีบ้านหลายหลัง
  5. คำวิเศษณ์แสดงคำถาม ทำไม หรือ อะไร เช่น คนไหนไม่ทำการบ้าน เทนนิสมีกติกาอย่างไร ขนมอะไรที่เธอซื้อมา
  6. คำวิเศษณ์แสดงความหมายปฏิเสธ เช่น ไม่ ไม่ได้ หามิได้ เช่น เงินทองมิใช่ของหาง่ายนะลูก ฉันมิได้โกรธเธอ

5. คำบุพบท
       คือ คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้วทำให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย ฯลฯ หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท

  1. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง
  2. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง
  3. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน
  4. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก
  5. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน หลักการใช้คำบุพบทบางคำ ” กับ” ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น ฉันเห็นกับตา
           “แก่” ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น ครูให้รางวัลแก่นักเรียน
           “แด่” ใช้แทนตำว่า “แก่” ในที่เคารพ เช่น นักเรียนมอบพวงมาลัยแด่อาจารย์
           “แต่” ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น เขามาแต่บ้าน
           “ต่อ” ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะหน้าถัดไป เทียบจำนวน เป็นต้น เช่น เขายื่นคำร้องต่อศาล

       คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น ลูกชายของนายแดงเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของนายดำเรียนเก่ง ครูทำงานเพื่อนักเรียน เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน

       ชนิดของคำบุพบท คำบุพบทแบ่งเป็น 2 ชนิด

  1. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้ – บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของฉันซื้อสวนของนายฉลอง ( นามกับนาม )
    • บ้านของเขาใหญ่โตแท้ๆ ( นามกับสรรพนาม )
    • อะไรของเธออยู่ในถุงนี้ ( สรรพนามกับสรรพนาม ) – บอกความเกี่ยวข้อง
    • เธอต้องการมะม่วงในจาน ( นามกับนาม )
    • พ่อเห็นแก่แม่ ( กริยากับนาม )
    • ฉันไปกับเขา ( กริยากับสรรพนาม ) – บอกการให้และบอกความประสงค์
    • แกงหม้อนี้เป็นของสำหรับใส่บาตร ( นามกับกริยา )
    • พ่อให้รางวัลแก่ฉัน ( นามกับสรรพนาม ) – บอกเวลา
    • เขามาตั้งแต่เช้า ( กริยากับนาม )
    • เขาอยู่เมืองนอกเมื่อปีที่แล้ว ( นามกับนาม ) – บอกสถานที่
    • เธอมาจากหัวเมือง ( กริยากับนาม ) – บอกความเปรียบเทียบ
    • เขาหนักกว่าฉัน ( กริยากับนาม )
    • เขาสูงกว่าพ่อ ( กริยากับนาม )
  2. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม
    • ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย
    • ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน
    • ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด
    • ช้าแต่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้

      ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท

  1. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น
    เขามุ่งหน้าสู่เรือน
    ป้ากินข้าวด้วยมือ
    ทุกคนควรซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
  2. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น
    เขาเป็นลูกฉัน ( เขาเป็นลูกของฉัน )
    แม่ให้เงินลูก ( แม่ให้เงินแก่ลูก )
    ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยมาก )
  3. ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
    เธออยู่ใน พ่อยืนอยู่ริม เขานั่งหน้า ใครมาก่อน ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง ตำแหน่งของคำบุพบท ตำแหน่งของคำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า

      ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้

  1. นำหน้าคำนาม เขาเขียนจดหมายด้วยปากกา เขาอยู่ที่บ้านของฉัน
  2. นำหน้าคำสรรพนาม เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา เขาพูดกับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว
  3. นำหน้าคำกริยา เขาเห็นแก่กิน โต๊ะตัวนี้จัดสำหรับอภิปรายคืนนี้
  4. นำหน้าคำวิเศษณ์ เขาวิ่งมาโดยเร็ว เธอกล่าวโดยซื่อ

6. สันธาน
      คือ คำเชื่อม อาจเชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค หรือความกับความ เชื่อมคำ เช่น ฉันและเพื่อน ยายกับตา เชื่อมประโยคและความ มีหลายประเภท เช่น

  1. ความต่อเนื่องกัน เช่น และ แล้ว…จึง แล้ว…ก็ พอ…ก็
          พระอรุณ และ พระฤทธิ์ได้ไปครองกรุงศรีสัชนาลัย
          พระธรรมวงศ์ทรงสละราชสมบัติ แล้วจึงเสด็จออกทรงพรต
  2. ความขัดแย้งกัน เช่น แต่ แต่ก็ แต่ทว่า กว่า…ก็
          พระยาไชยบูรณ์ถูกเชือดเนื้อ แต่ก็ ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพกาหม่อง
          กว่ากองทัพจากกรุงเทพฯขึ้นไปปราบจลาจลพวกเงี้ยว ก็ทำลายเมืองแพร่เสียยับเยิน
  3. ความเลือกเอาอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น มิฉะนั้น มิฉะนั้น…ก็ หรือ
          พระยาไชยบูรณ์ต้องยกเมืองแพร่ให้พกาหม่อง มิฉะนั้น ตนเองจะต้องตาย
          พระอรุณ หรือ พระฤทธิ์ เป็นบุตรของนางอุทัย
  4. ความเป็นเหตุผลแก่กัน เช่น จึง ฉะนั้นจึง เพราะฉะนั้นจึง
          บ้านเมืองอยู่ข้างหลังสวนเมืองนี้ จึงได้ชื่อว่าเมืองหลังสวน
          มัจฉานุมีความกตัญญูต่อไมยราพ ฉะนั้นจึง ไม่ยอมบอกทางไปเมืองบาดาลแก่หนุมานโดยตรง
  5. เชื่อมใจความขยายกับใจความหลัก
          บอกเวลา เช่น เมื่อ ก่อน หลัง จาก ตั้งแต่
                ไมยราพนำพระรามไปไว้เมืองบาดาล เมื่อสะกดทัพพระรามหลับหมด
          บอกความเปรียบเทียบ เช่น เหมือน คล้าย ดุจ ดุจดัง
                พระมเหสีรักพระอรุณ เหมือน แม่บังเกิดเกล้ารักบุตรของตน
          บอกเหตุผล เช่น เพราะ เพราะว่า
                พระมเหสีประสูติพระโอรส เพราะทรงประกอบกุศลกรรมในการเลี้ยงดูพระอรุณอย่างบริสุทธิ์ใจ

7. อุทาน
      คือ คำที่ไม่มีความหมายในตัวเอง แต่แสดงอารมณ์ของผู้กล่าวหรือเสริมคำในการพูดจากัน คำอุทานไม่จัดเป็นส่วนใด
ส่วน หนึ่ง หรือภาคใดภาคหนึ่งของประโยค เป็นส่วนที่เสริมเข้ามาเพื่อแสดงอารมณ์หรือช่วยให้ข้อความสละสลวย
      อุทานแสดงอารมณ์ อุทานชนิดนี้บอกอารมณ์ต่างๆ ใช้อัศเจรีย์กำกับข้างท้าย
            สงสัย เช่น เอ๊ะ! หนอ! อ้าว!
            เสียใจน้อยใจ เช่น อนิจจา! เอ๋ย! พุทโธ่เอ๋ย!
            ตกใจ เช่น อุ๊ย! ว้าย!
            เข้าใจ เช่น อ๋อ!
      อุทานเสริมคำ อุทานชนิดไม่มีความหมายโดยตรง และไม่ใส่อัศเจรีย์กำกับข้างท้าย ใช้เสริมคำอื่น เพื่อให้คล้องจองกัน
ถ่วงเสียงของคำ หรือใช้เป็นคำสร้อยในคำประพันธ์บางชนิด
คำเสริม อาจอยู่ข้างหน้า ข้างหลัง หรือกลางคำอื่นก็ได้ เช่น
โรงเล่าโรงเรียน สับประดี้สีประดน อยู่บ้านอยู่ช่อง ลืมหูลืมตา กินข้าวกินปลา รถรา วัดวา พูดจา
คำสร้อย เช่น นา เเลนา แฮ เอย เฮย

อักษรควบกล้ำ

อักษรควบกล้ำ มี 2 ชนิด ได้แก่
1 . อักษรควบแท้ คือ พยัญชนะที่ควบกับตัว ร ล ว ออกเสียงกลํ้าเป็นเสียงเดียวกันใช้สระตัวเดียวกัน
      คําที่มีอักษรควบ ร คือ คําที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัว พยัญชนะต้นตัวที่ สองจะเป็น ร เวลาอ่านจะออกเสียงพยัญชนะต้นทั้งสองตัวพร้อมกัน พยัญชนะที่ใช้ ร กลํ้า ได้แก่ กร ขร คร ตร ปร พร
      ตัวอย่างคํา เช่น กระป๋อง กราด ขรัวพ่อ ขรึม ครีบ คราว ตรัง ตรอก ปรุง โปรด พริก
      การผันวรรณยุกต์ คำที่มีอักษรควบ ร
      คําที่มีอักษรควบกลํ้า กร- ตร- ปร- จะผันวรรณยุกต์อย่างการผัน อักษรกลาง คือ ผันครบทั้ง 5 เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ทั้ง 4 รูป ได้แก่เสียง สามัญ ( จา ) เสียงเอก ( จ่า ) เสียงโท ( จ้า )
      เสียงตรี ( จ๊า ) เสียงจัตวา ( จ๋า )
      คําที่มีอักษรควบกลํ้า ขร- จะผันวรรณยุกต์อย่างการผันอักษรสูง คือ ผันได้ 3 เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ 2 รูป ได้แก่ เสียงเอก ( ขริ่บ ) เสียงโท ( ขริ้บ ) เสียงจัตวา ( ขริบ )
      คําที่มี อักษรควบกลํ้า คร- พร- จะผันวรรณยุกต์อย่างอักษรตํ่า คือ ผันได้ 3 เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ ได้ 2 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ ( ครู ) เสียงโท ( ครู่ ) เสียงตรี ( ครู้ )
      การผันวรรณยุกต์ คำที่มีอักษรควบ ล
      คำที่มีอักษรควบกล้ำ กล – ปล- จะผันวรรณยุกต์อย่างการผันอักษรกลาง คือ ผันได้ครบ 5 เสียง และ ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ทั้ง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ ( กลาง ) เสียงเอก ( กล่าง ) เสียงโท ( กล้าง ) เสียงตรี ( กล๊าง ) เสียงจัตวา ( กล๋าง )
คำที่มีอักษรควบกล้ำ ขล- ผล- จะผันวรรณยุกต์อย่างการผันอักษรสูงคือ ผันได้ 3 เสียง แต่ใช้ รูปวรรณยุกต์ได้เพียง 2 รูป เท่านั้น ได้แก่ เสียงเอก ( โผล่ ) เสียงโท ( โผล้ ) เสียงจัตวา (โผล)
      คำที่มีอักษรควบกล้ำ คล- พล- จะผันวรรณยุกต์อย่างการผันอักษรต่ำ คือ ผันได้ 3 เสียง แต่ใช้ รูปวรรณยุกต์ได้เพียง 2 รูป เท่านั้น ได้แก่ เสียงสามัญ ( คลำ ) เสียงโท ( คล่ำ ) เสียงตรี ( คล้ำ )

2. อักษรควบไม่แท้ คือ อักษรที่เกิดจากพยัญชนะ ๒ ตัว ควบหรือกล้ำกันอยู่ในสระเดียวกัน ได้แก่พยัญชนะที่รวมกับตัว ร แต่ออกเสียง เฉพาะพยัญชนะตัวหน้าตัวเดียวตัว ร ไม่ออกเสียง หรือบางตัวก็ออกเสียงเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น ๆ เช่น
1. ออกเสียงเฉพาะตัวหน้า จริง ไซร้ ศรี สรง สร้อย เศร้า ศรัทธา อักษรควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้า มักได้แก่ตัว จ ช ศ ส
2. ออกเสียงแปรเป็นเสียงอื่น ได้แก่ ท ที่ควบกับ ร แล้วออกเสียงเป็นช ดังตัวอย่างคำประพันธ์ต่อไปนี้
ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
มัทรี อินทรีย์ มี เทริด นนทรี พุทรา เพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัส ฉะเชิงเทรา
ตัว “ทร” เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง “ซ”

ขนิดของประโยค

ความหมายของประโยค
      ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีเนื้อความครบสมบูรณ์ ทำให้รู้ว่าใครทำอะไร เช่น นักเรียนอ่านหนังสือ, ใครมีสภาพอย่างไร เช่น หน้าต่างเปิด, หรือใครรู้สึกอย่างไร เช่น คุณพ่อโกรธ
ส่วนประกอบของประโยค
      ประโยคแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคประธานกับภาคแสดง
      ภาคประธาน คือส่วนสำคัญของข้อความ เพื่อบอกให้รู้ว่าใคร หรือสิ่งใด มักเป็นคำนามหรือสรรพนาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ บทประธานและบทขยายประธาน
      ภาคแสดง คือส่วนที่แสดงอาการของภาคประธาน ให้ได้ความหมายครบถ้วน ว่าแสดงอาการอย่างไร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ บทกริยา บทขยายกริยา บทกรรม และบทขยายกรรม
ประโยคแต่ละประโยคจะต้องมี บทประธาน บทกริยา หรือ บทประธาน บทกริยา และบทกรรม ส่วนบทขยายนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น


รูปของประโยค
เราสามารถแบ่งรูปประโยคได้หลายชนิด ดังนี้

  1. ประโยคบอกเล่า คือประโยคที่มีใจความเพื่อบอกให้ทราบ ว่าใครทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร เป็นการแจ้งเรื่องราวให้ทราบ หรือบอกเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ฉันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, พ่อของฉันเป็นชาวนา
  2. ประโยคปฏิเสธ คือประโยคที่มีใจความไม่ตอบรับ มีเนื้อความตรงกันข้ามกับประโยคบอกเล่า มักใช้คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ มิได้ ประกอบ เช่น ฉันไม่ได้ลอกการบ้านเพื่อน ปากกาด้ามนั้นไม่ใช่ของฉัน
  3. ประโยคคำถาม คือประโยคที่มีใจความเป็นคำถาม เพื่อต้องการคำตอบ คำที่เป็นคำถามจะอยู่ต้นประโยค หรือท้ายประโยคก็ได้ ประโยคคำถามมี 2 ลักษณะดังนี้
    1. ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับหรือปฏิเสธ มักมีคำที่ใช้ถามว่า หรือ หรือไม่ ไหน อยู่ท้ายประโยคคำถาม เช่น
      ถามว่า เธอชอบอากาศหนาวมากกว่าอากาศร้อนหรือ
      คำตอบคือ ครับผมชอบอากาศหนาวมากกว่าอากาศร้อน
    2. ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นเนื้อความใหม่ มักมีคำที่ใช้ถามว่า ใคร อะร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด เท่าใด คำเหล่านี้จะอยู่ต้นประโยคหรือท้ายประโยคก็ได้ เช่น
      ถามว่า ใครเป็นเวรทำความสะอาดห้องเรียนในวันนี้
      คำตอบคือ สมบัติเป็นเวรทำความสะอาดห้องเรียนวันนี้ครับ
  4. ประโยคขอร้อง คือประโยคที่มีข้อความแสดงความต้องการให้ช่วยเหลือในลักษณะต่าง ๆ มักจะมีคำว่า โปรด กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค และมักจะมีคำว่า หน่อย ซิ นะ อยู่ท้ายประโยค เช่น โปรดมานั่งข้างหน้าให้เต็มก่อน กรุณาอย่าจอดรถขวางประตู วานลบกระดานดำให้ครูหน่อยประโยคคำสั่ง คือประโยคที่บอกให้บุคคลอื่นทำ หรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะละประธานไว้ เช่น ห้ามเดินลัดสนาม อย่าคุยกันในห้องเรียน
  5. ประโยคแสดงความต้องการ คือประโยคที่แสดงความอยากได้ อยากมี อยากเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักมีคำว่า อยาก ต้องการ ปรารถนา ประสงค์ อยู่ในประโยค เช่น พ่อต้องการให้ฉันเป็นทหาร ฉันอยากเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษา พี่ปรารถนาจะให้น้องเรียนหนังสือเก่ง ครูประสงค์จะให้นักเรียนลายมืองาม

ชนิดของประโยค
เราสามารถแบ่งประโยคที่ใช้ในการสื่อสารออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

  1. ประโยคความเดียว คือประโยคที่มีความหมายอย่างเดียว เช่น
    ฝนตกในตอนเช้า, พ่ออ่านหนังสือพิมพ์รายวัน, ดวงดาวส่องแสงระยิบระยับบนท้องฟ้า
  2. ประโยคความรวม คือประโยคที่มีข้อความเป็นประโยคความเดียว ตั้งแต่ 1 ประโยคขึ้นไปมาเรียงกัน โดยมีสันธานเป็นคำเชื่อมระหว่างประโยค เพื่อให้ข้อความติดต่อเป็นประโยคเดียวกัน ประโยคความรวมมีหลายลักษณะดังนี้
    1. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน เช่น
      รัตนาและอารีรดนำต้นไม้ เป็นประโยคความรวม แยกเป็นประโยคความเดียวได้ 2 ประโยคดังนี้ รัตนารดน้ำต้นไม้, อารีรดนำต้นไม้ มีสันธาน และ เป็นคำเชื่อม
      ความคล้อยตามกันนั้นอาจคล้อยตามกันในเรื่องของ ความเป็นอยู่ เวลา และ การกระทำ ฉะนั้นคำเชื่อมจึงมีคำอื่น ๆ อีก เช่น ทั้ง…และ, แล้วก็, พอ…แล้วก็, พอ…ก็, เมื่อ…ก็ ดังตัวอย่าง
      ทั้งรัตนาและอารีเป็นนักเรียนชั้นป.6
      พอรัตนาเรียนจบชั้นป.6 แล้วก็ไปเรียนต่อชั้นม.1
      พอพ่อมาถึงแม่ก็ยกนำมาให้ดื่ม
    2. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน เช่น
      วิชิตเล่นดนตรีแต่วิชัยเล่นกีฬา เป็นประโยคความรวม แยกเป็นประโยคความเดียวได้ 2 ประโยคดังนี้ วิชิตเล่นดนตรี , วิชาเล่นกีฬา มีสันธาน แต่ เป็นคำเชื่อม
    3. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
      นักเรียนจะสอบข้อเขียนหรือจะทำรายงาน เป็นประโยคความรวม แยกเป็นประโยคความเดียวได้ 2 ประโยคดังนี้ นักเรียนจะสอบข้อเขียน, นักเรียนจะทำรายงาน มีสันธาน หรือ เป็นคำเชื่อม
  3. ประโยคความซ้อน คือประโยคที่มีประโยคความเดียวเป็นประโยคหลัก และมีประโยคย่อยแทรกเข้ามา เพื่อทำให้ข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
          ฉันบอกเขาว่าแม่มาหา
                ฉันบอกเขา เป็นประโยคหลัก
                แม่มาหา เป็นประโยคย่อย
                ว่า เป็นคำเชื่อม
          นักเรียนที่ร้องเพลงเพราะได้รับรางวัล
                นักเรียนได้รับรางวัล เป็นประโยคหลัก
                (นักเรียน)ร้องเพลงเพราะ เป็นประโยคย่อย
                ที่ เป็นคำเชื่อม
           ฉันเห็นภูเขาซึ่งมีถ้ำอยู่ข้างใต้                 เขานอนตัวสั่นเพราะกลัวเสียงปืน
           ฉันเห็นภูเขา  เป็นประโยคหลัก               เขานอนตัวสั่น  เป็นประโยคหลัก
  (ภูเขา)มีถ้ำอยู่ข้างใต้  เป็นประโยคย่อย           (เขา)กลัวเสียงปืน  เป็นประโยคย่อย
            ซึ่ง               เป็นคำเชื่อม                       เพราะ             เป็นคำเชื่อม

ตำแหน่งต่าง ๆ ในประโยค
   ตำแหน่งของประธาน กริยา และกรรม ในประโยคนั้น ตำแหน่งต้นประโยคนับเป็นตำแหน่งที่สำคัญ เมื่อผู้พูดต้องการกล่าวถึงสิ่งใด หรือเหตุการณ์ใด  มักจะกล่าวถึงสิ่งนั้น หรือเหตุการณ์นั้นขึ้นก่อน แล้วจึงกล่าวถึงถ้อยคำขยายความต่อไป เช่น
        ตำรวจจับผู้ร้าย           (ประธานอยู่ต้นประโยค)
        ผู้ร้ายถูกตำรวจจับ       (กรรมอยู่ต้นประโยค)
        มีระเบิดในกล่อง          (กริยาอยู่ต้นประโยค)
   ฉะนั้นในเรื่องนี้นักเรียนต้องสังเกตดูให้ดี โดยปกติประโยคในภาษาไทยนั้นจะมีประธานอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ โดยจะมีความสัมพันธ์กับกริยาในประโยค เช่น  
         รถยนต์แล่นบนถนน   ชาวนาเกี่ยวข้าวในนา   ไก่กินข้าวอยู่ในเล้า
 คำ รถยนต์, ชาวนา, ไก่  ซึ่งอยู่ต้นประโยค  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค แต่เมื่อผู้พูดต้องการกล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนเรื่องอื่น กริยาของประโยคจะอยู่ต้นประโยค  เช่น
        เกิดน้ำท่วมที่จังหวัดตราด  ปรากฎการทุจริตขึ้นในห้องสอบ   มียาฆ่าแมลงในผักและผลไม้
 คำ  เกิด  ปรากฏ  มี  ซึ่งอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นกริยาของประโยค และเมื่อผู้พูดต้องการกล่าวถึง ผลของการกระทำหรือผู้ถูกกระทำก่อนเรื่องอื่น  กรรมจะอยู่ต้นประโยค  เช่น
        พ่อได้รับเชิญให้ไปร่วมในพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่
        บ้านหลังนี้ถูกไฟไหม้เมื่อปีที่แล้ว
        เขาถูกตำหนิอย่างรุนแรง
 คำ พ้อ  บ้านหลังนี้  เขา  ซึ่งอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ในบางประโยคอาจใช้วลีหรือกลุ่มคำบอกสถานที่หรือบอกเวลาอยู่ต้นประโยค เนื่องจากผู้พูดต้องการเน้นเวลาหรือสถานที่  เช่น
        เวลากลางวันเราจะมองไม่เห็นดวงดาว  (เวลากลางวัน  เป็นกลุ่มคำบอกเวลา)
        บนทางเท้าไม่ควรตั้งร้านขายของ  (บนทางเท้า  เป็นกลุ่มคำบอกสถานที่)

ระดับภาษา

     ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ แล้วยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น ภาษาที่ใช้จึงมีหลายระดับ
การแบ่งระดับของภาษา

  1. แบ่งเป็น 2 ระดับ ภาษาที่เป็นทางการ(ภาษาแบบแผน) ภาษาระดับที่ไม่เป็นทางการ(ภาษาที่ไม่เป็นแบบแผน)
  2. แบ่งเป็น 3 ระดับ ภาษาระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นพิธีการ(ไม่เป็นแบบแผน)
  3. แบ่งเป็น 5 ระดับ ภาษาพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับสนทนา ระดับกันเอง

ลักษณะสำคัญของภาษาแต่ละระดับ

  1. ภาษาระดับพิธีการ เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่จัดเป็นพิธีการ เช่น ในการเปิดประชุมสภา การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร การกล่าวเปิดงานและปิดงานพิธีการ เป็นต้น ผู้ส่งสารระดับนี้ต้องเป็นบุคคลสำคัญ หรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารก็เป็นบุคคลในระดับเดียวกัน หรือกลุ่มชนส่วนใหญ่ หรือประชาชนทั้งประเทศ สารทุกคนมีลักษณะเป็นพิธีรีตองเป็นทางการ เลือกเฟ้นแล้วว่าไพเราะเหมาะสมผู้กล่าวสารจึงต้องเตรียมบทความนั้นมาอ่านต่อหน้าที่ประชุม
  2. ภาษาระดับราชการ เมื่อผ่านการประชุมเป็นพิธีการแล้ว การประชุมต่อมาใช้ภาษาระดับทางการ เช่น การบรรยาย หรือการอภิปรายในที่ประชุม หนังสือที่ใช้ติดต่อทางราชการหรือวงกี่ธุรกิจจะใช้ภาษาระดับนี้ ภาษาที่ใช้ตรงไปตรงมามุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ที่ต้องการโดยเร็ว อาจมีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์วิชาการบ้าง แต่ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย เป็นภาษาที่มีในแบบแผนในการใช้
  3. ภาษาระดับกึ่งราชการ ภาษาระดับนี้คล้ายกับภาษาระดับทางการแต่ลดความเป็นงานลงบ้าง เพื่อแสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้ใช้สารให้กระชับมั่น เช่น การประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ ฯลฯ
  4. ภาษาระดับสนทนา เป็นภาษาที่ใช้ในการสอนโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนเพียง 4-5 คน ในสถานที่หรือกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว เช่น การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว และการเสนอบทความบางเรื่อง
  5. ภาษาระดับกันเอง เป็นภาษาที่ใช้กันในครอบครัว เพื่อนสนิท ซึ่งพูดจากันในเรื่องใดก็ได้ ใช้ในการพูดเท่านั้นไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อาจเป็นคำคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มภาษาท้องถิ่น บุคคลที่ใช้ภาษาระดับนี้มีจำนวนน้อย
    ** เราจะใช้ภาษาระดับใดนั้น ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและกาลเทศะด้วย **

เสียงในภาษาไทย

         เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด
         เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ
1) เสียงสระ หรือเสียงแท้
2) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ
3) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี

  1. เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น
    สระเดี่ยว มีจำนวน 18 เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
             สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
             สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ
    สระประสม มีจำนวน 6 เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
             สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
                      เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
                      เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
                      อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
             สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
                      เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
                      เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
                      อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
  2. เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี 21 เสียง 44 รูป ดังต่อไปนี้
    พยัญชนะ 21 เสียง
             ก ขฃ คฅฆ ง จ ชฉฌ ซศษส ดฎ ตฏ ทธฑฒถฐ นณ บ ป พภผ ฟฝ ม ยญ รลฬ ว ฮห อ
    พยัญชนะ 44 รูป
             ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ
  3. เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี 5 เสียง ดังต่อไปนี้
    1. เสียงสามัญ
    2. เสียงเอก
    3. เสียงโท
    4. เสียงตรี
    5. เสียงจัตวา

อักษรคู่ อักษรเดี่ยว

         อักษรต่ำ 24 ตัว ยังแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. อักษรคู่
         คือ อักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 14 ตัวได้แก่ ค ค(ค.คน) ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ จับคู่กับ อักษรสูง 7 คู่ ได้แก่
         ค ค(ค.คน) ฆ คู่กับ ข ข (ข ขวด ส่วนหัวมีหยัก)
         ช ฌ คู่กับ ฉ
         ซ คู่กับ ศ ษ ส
         ฑ ฒ ท ธ คู่กับ ฐ ถ
         พ ภ คู่กับ ผ
         ฟ คู่กับ ฝ
         ฮ คู่กับ ห
อักษรคู่เหล่านี้ เมื่อนำอักษรสูงที่เป็นคู่มาผันร่วมกันระหว่างคู่ของตน จะได้เสียงวรรณยุกต์ครบ ทั้ง 5 เสียง ตัวอย่างเช่น

สามัญเอกโทตรีจัตวา
คาข่าค่าค้าขา
  ข้า  
ชาฉ่าช่าช้าฉา
   ฉ้า 

2. อักษรเดี่ยว
         คือ พยัญชนะที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ หากต้องการจะผัน ให้ครบทั้ง 5 เสียง ต้องใช้ ห นำ
ตัวอย่าง เช่น

สามัญเอกโทตรีจัตวา
งอหง่อง่อง้อหงอ
  หง้อ  
มอหม่อม่อม้อหมอ
  หม้อ  

ข้อสังเกต อักษรเดี่ยวทั้ง 10 ตัวนี้ ถ้าเขียนตามอักษรกลางหรืออักษรสูง และประสมสระเดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของอักษรเดี่ยว จะตามเสียงวรรณยุกต์อักษรกลาง หรืออักษรสูงที่มาข้างหน้า ไม่ว่าจะ เป็น พยางค์เดียว หรือสองพยางค์ เช่น ในคำ หรู อยู่ เฉลา ปลัด สนาม

คำมูล คำประสม

คำมูล
         คือ คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็คำ ” พยางค์ ” เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
“พยางค์”
         คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ วิธีนับว่ามีกี่พยางค์นั้นโดยเมื่อเราอ่านออกเสียง 1 ครั้ง ถือว่าเป็น 1 พยางค์ ถ้าออกเสียง 2 ครั้งถือว่าเป็น 2 พยางค์
เช่น สิงโต (สิง-โต) มี 2 พยางค์
จักรวาล (จัก-กระ-วาน) มี 3 พยางค์
มหาวิทยาลัย (มะ-หา-วิด-ทะ-ยา-ลัย) มี 6 พยางค์ เป็นต้น

คำมูลแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. คำมูลพยางค์เดียว เช่น เพลง,ชาม,พ่อ,ยืน,หิว,ยิ้ม,สุข,ใน ( คำไทยแท้ ) ฟรี,ไมถ์,ธรรม ( คำที่มาจากภาษาอื่น )
    ตัวอย่างของคำมูล
             ภาษาไทย – พ่อ แม่ หมู หมา แมว น้อง
             ภาษาจีน – เกี๊ยะ เกี๊ยว เจี๊ยะ แป๊ะ ซิ้ม
             ภาษาอังกฤษ – ไมล์ เมตร ปอนด์ ฟุต
  2. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำหลายพยางค์ เมื่อแยกแต่ละพยางค์แล้ว อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่ความหมายของแต่ละพยางค์ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลนั้นเลย เช่น กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ หรือกล่าวได้ว่า คำมูล คือคำที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    2.1 ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ ” จิ้ง ” และ ” หรีด ” ต่างก็ไม่มีความหมาย
    2.2 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ ” ยา ” มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
    2.3 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย เช่น
    นารี จะเห็นว่าพยางค์ ” นา ” มีความหมายเกี่ยวกับที่นา ที่ชาวนาทำนากัน แต่สำหรับ ” รี ” ก็มีความหมายไปในทางที่มีรูปร่างไม่กลม ไม่ยาว เรียกว่า รูปวงรี แต่เมื่อรวม ” นา ” กับ ” รี ” เข้าด้วยกัน คือ นารี แล้วจะแปลว่า ผู้หญิง ซึ่งความหมายของ นารี ไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของพยางค์ ” นา “และ ” รี ” เลย

ข้อสังเกตคำมูล
         คำมูลหลายพยางค์ ควรดูว่าในคำหลายพยางค์นั้นมีความหมายทุกพยางค์หรือไม่ ถ้ามีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างเป็นคำมูลหลายพยางค์ เช่น
         มะละกอ = คำมูล 3 พยางค์ นาฬิกา = คำมูล 3 พยางค์
         มะ = ไม่มีความหมาย นา = มีความหมาย
         ละ = ไม่มีความหมาย ฬิ = ไม่มีความหมาย
         กอ = มีความหมาย กา = มีความหมาย

แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=URgB8FpiQKo&t=2s

คำประสม
         คือ คำที่เกิดจากการประกอบคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป และมีความหมายใหม่ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายของคำมูลเดิม หรือมีความหมายเป็นเชิงอุปมาหรือโดยนัย แต่ยังมีเค้าความหมายของคำมูลเดิม
การสร้างคำประสม
         มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดคำใหม่เพิ่มขึ้น เป็นคำที่มีความหมายเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปคำพอที่เข้าใจความหมายกันได้ทั่วไป
         คำมูลที่นำมาประสมกันอาจเป็น นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบทก็ได้ เช่น
         นาม กับ นาม หัวใจ รถไฟ หมูป่า
         กริยา กับ กริยา ต้มยำ ขายฝาก กันสาด
         วิเศษณ์ กับ นาม หลายใจ สองหัว
         บุพบท กับ นาม นอกคอก ใต้เท้า
         คำมูลที่นำมาประสมกัน อาจเป็นคำที่มาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่น คำไทย กับ คำไทย ทางด่วน ผ้ากันเปื้อน เรือหางยาว

เสียงวรรณยุกต์

         เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี 5 เสียง 4 รูป คือ

เสียงสามัญเอกโทตรีจัตวา
รูป

         ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น
ตัวอย่างการผันอักษร
         สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
         อักษรกลางคำเป็น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
         อักษรกลางคำตาย กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ
         อักษรสูงคำเป็น ข่า ข้า – ขา
         อักษรสูงคำตาย ขะ ข้ะ – –
         อักษรต่ำคำเป็น คา – ค่า ค้า –
         อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น – ค่ะ คะ ค๋ะ
         อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว – – โนต โน้ต โน๋ต
จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปเสมอ แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่านั้นอีก เว้นแต่เสียงจัตวาเพราะไม่มีเสียงใดสูงกว่านั้นอีก
         วิธีผันอักษรสูงและอักษรต่ำให้ครบ ๕ เสียง ทำได้โดยนำอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรมาผันคู่กัน เช่น
เสียงสามัญ
เสียงเอก
เสียงโท
เสียงตรี
เสียงจัตวา
อักษรสูง
– ข่า ข้า – ขา
อักษรต่ำ (คู่)
คา – ค่า ค้า –
         ส่วนอักษรต่ำเดี่ยวอาจผันให้ครบทั้ง 5 เสียงใช้อักษรกลางหรือสูงเป็นตัวนำ เช่น
เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
อักษรสูง อยู่ อยู่ อยู้ ยู้ ยู๋
อักษรต่ำ (คู่) นี หนี่ หนี้ นี้ หนี

คำซ้ำ คำซ้อน

คำซ้ำ คือ คำที่เกิดจากการซ้ำเสียงคำเดียวกันตั้งแต่ 2 หน ขึ้นไป เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ได้ความหมายใหม่ มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

  1. ชนิดของคำไทยที่เอามาซ้ำกัน ในภาษาไทยเราสามารถเอาคำทุกชนิดมาซ้ำได้ ดังนี้
    1) ซ้ำคำนาม เช่น พี่ ๆ น้อง ๆ เด็ก ๆ
    2) ซ้ำคำสรรพนาม เช่น เขา ๆ เรา ๆ คุณ ๆ
    3) ซ้ำคำวิเศษณ์ เช่น เร็ว ๆ ไว ๆ ช้า ๆ
    4) ซ้ำคำกริยา เช่น นั่ง ๆ นอน ๆ เดิน ๆ
    5) ซ้ำคำบุพบท เช่น ใกล้ ๆ ไกล ๆ เหนือ ๆ
    6) ซ้ำคำสันธาน เช่น ทั้ง ๆ ที่ เหมือน ๆ ราว ๆ กับ
    7) ซ้ำคำอุทาน เช่น โฮ ๆ กรี๊ด ๆ อุ๊ย ๆ
  2. นำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำ เช่น
    ลูบคลำ เป็น ลูบ ๆ คลำๆ
    เปรอะเปื้อน เป็น เปรอะๆ ปื้อน
    นุ่มนิ่ม เป็น นุ่ม ๆ นิ่ม ๆ
    อดอยาก เป็น อดๆ อยาก ๆ
    นำคำซ้ำมาประสมกัน เช่น งู ๆ ปลา ๆ, ไป ๆ มา ๆ, ชั่ว ๆ ดี ๆ, ลม ๆ แล้ง ๆ
  3. นำคำซ้ำมาเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ เพื่อเน้นความหมาย เช่น ดี๊ดี เบื๊อเบื่อ ดีใจ๊ดีใจ

ลักษณะของคำซ้ำ

  1. บอกความหมายเป็นพหูพจน์ มักเป็นคำนาม และสรรพนาม เช่น
    เด็ก ๆ กำลังร้องเพลง
    พี่ ๆ โรงเรียน
    หนุ่ม ๆ กำลังเล่นฟุตบอล
  2. บอกความหมายเป็นเอกพจน์ แยกจำนวนออกเป็นส่วน ๆ มักเป็นคำลักษณนาม เช่น
    ล้างชามให้สะอาดเป็นใบ ๆ
    อ่านหนังสือเป็นเรื่อง ๆ
    ไสกบไม้เป็นแผ่น ๆ
  3. บอกความหมายเน้นหนัก มักเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
    พูดดัง ๆ
    ฟังดี ๆ
    นั่งนิ่ง ๆ
    สวย ๆ
  4. บอกความไม่เน้นหนัก เช่น
    เสื้อสีแดง ๆ
    กางเกงสีดำ ๆ
    บ้านสีขาว ๆ
  5. บอกคำสั่ง มักเป็นคำกริยา เน้นความและบอกคำสั่ง เช่น
    อยู่เงียบ ๆ
    พูดดัง ๆ
    เดินเบา ๆ
    ออกห่าง ๆ
  6. เปลี่ยนความหมายใหม่ โดยไม่มีเค้าความเดิม เช่น
    กล้วย ๆ
    หมู ๆ
    งู ๆ ปลา ๆ
  7. แยกคำซ้อนมาเป็นคำซ้ำ เช่น
    จืด ๆ ชืด ๆ
    พี่ ๆ น้อง ๆ

หมายเหตุ คำที่ออกเสียงซ้ำกันไม่ใช่คำซ้ำเพราะไม่ได้เกิดคำขึ้นใหม่และความหมายไม่เปลี่ยนไป ในกรณีเช่นนี้จะใช้ไม้ยมกแทนไม่ได้ เช่น
เขาเอาแต่เล่นเล่นจนลืมกินข้าวกินปลา เล่นเล่น ไม่ใช่คำซ้ำ
เขาเอแต่ซนซนในแต่ละวัน ซนซน ไม่ใช่คำซ้ำ
เราควรเก็บของไว้ในที่ที่ของมัน ที่ที่ ไม่ใช่คำซ้ำ
เขาออกกำลังกายทุกวันวันละครึ่งชั่วโมง วันวัน ไม่ใช่คำซ้ำ

คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการเอาคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน เป็นคำประเภทเดียวกัน ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป มารวมกันความหมายที่เกิดขึ้นมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้

  1. มีความหมายชัดเจนหนักแน่นขึ้น เช่น
    ใหญ่โต หมายถึง ใหญ่มาก
    ทรัพย์สิน หมายถึง ของมีค่าทั้งหมด
  2. มีความหมายกว้างขึ้น เช่น
    พี่น้อง หมายถึง ญาติทั้งหมด
    เสื้อผ้า หมายถึง เครื่องนุ่งห่ม
  3. มีความหมายแคบลง เช่น
    หยิบยืม หมายถึง ยืม
    เงียบเชียบ หมายถึง เงียบ
    เอร็ดอร่อย หมายถึง อร่อย
  4. มีความหมายเชิงอุปมา เช่น
    คับแคบ อุ้มชู ถากถาง หนักแน่น ดูดดื่ม

ชนิดของคำซ้อน

  1. คำซ้อนเพื่อความหมาย ได้แก่การนำคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมาหรือตรงกันข้ามมารวมกัน
    • ความหมายอย่างเดียวกัน เช่น เติบโต อ้วนพี มากมาย ข้าทาส สูญหาย โง่เขลา ๒) ความหมายตรงกันข้าม เช่น ถูกผิด ยากง่าย หนักเบา สูงต่ำดำขาว ศึกเหนือเสือใต้ ดีร้าย ผิดชอบ
    • ความหมายใกล้เคียงกัน เรือแพ หน้าตา คัดเลือก ข้าวปลา เสื้อผ้า
  2. คำซ้อนเพื่อเสียง เกิดจากการนำคำที่มีเสียงคล้ายกันมาซ้อนกันเพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น มีเสียงคล้องจองกัน เกิดความไพเราะขึ้น เช่น
    เกะกะ ขรุขระ เก้งก้าง โผงผาง ท้อแท้ เพลิดเพลิน กินแก็น ยู่ยี่ หลุกหลิก จุ๋มจิ๋ม หยุมหยิม โอนเอน ตุกติก ตูมตาม

ลักษณะของคำซ้อน

  1. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกันส่วนมากอยู่ที่คำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียว เช่น
    กีดกัน ความหมายอยู่ที่ กัน
    เนื้อตัว ความหมายอยู่ที่ ตัว
    ปากคอ ความหมายอยู่ที่ ปาก
  2. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน โดยความหมายอยู่ที่คำมูลคำหน้าหรือคำหลังคำใดคำหนึ่ง เช่น
    รากฐาน ความหมายอยู่ที่ ราก หรือ ฐาน
    บ้านเรือน ความหมายอยู่ที่ บ้าน หรือเรือน
    รูปร่าง ความหมายอยู่ที่ รูป หรือ ร่าง
    เขตแดน ความหมายอยู่ที่ เขต หรือ แดน
  3. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน แต่คำหนึ่งเป็นภาษาถิ่น ความหมายอยู่ที่คำภาษากลางหรือภาษามาตรฐาน เช่น
    เสื่อสาด สาด เป็นภาถิ่น ( เหนือ อีสาน ใต้ ) หมายถึง เสื่อ
    ทองคำ คำ เป็นภาถิ่น ( เหนือ อีสาน ) หมายถึง ทอง
    อ้วนพี พี เป็นภาถิ่น ( อีสาน ใต้ ) หมายถึง อ้วน
    ข่มเหง เหงเป็นภาถิ่น ( ใต้ ) หมายถึง ทับ ข่ม
  4. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน แต่คำหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ ความหมายอยู่ที่คำไทย เช่น
    สร้างสรรค์ สรรค์ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง สร้าง
    พงไพร ไพร เป็นคำภาษาเขมร หมายถึง พง
    แบบฟอร์ม ฟอร์ม เป็นคำภาษาอังกฤษ หมายถึง แบบ
  5. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน มีความหมายใหม่กว้างกว่าคำมูลเดิม เช่น
    พี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
    ลูกหลาน ไม่ได้หมายเฉพาะลูกกับหลาน แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
    ถ้วยชามรามไห ถ้วยโถโอชาม หมายถึง ภาชนะใส่อาหาร
    ผลหมากรากไม้ ส้มสูกลูกไม้ หมายถึง ผลไม้
    หมูเห็ดเป็ดไก่ หมายถึง อาหารจำพวกเนื้อสัตว์
    เรือกสวนไร่นา หมายถึง ที่สำหรับเพาะปลูกพืช
  6. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน เกิดความหมายใหม่แต่มีเค้าความหมายเดิมเช่นเดียวกับคำประสม
    ถากถาง หมายถึง พูดเสียดแทง
    ดูแล หมายถึง เอาใจใส่
    เดือดร้อน หมายถึง เป็นทุกข์
    อ่อนน้อม หมายถึง แสดงกิริยาวาจานบนอบ
    นิ่มนวล หมายถึง อ่อนโยน
  7. เกิดจากคำ มูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ความหมายอยู่ที่คำต้นและคำท้าย เช่น
    เคราะห์หามยามร้าย หมายถึง เคราะห์ร้าย
    ฤกษ์งามยามดี หมายถึง ฤกษ์ดี
    ยากดีมีจน หมายถึง ยากจน
  8. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายตรงข้าม เกิดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายกว้างขึ้น เช่น
    สูงต่ำ หมายถึง ระดับความสูงของสิ่งต่าง ๆ
    มากน้อย หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่าง ๆ
    เร็วช้า หมายถึง อัตราความเร็ว
    ถูกแพง หมายถึง ราคา
    เปรี้ยวหวาน หมายถึง รสอาหาร

พยางค์และมาตราตัวสะกด

พยางค์ในภาษาไทย

          พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง เรียกว่า 1 พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา 2 ครั้ง เรียกว่า 2 พยางค์ เช่น
           ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน 4 พยางค์
           สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน 2 พยางค์

          องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก ๑ เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” ) เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย
         – เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.
         – เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)
         – เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)
         – เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กน

มาตราตัวสะกด

          เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี 21 เสียง แต่ทั้ง 21 เสียงนี้ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ หรือเป็นตัวสะกด ได้เพียง 8 เสียง เท่านั้น ซึ่งเรียกพยัญชนะท้ายพยางค์ว่า “มาตราตัวสะกด” แบ่งเป็น

  1. แม่ ก กา คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ เช่น แม่ ใคร มา
  2. แม่ กก คือ พยางค์ที่มีเสียง ก ท้ายพยางค์ เช่น ทุกข์ สุข มรรค
  3. แม่ กง คือ พยางค์ที่มีเสียง ง ท้ายพยางค์ เช่น องค์ ปรางค์ ทอง
  4. แม่ กด คือ พยางค์ที่มีเสียง ด ท้ายพยางค์ เช่น อาทิตย์ สิทธิ์ ครุฑ
  5. แม่ กน คือ พยางค์ที่มีเสียง น ท้ายพยางค์ เช่น สถาน การ บริเวณ
  6. แม่ กบ คือ พยางค์ที่มีเสียง บ ท้ายพยางค์ เช่น กราบ กราฟ โลภ
  7. แม่ กม คือ พยางค์ที่มีเสียง ม ท้ายพยางค์ เช่น ขนม กลม อาศรม
  8. แม่ เกย คือ พยางค์ที่มีเสียง ย ท้ายพยางค์ เช่น กล้วย ปลาย ผู้ชาย
  9. แม่ เกอว คือ พยางค์ที่มีเสียง ว ท้ายพยางค์ เช่น แม้ว ไข่เจียว ปีนเกลียว

          เป็นที่น่าสังเกตว่า เสียงตัวสะกดอาจจะไม่ตรงกับ รูปของตัวสะกดที่ออก เสียงก็ได้ เช่น
       “ อาทิตย์” เขียนด้วย “ ต” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กด”
       “ สมโภชน์” เขียนด้วย “ ช” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กด”
       “ พรรค” เขียนด้วย “ ค” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กก”

ไตรยางศ์

อักษรสามหมู่ (ไตรยางศ์)
          เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ ดังนั้นนักปราชญ์ทางภาษาในสมัยก่อนจึงจัดแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 หมู่ หรือไตรยางศ์ และที่รู้จักกันคือ ” อักษรสามหมู่” เพื่อประโยชน์ในการผันอักษร คือ
          หมู่ที่ 1 อักษรกลาง
          หมู่ที่ 2 อักษรสูง
          หมู่ที่ 3 อักษรต่ำ

อักษรกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว คือ
ก จ ด ฎ ต ฏ บ ป อ
แต่อักษรทีนิยมนำมาผันอักษร มีแค่ 7 ตัว คือ ก จ ด ต บ ป อ
อักษร ฎ ฏ ไม่นิยมนำมาผันอักษร
          ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง (ฎ ฏ )
          ไก่ แจ้ บิน ดู ปลา ติด อวน ชฎา ปฏัก

อักษรสูง มีทั้งหมด 11 ตัว คือ
ข ฃ ฉ ถ ฐ ผ ฝ ส ษ ศ ห
อักษรที่นิยมนำมาผันอักษร คือ ข ฉ ถ ผ ฝ ส ห
ส่วนอักษร ฃ ฐ ษ ศ ไม่นิยมนำมาผันอักษร
          ฃวด ของ ฉัน ถูก เศรษฐี ผูก ฝัง ใส่ ไห
          ฃ ข ฉ ถ ศษฐ ผ ฝ ส ห

อักษรต่ำ มีทั้งหมด 24 ตัว คือ
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ
ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น
พ ฟ ภ ม ย ร ล
ว ฬ ฮ
อักษรที่นิยมนำมาผันอักษร คือ ค ง ช ท น พ ฟ ม ย ร ล ว
คน ( ค ฅ ฆ) ฃ ข
ไทย ( ท ธ ฒ ฑ) ฃ ข
ชอบ ( ช ฌ) ฉ
ซู ( ซ ) ส ษ ศ
ฮก ( ฮ) ห
พี่ ( ภ พ) ผ
แฟน ( ฟ ) ฝ

อักษรต่ำเดี่ยว มีทั้งหมด 11 ตัว คือ
ง ญ น ณ ร ว ม ย ล ฬ
          งู ใหญ่ นอน ณ ริม วัด แม่ยาย เล่น ว่าวจุฬา

2. ความคิดกับภาษา

ความคิดกับภาษา
     ภาษามาตรฐาน = ภาษาที่เราใช้คิดต่อกันทั่วไป เป็นที่เข้าใจกัน
     ภาษาถิ่น = ภาษาที่ใช้กันเฉพาะท้องถิ่น
     ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล = คำพูดแสดงบุคลิกภาพเฉพาะของแต่ละคน
     ภาษาช่วยจรรโลงใจ = คำพูที่ทำให้เราสบายใจ รู้สึกดี
     ภาษามีอิทธิพล เช่น เราชอบปลูกต้อนไม้ชื่อความหมายดีไว้ในบ้าน(เช่นเงินไหลมา ทองไหลมา)
วิธีคิด
     วิเคราะห์ = คิดแบบ”แยกแยะ”คิดพิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้ง
     สังเคราะห์ = คิดแบบ”รวบรวม” รวมความคิดเห็นหลาย ๆ แง่มุมขึ้นมา
     ประเมินค่า = คิดแบบ”ตัดสินคุณค่า”ว่าดีด ไม่ดี สวย ไม่สวย
ภาษากับเหตุผล
     โครงสร้างของเหตุผล
     เหตุ = สาเหตุ ข้อสนับสนุน เหตุผล
     ผล = ผลลัพธ์ ข้อสรุป

การวางโครงสร้างของเหตุผล
     แบบ 1 เหตุมาก่อนผล สังเกตจากคำเชื่อม “ดังนั้น ก็เลย จึง เพราะฉะนั้น”
     แบบ 2 ผลมาก่อนเหตุ สังเกตจากคำเชื่อม ” เพราะ เนื่องจาก ด้วย” เช่น

วิธีการให้เหตุผล

  1. นิรนัย = แบบที่ผลลัพธ์ “แน่นอน”SUREๆ มันจะเป็นเรื่องจริง หรือสัจธรรม -คนเราเกิดมาก็ต้องคาย
  2. อุปนัย = แบบที่ผลลัพธ์ “ไม่เห็นจำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเลย”(ยังไม่แน่) -รุ่นพี่เราเอนติดกันเยอะมาก รุ่นเราคงจะเป็นอย่างนั้น

การอนุมานเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน

  1. แยกออกมาก่อนว่าส่วนใดเป็นเหตุ ส่วนใดเป็นผล
  2. ดูต่อไปว่าส่วนที่เราแยก ส่วนใดเรารู้ ส่วนไหนเราคาด
  3. คำตอบของการอนุมานจะเขียนจากสิ่งที่เรารู้ไปหาสิ่งที่เราคาด
         เรารู้สาเหตุคาดผล เรียกว่า อนุมานจากสาเหตุ(รู้)ไปหาผลลัพธ์(คาด) เช่น
         -เขาน่าจะอ้วนขั้น เขากินเก่งทั้งวัน
         1. ผล – เหตุ
         2. (น่าจะ)เราคาด – เรารู้
         3. อนุมานจากสิ่งที่เรารู้(เหตุ)ไปสิ่งที่เราคาด(ผล) ข้อนี้เรารู้”เหตุ” แล้วคาด”ผล” จึงเป็นการอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
              -เขาน้ำหนักลด เพราะเขาไม่ค่อยกินข้าว ร่างกายคงไม่แข็งแรง
         1. ผล-เหตุ-ผล
         2. รู้ – คาด
         3. อนุมานจากผลไปหาผล

3. คำและความหมาย

นัยตรง – โดยนัย

ความหมายแบ่งเป็น 2 อย่างคือ
        ความหมายนัยตรง-ความหมายนัยประหวัด ความหมายนัยตรง-ความหมายนัยประหวัด
ความหมายของคำในภาษาไทยมี 2 ลักษณะ คือ
      1.  ความหมายนัยตรง คำที่มีความหมายตรงตัว   เช่น
               ดาว       หมายถึง     สิ่งที่เห็นเป็นดวงบนท้องฟ้าเวลามืด
               เก้าอี้      หมายถึง     ที่สำหรับนั่ง มีขา
               เพชร      หมายถึง     ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีน้ำแวววาวกว่าพลอยอื่น ๆ
               นกขมิ้น   หมายถึง     ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวเท่านกเอี้ยง มีหลายสี
               กา         หมายถึง     ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวสีดำ ร้อง กา ๆ
 ตัวอย่างประโยคความหมายนัยตรง
                      – คืนนี้มีดาวเต็มฟ้าเลย
                      – คุณแม่ชอบเพชรเม็ดนี้มาก
                      – เขาไปซื้อดอกไม้ที่ปากคลองตลาดมา        
  ความหมายโดยนัย (อุปมา)  คือ ความหมายเปรียบเทียบของคำนั้น – เธอเป็นดาวตั้งแต่ยังเด็ก
                      – เธอเป็นเพชรน้ำเอกของวงการเพลง
                      – ขอมอบดอกไม้ในสวนนี้เพื่อมวลประชา
     2.  ความหมายนัยประหวัด  คือ ความหมายที่แฝงอยู่ในคำหรือข้อความนั้นๆ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันไปอาจเป็นทางดี  หรือไม่ดีก็ได้
            ดาว       หมายถึง      บุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง
            เก้าอี้      หมายถึง      ตำแหน่ง
            เพชร      หมายถึง      บุคคลที่มีคุณค่า
            นกขมิ้น   หมายถึง      คนเร่ร่อน ไม่มีที่พำนักเป็นหลักแหล่ง
            กา         หมายถึง      ความต่ำต้อย ตัวอย่างประโยคความหมายนัยประหวัด – เสื้อของเธอนี่เป็นเสื้อโหลรึเปล่า
                     – เธอนี่เป็นคนซื่อจริงๆ
                     – เขารัดรวบเก่งมากเลย
                     – คนคนนี้เป็นคนทำอะไร ต้องวางแผนก่อน
ตัวอย่างการใช้คำที่มีความหมายนัยตรง-ความหมายนัยประหวัด
       นัยตรง           – นักเรียนช่วยกันจัดเก้าอี้ในห้องเรียน
       นัยประหวัด      – ส.ส.กำลังแย่งเก้าอี้กัน 

คำไวพจน์ (การหลากคำ)  เป็นชื่อเรียกคำในภาษาไทยอีกพวกหนึ่ง มีความหมายต่างกันเป็น 2 นัย

        –  นัยหนึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำอธิบายว่า “คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า” (พจนานุกรม 2542 หน้า 1091)
        –  และในที่เดียวกันนี้ได้ให้ความหมายที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กล่าวไว้ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ด้วยว่า หมายถึง “คำที่ออกเสียงเหมืมอนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส กับ ไส โจทก์ กับ โจทย์ พาน กับ พาล ปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง”

คำไวพจน์

     ตัวอย่างคำไวพจน์

  1. พระอาทิตย์ 
                  ทินกร, ทิวากร , ภาสกร , ภากร , รวี , ระพี , ไถง (คำเขมร) , ตะวัน , อาภากร , อังศุมาลี , สุริยะ, สุริยา , สุริยัน , สุริยน , สุริยง , ภาณุ ภาณุมาศ , อุษณกร , ทยุมณี , อหัสกร , พรมัน , ประภากร , รังสิมันต์ , รังสิมา , รำไพ
  2. พระจันทร์
                  แข (คำเขมร) , รัชนีกร , บุหลัน ( คำชวา) , นิศากร , เดือน , ศศิ , ศศิธร , โสม , กัษษากร , นิศาบดี , ศิวเศขร , อินทุ ,วิธู , มาส , รชนี
  3. ท้องฟ้า
                  อัมพร , คัคนานต์ , นภาลัย , โพยม , นภางค์ , ทิฆัมพร , เวหา , หาว , เวหาส
  4. แผ่นดิน
                  ธรณี , ปฐพี , ธาตรี , ธรา , หล้า , เมทินี , ภูมิ , ภพ , พสุธา , ธาษตรี , โลกธาตุ , ภูวดล, พิภพ , พสุธาดล , ปัถพี ,ปฐวี , ปฐพี , ธราดล , ภูตลา , พสุนทรา , มหิ , พสุมดี , ธรณิน
  5. ภูเขา  
                  คีรี , สิงขร , บรรพต , ไศล , ศิขริน , สิงขร , พนม , ภู, ภูผา  
  6. ป่า
                  ไพร , พง , ดง , อรัญ , พนา ,ชัฏ , เถื่อน , พนัส , ไพรวัน, พงพี, พงไพร, ไพรสัณฑ์, พนาดร , พนาลี , พนาวัน, อรัญญิก
  7. ทองคำ
                  สุวรรณ , สุพรรณ , เหม , กนก , มาศ , อุไร , จารุ , ตปนียะ , กาญจน์
  8. พระเจ้าแผ่นดิน
                  ประมุข, กษัตริย์, กษัตรา, กษัตรีย์ , กษัตราธิราช,พระมหากษัตริย์, กษัตริยราช,กษิตร, กษิตลบดี,ขัตติยะ,ขัตติยา, พระราชาธิราช, ราชา, ภูมิบดี, มหิบดี, มหิบาล, มหิบาล, มหิป, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร, นเรนทรสูร, นเรนทร์, นโรดม, มหิศร, มหิศวร ,มเหศ, มเหศวร, นริศร, มหาบพิตร(เฉพาะพระที่ใช้) , บรมพิตร, ภูวนาถ, ภูวไนย, ภูวเนตร, ภูธร, ภูธเรศวร, ภูเบศ, ภูบาล, ภูบดี, ภูเบนทร์, ภูเบศวร, นริศวร, นราธิป, นฤเทพ, นฤบดี, นรราช, นฤเบศ, นรังสรรค์, นรินทร์, ภูธเรศ, จักรี, จักริน, บพิตร, ภูมินทร์, ภูมิธร, ภูมินาถ , บดินทร์
  9. ดอกไม้
                  บุปผา ,บุษบา ,โกสุม , มาลี , ผกา , สุคันธชาติ , มาลี , มาลา , ผกา , บุปผชาติ , สุมาลี , มาลย์

คำความหมายแคบกว้างต่างกัน

คำความหมายกว้างจะคลุมคำที่มีความหมายแคบเช่น                                                                                                               คำความหมายกว้างคำความหมายแคบ
               สัตว์                      กวาง,ช้าง,ม้า,มด
               ที่อยู่                   บ้าน,เรือน,วัง,ปราสาท
               ญาติ                       ปู่,ย่า,ตา,ยายิ
               สี                     แดง,เหลือง,เขียว,ฟ้า,ส้ม
               แม่สี                     แดง,เหลือง,น้ำเงิน
ข้อควรระวัง
1. การจัดเรียงความหมายกว้างไปแคบ,แคบไปกว้าง ต้องถูกต้อง เช่น
            – สัตว์ สัตว์สี่ขา หมา หมาอัเซเชียน
            – หนังสือ หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์กีฬา สยามกีฬา
            – อาหาร อาหารคาว แกง แกงไก่
            – อาชีพ เกษตรกรรม ทำไร่ ทำไร่องุ่น
2. คำกว้างที่ใช้ต้องคลุมคำความหมายแคบ เช่น
            – ขนมหวานร้านนี้โดยเฉพาะฝอบทองอร่อยมาก
            ( คำที่มีความหมายกว้าง คือ ขนมหวาน )
            – เขาไปเที่ยวมาแล้วทุกประเทศ ยกเว้น จีน
            ( คำที่มีความหมายกว้าง คือ ทุกประเทศ )
3. อย่าใช้คำความหมายแคบกว้างรวมกันแบบซ้ำซ้อน ( ฟุ่มเฟือย )เช่น
            – เธอชอบใช้เครื่องประดับและต่างหูที่ทำจากเงิน
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าต่างหูเพราะคำว่าเครื่องประดับนั้นครอบคลุมคำว่าต่างหูอยู่แล้ว )
            – เขาอ่านวิชาภาษาไทยและวรรณคดีจบแล้ว
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าวรรณคดีเพราะคำว่าภาษาไทยนั้นครอบคลุมคำว่าวรรณคดีอยู่แล้ว )
            – เธอไปเที่ยวประเทศแถบยุโรปและฝรั่งเศสมาแล้ว
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าฝรั่งเศสเพราะคำว่ายุโรปนั้นครอบคลุมคำว่าฝรั่งเศสอยู่แล้ว )
            – เขาชอบกินน้ำผลไม้สดๆและน้ำส้มคั้นมากๆ
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าน้ำส้มคั้นเพราะคำว่าน้ำผลไม้นั้นครอบคลุมคำว่าน้ำส้มคั้นอยู่แล้ว )

คำพ้อง

คำพ้อง  มี 2 ชนิด คือ
1. คำพ้องเสียง คือ คำที่มีเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และความหมายก็ต่างด้วย เช่น
*การ ความหมาย งาน
* กาล ความ หมาย เวลา
* กาฬ ความหมาย สีดำ
* การณ์ ความหมาย สิ่งก่อสร้าง
* กาญจน์ ความหมาย ทอง
* กานต์ ความ หมาย ที่รัก
* กานท์ ความหมาย บทกลอน
* สัน ความหมาย ส่วนที่นูนขึ้น
* สันต์ ความหมาย สงบ
* สรร ความหมาย เลือก            
* สรรค์ร ความหมาย สร้าง
* สรรพ์ ความหมาย ทั้งมวล
* ศัลย์ ความหมาย ลูกศร
2. คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านต่างกันตามบทบริบทและความหมายก็ต่างกันด้วย
* เพลา  อ่าน เพ-ลา ความหมาย เวลา
อ่าน เพลา ความหมาย แกนล้อรถ
*  เสลา  อ่าน เส-ลา ความหมาย ภูเขา
อ่าน สะ-เหลา ความหมาย ชื่อต้นไม้, สวยงาม
* แหน   อ่าน แหน ความหมาย หวง, รักษา
อ่าน แหน ความหมาย ชื่อต้นไม้
* กรอดอ่าน กรอด ความหมาย เซียวลง, ผอมลง
อ่าน กะ-หรอด ความหมาย ชื่อนกขนาดเล็ก
*  ปรัก   อ่าน ปรัก ความหมาย เงิน
อ่าน ปะ-หรัก ความหมาย หัก, พัง
* เสมา   อ่าน สะ-เหมา ความหมาย หญ้า
อ่าน เส-มา ความหมาย รูปเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์สำหรับพระภิกษุทำสังฆกรรม
* ปรัก    อ่าน ปรัก ความหมาย เงิน

ลักษณะนาม

     ลักษณนาม  คือ  คำนามชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น  เพื่อบอกรูปลักษณะ  ขนาด  หรือประมาณของนาม  มักใช้ตามหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ  จะอยู่หลังตัวเลขบอกจำนวน
      ในการใช้ลักษณะนามนั้น  ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง  ความนิยมของภาษาเป็นสำคัญ  เพราะลักษณะนามของนามบางอย่างบางชนิดไม่สามารถมาเป็นกฎตายตัวว่าคำนามชนิดนั้นต้องใช้ลักษณะนามอย่างนั้น  ต้องดูส่วนอื่นประกอบด้วย  เช่น  บริบท ( คำที่อยู่รอบ ๆประโยค )  ผู้ใช้ลักษณะนามถูกต้องจึงต้องเป็นผู้สังเกตพิจารณา  และรอบรู้ในเรื่องต่าง ๆ 
     คำลักษณนาม เป็นคำที่บอกลักษณะและชนิด หรือประเภทของคำนามนั้น เพื่อจะให้รู้ว่าคำนามนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร มักจะเขียนอยู่หลังจำนวนนับ หรือคำนามนั้นๆ เช่น 
      เรือ 1 ลำ ลอยละล่องอยู่ในคลองหน้าบ้าน
      คุณพ่อมีแว่นตา 4 อัน
      บ้านหลังนั้นไม่มีคนอยู่
      โดยมีตัวอย่าง คำลักษณนามควรรู้ที่พอจะรวบรวมได้มาลงไว้โโยแยกตามหมวดหมู่ดังนี้
1. ลักษณนามบอกชนิด
   พระองค์ผู้ที่นับถืออย่างสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระราชา เทวดาที่เป็นใหญ่ เจ้านายชั้นสูง
        องค์เจ้านาย เทวดา (คงจะตำแหน่งน้อยกว่าเทวดาด้านบนนิดนึง) สิ่งที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า พระราชา หรือเจ้านาย คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะภายใน หรือเครื่องใช้สอย
         รูปภิกษุ สามเณร นักพรตต่างๆ ชีปะขาว ชี
         ตนยักษ์ ภูตผีปีศาจ นักสิทธิ์ เช่น ฤาษี วิทยาธร
         คนมนุษย์สามัญทั่วไป
         ตัวสัตว์เดียรัจฉาน สิ่งของบางอย่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง ตะปู ว่าว ตุ๊กตา
         ใบภาชนะทั้งปวง ลูกไม้ ใบไม้
         เรื่องเรื่องราว ข้อความ คดีต่างๆ
         สิ่ง,อันสิ่งของ หรือกิจการที่เป็นสามัญทั่วไป
         เลาปี่ ขลุ่ย
         เชือกช้างบ้าน (ช้างป่าจะเรียกเป็นตัว หรือ ถ้าเยอะๆ จะเรียกเป็นโขลง ค่ะ)
         เรือนนาฬิกา
         เล่มสุมด หนังสือ เกวียน เทียน เข็ม กรรไกร สิ่ว ศัสตรา (อาวุธ) ต่างๆ
         เต้าแคน (เครื่องดนตรี)
2. ลักษณนามบอกหมวดหมู่
        กองทัพ ทหาร คนทำงานรวมกัน ของที่รวมกันไว้ อิฐ ทราย
        พวก,เหล่าคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกัน และมีลักษณะอย่างเดียวกัน
        หมวดคน สัตว์ สิ่งของ ที่แยกรวมกันไว้
        หมู่คน สัตว์ สิ่งของ ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ
        ฝูงสัตว์พวกเดียวกันที่ไปด้วยกันเป็นพวกๆ หรือคนมากๆ ก็ใช้
        คณะคนที่อยู่ในสำนักหนึ่ง หรือในที่ทำการอย่างหนึ่ง หรือในปกครองรวมกัน 
        นิกายนักบวชศาสนาเดียวกันที่แยกออกเป็นพวกๆ
        สำรับ,ชุดคน หรือสิ่งของที่มีครบตามอัตรา
        โรงผู้คนที่เล่นมหรสพที่มีโรงเล่น เช่น ละคร โขน หนัง
        วงคนชุดหนึ่งที่ล้อมวงกัน เช่น เตะตะกร้อ เล่นดนตรี เล่นเพลง สักวา
        ตับของที่ทำให้ติดกันเรียงกันเป็นพืด เช่น พลู จาก ปลาย่าง
3. ลักษณนามที่บอกสัณฐาน
        วงของที่มีรูปเป็นวง เช่น แหวน กำไล
        หลังของที่มีรูปเป้นหลังคา เช่น เรือน บ้าน ตึก มุ้ง กูบ ประทุน เก๋ง บุษบก
        แผ่นของที่มีรูปแบนๆ เช่น กระดาษ กระดาน กระเบื้อง อิฐ
        ผืนของที่มีรูปแบนกว้างใหญ่ เช่น ผ้า เสื่อ พรม
        แถบของที่แบน บาง แคบ แต่ยาว เช่น ผ้าแคบๆ แต่ยาว (คงจะประมาณ ผ้าแถบ น่ะค่ะ)
        บานของที่เป็นแผ่นมีกรอบ เช่น ประตู หน้าต่าง กระจกเงา กรอบรูป
        ลูกของที่มีรูปทรงกลมๆ หรือค่อนข้างกลม เช่น ลูกไม้ ลูกหิน หรือ ไต้ที่ใช้จุดไฟ ก็ใช้ได้
        แท่งของทึบหนามีรูปยาวๆ เช่น เหล็ก ตะกั่ว ดินสอ
        ก้อนของที่มีรูปเป็นก้อน เช่น ก้อนหิน ก้อนดิน อิฐแตกๆ ขนมปัง (ที่ไม่เป็นแผ่น)
        คันของที่มีส่วนสำหรับถือและลาก รูปยาวๆ เช่น ฉัตร กระสุน รถ ร่ม ธนู หน้าไม้ ช้อนส้อม ซอ เบ็ด (ที่มีคัน) แร้ว ไถ
        ต้นของที่เป็นลำต้นเป็นต้นไม้ เช่น ต้นไม้ เสา ซุง
        ลำของกลมยาวมีปล้องคั่น เช่น ไม้ไผ่ อ้อย และเรือ
        ดวงของที่เป็นรอยกลมๆ เช่น รอยด่าง ตราต่างๆ ของที่มีแสง ตะวัน(ดวงอาทิตย์ เดือน (ดวงจันทร์) ดาว ไฟ และจิตวิญญาณ
        กระบอกของกลมยาวแต่กลวง เช่น ปล้องไม้ไผ่ ข้าวหลาม พลุ ปืน
        เส้นของที่เป็นเส้นเล็กยาว เช่น เชือก ด้าย ลวด
        ปากเครื่องดักสัตว์ที่มีรูปเป็นปากกว้าง เช่น แห อวน สวิง โพงพาง
        ปื้นของที่แบนกว้างเป็นพืดยาว เช่น ตอกที่กว้าง เลื่อย
        ซี่ของเส้นยาว ตั้งเรียนกันเป็นแถว เช่น ซี่กรง ซี่ฟัน
4. ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา
         คู่ของที่มีชุดละ 2 สิ่ง เช่น รองเท้า ถุงเท้า ช้อนกับส้อม เชิงเทียน แจกัน
         โหลของที่รวมกัน 12 สิ่ง
         กุลีผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน 20 ผืน
ชื่อมาตราต่างๆ เช่น ของที่ใช้วัด ตวง ชั่ง เวลา และเงิน เช่น โยชน์ – เส้นทาง / ชั่ง เฟื้อง สลึง ตำลึงบาท หรือชื่อสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก
ชื่อภาชนะต่างๆ เช่น ตุ่ม ไห
5. ลักษณนามบอกอาการ
        จีบของที่จีบ เช่น พลู
         มวนของที่มวน เช่น บุหรี่
         มัดของที่มัด เช่น ฟืน
         ม้วนของที่ม้วนไว้ เช่น ยาสูบ ยาจืด กระดาษ (ที่ม้วนไว้)
         กำ,ฟ่อนของที่ทำเป็นกำ ฟ่อน เช่น หญ้า ผัก
         กลุ่มของที่กำเป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ไหมพรม

สำนวน

1. ความหมายของสำนวน
            สำนวนหมายถึง ถ้อยคำที่กระทัดรัด คมคายกินใจผู้ฟัง ไพเราะสละสลวยและมีความหมายลึกซึ้งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป สำนวนในที่นี้รวมถึง สุภาษิต ภาษิต และคำพังเพยด้วย
2. คุณค่าของสำนวน

  1. ใช้สื่อสารได้รวดเร็ว กะทัดรัดและประหยัดเวลา เมื่อใช้แล้วเข้าใจความหมายได้ทันที ไม่ต้องอธิบายความให้ยืดยาว
  2. ช่วยเน้นความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  3. โน้มน้าวใจให้ปฏิบัติหรือมีค่านิยมตามที่สังคมปรารถนา
  4. สะท้อนให้เห็นค่านิยม สภาพของสังคมไทยในแง่มุมต่าง ๆ 
  5. มีประโยชน์ด้านการใช้ภาษา เช่น การผูกถ้อยคำ การเรียงประโยค

3. การพิจารณาสำนวน
       1. จำนวนคำ
            สำนวนอาจมีจำนวนคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป บางสำนวนมีถึง 12 คำ(คำในที่นี้หมายถึงพยางค์)
            สำนวนที่มี 2 คำ เช่น แผลเก่า  นกต่อ  ตัดเชือก  แกะดำ
            สำนวนที่มี 3 คำ เช่น นกสองหัว  งอมพระราม  เฒ่าหัวงู
            สำนวนที่มี 4 คำ เช่น  ตบหัวลูบหลัง  เคียงบ่าเคียงไหล่    เข้าด้ายเข้าเข็ม  อ้อยเข้าปากช้าง
            สำนวนที่มี 5 คำ เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก  หนูตกถังข้าวสาร  ทำคุณบูชาโทษ   ได้ทีขี่แพะไล่
            สำนวนที่มี 6 คำ เช่น หนีเสือปะจระเข้  กระดูกสันหลังของชาติ  อัฐยายซื้อขนมยาย  ปลากระดี่ได้น้ำ
            สำนวนที่มี 7 คำ เช่น งมเข็มในมหาสมุทร  ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า  กินบนเรือนขี้บนหลังคา
            สำนวนที่มี 8 คำ เช่น ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้  เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม  มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
            สำนวนที่มี 9 คำ เช่น หมูเขาจะหามเอาคานเข้ามาสอด เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
            สำนวนที่มี 10 คำ เช่น คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา                      
            สำนวนที่มี 12 คำ เช่น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ผูกอู่ตามใจผู้นอน
       2. เสียงสัมผัส
             สำนวนบางสำนวนมีเสียงสัมผัสกัน เช่น
             คอขาดบาดตาย                      ทรัพย์ในดินสินในน้ำ
             จองหองพองขน                     น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
             ศึกเหนือเสือใต้                        หมอบราบคาบแก้ว
             สำนวนบางสำนวนไม่มีเสียงสัมผัส เช่น
             คมในฝัก                                น้ำขึ้นให้รีบตัก
             แพะรับบาป                            น้ำท่วมปาก
             เกลือเป็นหนอน                     ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
       3. สำนวนที่มีลักษณะเป็นกลุ่มคำหรือประโยค
             สำนวนบางสำนวนมีลักษณะเป็นกลุ่มคำ เช่น
             ขมิ้นกับปูน                               ร่มโพธิ์ร่มไทร
             หมูในอวย                                กระดูกสันหลังของชาติ
             สำนวนบางสำนวนมีลักษณะเป็นประโยค เช่น
             กาคาบพริก                             น้ำลดตอผุด
             ดินพอกหางหมู                       งูกินหาง
       4. การใช้สำนวน
             หลักการใช้สำนวน คือใช้ให้ตรงกับความหมาย  เช่น
             หนุ่มสาวคู่นี้เหมาะสมกันราวกิ่งทองใบหยก
             เธอนี่ทำตื่นตกอกตกใจเป็นกระต่ายตื่นตูมไปได้
             รักกันชอบกันก็ต้องเข้าตามตรอกออกตามประตู
             คุณตอบอย่างนั้นเขาเรียกว่าตอบอย่างกำปั้นทุบดิน
             พ่อแม่หวังจะฝากผีฝากไข้กับลูก
       5. ตัวอย่างสำนวน
            1. สำนวนเกี่ยวกับพืช
            กลมเป็นลูกมะนาว               – หลบหลีกได้คล่อง
            ขิงก็ราข่าก็แรง                    – ต่างไม่ยอมลดละกัน
            ตาเป็นสับปะรด                    – มีพวกคอยสอดส่องเหตุการณ์ให้
            แตงเถาตาย                         – หญิงม่ายที่มีอายุมาก
            2. สำนวนที่เกี่ยวกับสัตว์
            กระต่ายขาเดียว                  – ยืนกรานไม่ยอมรับ
            กินน้ำเห็นปลิง                     – รู้สึกตะขิดตะขวงใจ
            จมูกมด                                – รู้ทันเหตุการณ์
            กิ้งก่าได้ทอง                        – คนที่ได้ดีแล้วลืมตัว
            3. สำนวนที่เกี่ยวกับการกระทำ
            แกว่งเท้าหาเสี้ยน                – หาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว
            ชายหาบหญิงคอน              – ช่วยกันทำมาหากิน
            ขนทรายเข้าวัด                    – ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
            บุกป่าฝ่าดง                         – ต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ 
          4. สำนวนที่มาจากนิทานหรือวรรณคดี
            กระต่ายตื่นตูม                     – ตื่นตกใจโดยไม่สำรวจให้ถ่องแท้ดอกพิกุลร่วง   
            เห็นกงจักรเป็นดอกบัว       – เห็นผิดเป็นชอบ
            ทรพี                                     – คนอกตัญญู

4. การสื่อสาร

         กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส (Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

        คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร

  1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
  2. มีทักษะในการสื่อสาร
  3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
  4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
  5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
  6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
  9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
  11. รู้ขั้นตอนการทำงาน

        การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
         องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย

  1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
  2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
  3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
  4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
  5. ความเข้าใจและการตอบสนอง กระบวนการสื่อสาร

การพูด

              การพูด  มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ว่าจะอยู่  ณ  ที่ใด    ประกอบกิจการงานใด  หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด  ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ  จึงมักพบว่า  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน   การคบหาสมาคมกับผู้อื่น  ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม    ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้  อาจกล่าวได้ว่า  การพูดเป็น   ” ศาสตร ์”  มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล  บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด  ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา  ศิลปะเฉพาะตัวนี้เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก  แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล  ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน

ประเภทของการพูด   แบ่งได้  2  ประเภท  คือ
        1.  การพูดระหว่างบุคคล  ได้แก่  การทักทายปราศัย 
          ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
          หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีค่ะ
          แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร  ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
          การแนะนำตนเอง 
          การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
           การสนทนา   หมายถึง  การพูดคุยกัน  พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์  การรับสารที่ง่ายที่สุด    คือ  การสนทนา
          คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี  คือ  หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย  ๆ  สุภาพ  คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา                                            
      2. การพูดในกลุ่ม     
          การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน
          มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง
  • ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
  • น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ   
  • ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
  • ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี
  • มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย 

การฟัง

         การฟัง  คือ  การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน  เป็นการรับรู้สารทางหู  ในชีวิตประจำวันของเรา  เราใช้เวลานการฟัง ทั้งที่ฟังจากบุคคลโดยตรง    และฟังจากจากสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ  เพราะข่าวสาร ความรู้และศิลปะวิทยาการต่องๆ ที่มนุษย์ถ่ายทอดกันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง ปัจจุบัน  ยังใช้วิธีการพูดอธิบายให้ฟังแม้จะมีหนังสือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม

         หลักการฟังที่ดี  คือ

  1.  ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย  โดยทั่วไปแล้หลักการฟังมีความมุ่งหมายหลัก  3  ประการ
    1. ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน   ได้แก่   การฟังเรื่องราวที่สนุกสนาน
    2. ฟังเพื่อความรู้   ได้แก ่ การฟังเรื่องราวทางวิชาการ ข่าวสารและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
    3. ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ  ได้แก่  การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญา  ความสุขุมและวิจารณญาเพื่อเชิดชูจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ้น
  2. ฟังโดยมีความพร้อม  ความพร้อมในที่นี้  หมายถึง  ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ  และความพร้อมทางสติปัญญา
                        ความพร้อมทางร่างกาย         หมายถึง       การมีสุขภาพทางร่างกายเป็นปกติ  ไม่เหนื่อย  ไม่อิดโรย
                        ความพร้อมทางจิตใจ            หมายถึง       การมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ
  3. ฟังโดยมีสมาธิ  หมายถึง  ฟังด้วยความตั้งใจมั่น  จดจ่ออยู้กับเรื่องที่ฟัง  ไม่ปล่อยจิตใตให้เลื่อนลอยไปที่อื่น
  4. ฟังด้วยความกระตือรือร้น   ผู้ที่ฟังด้วยความกระตือรือร้นมักจะเป็นผู้ฟังที่มองเห็นประโยชน์หรือเห็นคุณค่า จึงสนใจเรื่องที่ตนจะฟัง 
  5. ฟังโดยไม่อคติ   ผู้ฟังโดยไม่อคติต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน  ไม่เป็นโทษแก่ผู้อื่น 

การอ่าน

การอ่านโดยทั่วไป มีวัตถุประสงค์  3  ประการใหญ่  คือ

  1. การอ่านเพื่อเก็บความรู้  และ  การอ่านเอาเรื่อง  
  2. การอ่านเพื่อวิเคราะห์  คือ  การอ่านโดยพิจารณาส่วนต่างๆ  ของบทเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนต้องอ่าน ซ้ำหลายๆครั้ง   มักใช้ในการอ่านหนังสือเชิงวิชาการ
  3. การอ่านเพื่อตีความ  เมื่ออ่านรู้เรื่องแล้วต้องตีความ  การตีความนั้นมักเป็นไปตามประสบการณ์ และ ความรู้สึกของแต่ละคน

การประเมินค่าสิ่งที่ได้อ่าน

        การประเมินค่า  คือ  การชี้แจงบอกกล่าวว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใจ  บกพร่องด้านใด  ในการประเมิณค่าต้องพิจารณารูปแบบสิ่งของนั้นเสียก่อน  แล้วพิจารณาว่า จุดประสงค์ในการสร้างสรรค์สิ่งนั้นคืออะไร  เมื่อจะประเมิณค่าสิ่งที่ได้อ่านต้องพิจารณารูปแบบ และจุดประสงค์ในการผลิต   การประเมิณค่าของเราไม่คำนึงว่าจะถูกต้องหรือไม่  ตรงกับความคิดเห็นของใคร ควรพิจารณาส่วนต่างๆ  ของหนังสืออย่างละเอียดถถี่ถ้วน

การเขียน

         การเขียน คือ การแสดงความรู้  ความคิด  ความรู้สึก และความต้องการ  ของผู้ส่งสารออกไปเป็นลาบลักษณ์อักษร  เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ  ได้รับทราบความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และความต้องการเหล่านั้น  การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า
         ” มุขปาฐะ ”  อาจทำให้สารตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนได้ง่าย  ลายลักษณ์อักษรหรือที่ตัวหนังสือ  ที่แท้จริงคือเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเอง
        ในการเขียนภาษาไทย  มีแบบแผนที่ต้องการรักษา  มีถ้อยคำสำนวนที่ต้องใช้เฉพาะ  และต้องเขียนให้แจ่มแจ้ง  เพราะผู้อ่านไม่สามารถไต่ถามผู้เขียนได้เมื่อนอ่านไม่เข้าใจ  ผู้ที่จะเขียนให้ได้ดี ต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับผู้รับสาร  โดยพิจารณาว่าผู้รับสารสามารถรับสารที่ส่งมาได้มากน้อยเพียงใด                            
         รูปแบบการเขียน  งานเขียนแบ่งออกเป็น  2  จำพวกได้แก่
          งานเขียนร้อยกรองและงานเขียนร้อยแก้ว
          งานเขียนที่ต้องใช้มากในชีวิตสังคม 

5. วรรณคดี

ศิลปะในการประพันธ์

วรรณศิลป์ 
      1. การเล่นเสียง= การสรรคำให้มีเสียงสัมผัสทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
            ๐ การเส่นเสียงพยัญชนะ = การใช้สัมผัสพยัญชนะ หลายพยางค์ติดกัน
            ๐ การเล่นเสียงสระ = การใช้สัมผัสสระหลายพยางค์ติดๆกัน
                – สัมผัสนอก = ระหว่างวรรค
                – สัมผัสใน = ในวรรคเดียวกัน
     2. การเล่นคำ = การสรรคำมาเรียงร้อยในคำประพันธ์
            ๐ การเล่นคำพ้อง = การนำคำพ้องมาใช้คู่กัน
            ๐ การเล่นคำซ้ำ = การนำคำเดียวมาซ้ำๆใกล้ๆกัน
            ๐ การเล่นคำเชิงถาม = การเรียงถ้อยคำเป็นประโยคเชิงถาม
     3. การใช้ภาพพจน์ =  การใช้ถ้อยำเพื่อสร้างจินตภาพ ( ภาพในใจ ) 
            ๐ การเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง( อุปมาโวหาร )
            ๐ การเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ( อุปลักษณ์ )
            ๐ การสมมุติสิ่งไม่มีชีวิตให้เป็นนามธรรม ( บุคคลวัต )
            ๐ การเลียนเสียงธรรมชาติ 

 ศิลปะในการประพันธ์
        ศิลปะการประพันธ์  เป็นความงามในภาษาด้วยการ 1. สรรคำใช้ 2. กวีโวหารและสำนวนโวหาร
            • สรรคำใช้  โดยเลือกคำที่มีความหมายที่เหมาะสม กับการเลือกด้วยการเพ่งเล็งเสียงของคำ
                 –  เลือกคำที่มีความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง เช่น นิทาน บทความ บทร้อย
กรอง เป็นต้น
                 –  เลือกคำโดยเพ็งเล็งเสียงของคำ
            • การเลียนเสียงธรรมชาติ (สัทพจน์) ทำให้เกิดจินตภาพชัดเจนขึ้น เช่น ครืนครืน (เสียงฟ้าร้อง) หึ่งหึ่ง (เสียงลม) หง่างเหง่ง (เสียงระฆัง)
            • การเล่นคำซ้ำ  การนำคำที่เป็นคำเดียวกันมาเรียบเรียงเพื่อเพิ่มความไพเราะ เช่น
            “โอ้หนาวอื่นพอขืนอารมณ์ได้                     แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ
            ทั้งหนาวนอนไกลนุชสุดจะเย็น                  ใครปะเป็นเหมือนข้าจะว่าจริง”
            • การเล่นคำพ้อง การนำคำพ้องรูปหรือคำพ้องเสียงที่มีความหมายต่างกันมาเรียบเรียงให้เกิดความไพเราะ เช่น
            “ลางลิงไต่กิ่งลางลิงไขว่                                 ลางลิงแล่นไล่กันวุ่นวิ่ง
            ลางลิงชิงค่างขึ้นลางลิง                                 กาหลงลงกิ่งกาหลงลง”
            • การเล่นคำอัพภาส  การเล่นคำกร่อนเสียงจากคำที่มีเสียงซ้ำกัน เช่น ครืนครืน – คะครืน  ฉาดฉาด – ฉะฉาด   ฉับฉับ – ฉะฉับ   ริกริก – ระริก   ยิ้มยิ้ม – ยะยิ้ม
            • กวีโวหารและสำนวนโวหาร  เป็นศิลปะของการใช้คำทำให้เกิดโวหารทั้งในด้านจินตภาพ และภาพพจน์
            • จินตภาพ  เป็นการเขียนให้เกิดภาพในใจ ในความคิดหรือภาพที่ปรากฏในจินตภาพ ไม่มีการเปรียบเทียบ เช่น :-
                1.  การพรรณนา  อธิบายเกี่ยวกับคน สิ่งของ ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ความรู้สึกต่างๆ
                2.  การบรรยาย  กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ตัวละครและการดำเนินเรื่องทั้งเรื่องจริงและบทประพันธ์
            • การอธิบาย  เรียบเรียงคำชี้แจง  ให้ความหมาย คำจำกัดความ  แสดงเหตุและผล  เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ
            • การอภิปราย  เป็นการโน้นน้าวใจ  จูงใจ  ให้เชื่อหรือปฏิบัติตาม โดยให้เหตุผลในการหว่านล้อม
            • ภาพพจน์  ทำให้เกิดภาพจากถ้อยคำตัวอักษรอย่างไม่ตรงไปตรงมามีการเปรียบเทียบ เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกร่วมหรือประทับใจมากกว่าการบอกเล่า มีหลายแบบ เช่น : –
            • อุปมา  เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งด้วยอีกสิ่งหนึ่ง โดยมีตัวเชื่อมคำทั้งสองได้แก่  ดัง  ดุจ  ประหนึ่ง  ราว  ราวกับ  เสมือน  เช่น  คล้าย  ปูน  ปาน  เช่น :- “โอ้ว่าอนิจจาความรัก  เพิ่งประจักษ์ดังสายน้ำไหล” หรือ ”ความรู้เปรียบดังอาวุธ”
            • อุปลักษณ์  เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ใช้คำว่า เป็นหรือคือ ในการเปรียบเทียบ เช่น :-
“เธอคือนางมารร้าย”  “เขาเป็นเทพบุตรในใจฉัน”  “พ่อเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร”
            • นามนัย ใช้คำที่เป็นส่วนประกอบสิ่งหนึ่งสิ่งแทนสิ่งนั้นทั้งหมด เช่น : –  ฉัตร  แทน  กษัตริย์   เก้าอี้ แทน ตำแหน่งผู้บริหาร  เคียว แทน ชาวนา  ค้อน แทน กรรมกร
            • สัญลักษณ์  ใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะบางประการร่วมกัน เช่น ดอกไม้  แทน ผู้หญิง  สีดำ แทน ความตาย  เมฆหรือหมอก แทน อุปสรรค  ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ
            • ปฎิพากย์  ใช้คำตรงกันข้ามแสดงความขัดแย้งเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เช่น  :-  “ความสุขที่แสนจะเจ็บปวด” “เสียงน้ำกระซิบสาดปราศจากเสียง”
            • อติพจน์  ใช้คำกล่าวมากเกินจริง เช่น :-  “ขอให้อายุยืนหมื่นปี” “เธอร่ำไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือด”
            • อวพจน์  ใช้คำกล่าวน้อยเกินจริง เช่น :-  “ยามโกรธเขาเห็นช้างตัวเท่ามด” “เขาทำงานเสร็จภายในชั่วอึดใจ”
            • บุคคลวัต  การสมมุติสิ่งต่างๆ ให้มีกิริยาอาการและความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น :- “ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น” “ธรรมชาติรอบข้างต่างสลดหมดความคะนองทุกสิ่งทุกอย่าง”
            • อุปมานิทัศน์  การใช้เรื่องราวในนิทานหรือนิยายไปเปรียบเทียบกับมนุษย์โดยแฝงคติธรรมเตือนใจ เช่น : –  กบเลือกนาย  หมากับเงา  ลากับจิ้งหรีด  เป็นต้น

ฉันทลักษณ์

          ฉันทลักษณ์ คือตําราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคําหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้วางเป็นแบบไว้ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์
           คำประพันธ์ คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกันเพื่อความไพเราะตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ใน ฉันทลักษณ์
          คำประพันธ์ที่ดีประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ   คือ

  1. มีข้อความดี  
  2. มีสัมผัสดี 
  3. แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะบังคับ

          คําประพันธ์จําแนกออกเป็น 7 ชนิด คือ โคลง  ร่าย  ลิลิต  กลอน กาพย์ ฉันท์
1. โคลงสี่สุภาพ
          โคลงสี่สุภาพ  เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองชนิดหนึ่งที่ปรากฏในวรรณคดีไทยมานานแล้ว  โดยเฉพาะโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งจากลิลิตพระลอได้ถูกยกมาเป็นโคลงครูของการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ

                                                  เสียงลือเสียงเล่าอ้าง                              อันใด  พี่เอย
                                        เสียงย่อมยอยศใคร                                          ทั่วหล้า
                                        สองเขือพี่หลับใหล                                          ลืมตื่น  ฤาพี่
                                        สองพี่คิดเองอ้า                                               อย่าได้ถามเผือ
                                                                                                                                (ลิลิตพระลอ)

         1.  คณะ 1 บท  มี 4 บาท  บาทหนึ่งมี 2 วรรค  วรรคต้นมี 5 คำ  วรรคหลังมี 2 คำ  ส่วนบาทที่  4 นั้น  วรรคต้นมี  5 คำ  วรรคหลังมี 4 คำ  โคลง 1 บท  จึงมี 30 คำ  ท้ายบาท 1  และ  บาท 3  ถ้าความไม่ครบยอมให้เติมสร้อยได้อีก 2 คำและคำทั้ง 30 คำนี้  จัดเป็น 3 พวก  คือ
                    คำสุภาพ  คือ  คำธรรมดา  ไม่กำหนดเอกโท  จะมีหรือไม่มีก็ได้  มี 19 คำ
                    คำเอก  คือ  คำที่บังคับไม้เอก  หรือจะใช้คำตายแทน  คำเอกก็ได้  มี 7 คำ
                    คำโท  คือ  คำที่บังคับให้มีไม้โท  มี 4 คำ
         2.  พยางค์หรือคำ  ในการแต่งร้อยกรองเราถือว่าพยางค์ก็คือคำ  ร้อยกรองแต่ละชนิดจะมีการกำหนดไว้แน่นอนว่า  วรรคหนึ่งมีกี่พยางค์  ถ้าในโคลงมีคำที่ออกเสียงสระกึ่งหนึ่ง  ก็อนุโลมนับเป็นพยางค์เพียงหรือคำเดียวได้  เช่น  “อักขระห้าวันหนี  เนิ่นช้า”  เป็นต้น
         3.  คำเอก-คำโท  ใช้กับบทร้อยกรองประเภทโคลงและร่ายเท่านั้น  มีข้อกำหนดดังนี้
             คำเอก
                    1.  คำหรือพยางค์ที่มีไม้เอกบังคับทั้งหมด  ไม่ว่าพยัญชนะต้นของคำนั้นหรือพยางค์นั้นจะเป็นอักษรกลาง  อักษรสูง  หรืออักษรต่ำ  เช่น  ก่อ  จ่าย  ดิ่ง  ปู่  ข่า  ฉ่ำ  สุ่ม  ห่าง  คู่  ง่าย  ใช่  โล่  ฯลฯ
                    2.  คำหรือพยางค์ที่เป็นคำตายทั้งหมด  จะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้
                    3.  คำที่ไม่เคยใช้ไม้เอกเลย  แต่นำมาแปลงใช้โดยเปลี่ยนพยัญชนะต้นและใช้วรรณยุกต์เอกบังคับ  เช่น  ไข้ —> ไค่,  ถ้ำ —> ท่ำ,  แผ้ว —> แพ่ว  เช่นนี้ก็อนุโลมให้เป็นคำเอกได้  แต่เรียกว่าเอกโทษ
             คำโท
                    1.  คำหรือพยางค์ที่มีไม้โทบังคับทั้งหมด  ไม่ว่าพยัญชนะต้นจะเป็นอักษรกลาง  อักษรสูง  หรืออักษรต่ำ
                    2.  คำที่ไม่เคยใช้ไม้โท  แต่นำมาแปลงใช้โดยเปลี่ยนพยัญชนะต้นและใช้วรรณยุกต์โทบังคับ  เช่น  คู่ —> ขู้,  ง่อย —> หง้อย,  เม่น —> เหม้น,  ย่อม —> หย้อม  อนุโลมให้เป็นคำโทได้  แต่เรียกว่า โทโทษ
         4.  คำเอกโทษ – คำโทโทษ  ที่ใช้แทนตำแหน่งของคำเอกและคำโท
                    เอกโทษ  หมายถึง  คำที่บังคับรูปวรรณยุกต์เอกตามลักษณะแผนผังบังคับของโคลงสี่สุภาพ
                    โทโทษ  หมายถึง  คำที่บังคับรูปวรรณยุกต์โทตามลักษณะแผนผังบังคับของโคลงสี่สุภาพ
         5.  คำตาย  สามารถใช้แทนคำเอกได้  มีลักษณะดังนี้
                    1.  เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา  เช่น  กะ  อุ  และ  เจาะ
                    2.  เป็นคำสะกดในมาตราแม่กก  กบ  กด
         6.  คำสร้อย  เป็นคำที่ต่อท้ายวรรค  ท้ายบาท  หรือท้ายบท  มักจะใช้เฉพาะในการแต่งโคลงกับร่าย  คำสร้อยนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้เพราะไม่ได้บังคับบางแห่งใช้เป็นคำถาม  หรือย้ำข้อความคำที่มักใช้เป็นคำสร้อย  ได้แก่  เฮย  ฤา  พี่  นาพ่อ  มาแม่  พี่รา  อยู่นอ
         7.  สัมผัส  คือ  ลักษณะที่บังคับให้ใช้คำที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกัน  สัมผัสเป็นลักษณะที่สำคัญมากในร้อยกรองของไทย  คำประพันธ์ทุกชนิดต้องมีสัมผัส  ได้แก่
               สัมผัสสระ  ได้แก่  คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป  ที่มีเสียงสระพ้องกัน  หรือคล้องจองกันตามมาตรา  ถ้าเป็นคำที่มีตัวสะกดก็ต้องเป็นตัวสะกดในมาตราเดียวกัน
               สัมผัสอักษร  ได้แก่  คำที่ใช้พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน  อาจเป็นพยัญชนะต้นเดียวกันหรือเป็นพยัญชนะเสียงสูงต่ำเข้าคู่กัน  เช่น  ข-ค,  ส-ซ,  ฉ-ช  หรือพยัญชนะควบชุดเดียวกัน
               สัมผัสนอก  เป็นสัมผัสบังคับที่ส่งและรับากันนอกวรรค
               สัมผัสใน  เป็นสัมผัสไม่บังคับมีคำที่สัมผัสคล้องจองกันอยู่ภายในวรรคเดียวกัน  อาจเป็นสัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรก็ได้  แล้วแต่ความเหมาะสมและความพอใจของผู้แต่ง  สัมผัสในช่วยให้บทร้อยกรองไพเราะขึ้น

2. ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุและสัมผัสเป็นมาตรฐาน
         ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต ไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในคำประพันธ์ไทย ตำราฉันท์ที่เป็นแบบฉบับของฉันท์ไทย คือ คัมภีร์วุตโตทัย (อ่านตำราฉันท์ของไทยเพิ่มเติม ได้จากหนังสืออ้างอิง)
         การเลือกใช้ฉันท์ชนิดต่าง ๆ
         การเลือกใช้ฉันท์ ต้องเลือกให้เหมาะกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อเรื่องที่จะเขียน
     1. บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระเกียรติ ความขลัง ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือสัทธราฉันท์
     2. บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือวสันดิลกฉันท์
     3. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตกกังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความรักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่างมาก นิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับเสียงหนักเบา เน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ
      4. บทพรรณนาโวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือเป็นที่ประทับใจ นิยมใช้ ภุชงคประยาตฉันท์
     5. บทสนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็ซจะนิยมใช้โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ หรือจิตรปทาฉันท์
     6. บทบรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์

แผนผังและตัวอย่างคำประพันธ์ประเภทฉันท์ที่นิยมแต่ง

มาณวกฉันท์ 8 (มา-นะ-วก-กะ-ฉัน) ฉันท์ที่มีลีลาเสียงไพเราะงดงามให้ความสดชื่นมีชีวิตชีวา ประดุจมาณพหนุ่มน้อย

วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้าแลบที่มีรัศมียาว

สาลินีฉันท์ 11 หมายถึง ฉันท์ที่มากไปด้วยครุ ซึ่งเปรีบเหมือนแก่นหรือหลัก

อินทรวิเชียรฉันท์ 11 หมายถึงฉันที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์

อีทิสังฉันท์ 20 ฉันท์มีลีลางดงามประดุจฉันท์ที่ได้พรรณนามาแล้วข้างตน บ้างก็เรียก “อีทิสฉันท์”

          1. วรรคหนึ่งมี 4 คำ นับ 2 วรรค หรือ 2 กลอนเป็นหนึ่งบาท 2 บาทเป็นหนึ่งบทเพราะบาทหนึ่งมี 8 คำ จึงเรียกว่าฉันท์ 8 บาทแรกเรียกบาทเอกหรือบาทขอน บาทหลังเรียกบาทโทหรือบาทคู่ เรียกเหมือนกันเช่นนี้ทุกฉันท์
          2. เครื่องหมาย ๐ หมายความว่าครุ ส่วนวงกลมที่มีหางด้านล่างหมายถึงลหุ นอกจากนั้นเป็นครุ
          3. สัมผัสให้ดูตามเส้นโยง คำที่  ของวรรคที่ 1 ซึ่งสัมผัสกับคำที่ 3 ในวรรคที่ 2 นั้นบางทีก็ไม่นิยม
          4. จิตรปทาแนท์ นิยมแต่ง 2 บทคู่กันเป็นตอนหนึ่ง เมื่อขึ้นตอนต่อไป ต้องย่อหน้าทุก ๆ ตอน และต้องให้คำสุดท้ายบทที่ 2 ของตอนต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของบทที่ 1 ของตอนต่อๆ ไปดังตัวอย่างที่แสดงไว้ จะแต่งยาวเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องสัมผัสกันเช่นนี้เสมอ จะจบลงในบาทเอกไม่ได้

3. กลอนแปด
          คณะหนึ่ง จะมี  4 วรรค ทุกวรรคมี แปดคำ
    วรรคแรก เรียกว่า วรรคสดับ
    วรรคสอง เรียกว่า วรรครับ
    วรรคสาม เรียกว่า วรรครอง
    วรรคสี่ เรียกว่า วรรคส่ง
          อ่านเป็นสามตอนในทุกวรรค สามคำ สองคำ และสามคำ และมีกำหนดสัมผัสด้วย กลอนแปดนั้นไม่บังคับวรรณยุกต์ บังคับแต่รูปสระ
          ส่วนกลอนแปดสุภาพนั้นเหมือนกลอนแปดทั่วไป แต่จะเพิ่มบังคับรูปวรรณยุกต์ไว้
    ๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐      ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ                   ( วรรคสดับ – วรรครับ )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ     ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ                   ( วรรครอง – วรรคส่ง  )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐          ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ                   ( วรรคสดับ – วรรครับ  )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ     ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ                   ( วรรครอง – วรรคส่ง  )

4. กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์
        กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้
        กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี  กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต คือ กวิ  แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน  คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง
        กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น
   กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ
         1. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์
         2. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า คำฉันท์ เหมือนกัน
   กาพย์ที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 ชนิด คือ
        1. กาพย์ยานี 11 
        2. กาพย์ฉบัง 16 
        3. กาพย์สุรางคนางค์ มีอยู่ 3 ชนิด คือ กาพย์สุรางคนางค์ 28 สุรางคนางค์ 32 และ สุรางคนางค์ 36 
        4. กาพย์ห่อโคลง
        5. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง

    กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายฉันท์ มีกำเนิดมาจากคัมภีร์วุตโตทัยของบาลีและสันสกฤตเช่นเดียวกับฉันท์ แต่ไม่บังคับ ครุ ลหุ จึงได้รับความนิยมในการใช้แต่งเป็นอย่างมาก ใช้แต่งวรรณคดีทั้งเรื่อง หรือแต่งกับคำฉันท์ หรือแต่งกับโคลงสี่สุภาพ เป็น กาพย์ห่อโคลง และ กาพย์เห่เรือ หรือใช้แต่งกล่อมช้าง เรียกว่า กาพย์ขับไม้
         ครุ คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) 
                 สระเกินทั้ง 4 คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา 
                 พยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น
         ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงสั้น (รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด

5. ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า “เข้าลิลิต”  ร่ายโบราณ  ร่ายสุภาพ

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี

        การวิจักษ์วรรณคดี คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด  มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร  มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ  ในระดับต้นๆ เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร  บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น  ควรจะถามตนเองต่อไปว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ และที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด

แนวทางการพิจารณารูปแบบวรรณคดี
        วรรณคดีร้อยกรอง
        1. รูปแบบคำประพันธ์ หมายถึง ลักษณะร่วมของงานประพันธ์อันเป็นวิถีทางที่ผู้ประพันธ์เลือกใช้ในการนำเสนอเนื้อหาไปสู่ผู้อ่านรูปแบบคำประพันธ์ได้ เช่น กาพย์ กลอน โคลง ร่าย ฉันท์ เป็นต้น ลักษณะคำประพันธ์แต่ละชนิด กวีจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาได้ดังนี้
        1.1 กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่กวีมักใช้แต่งเป็นทำนองเล่าเรื่อง
        1.2 กลอน เป็นคำประพันธ์ที่กวีมักใช้แต่งเพื่อแสดงอารมณ์ แสดงความคิดเห็นเล่าเรื่อง หรือสะท้อนภาพสังคม
กวีมักใช้กลอนแต่งเพื่อพรรณนาคร่ำครวญถึงบุคคลอันเป็นที่รักขณะเดินทางไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ลักษณะเช่นนี้เรียกกลอนนิราศ
กลอนที่นำนิทานมาแต่งเรียกกลอนนิทานหรือนิทานคำกลอน กลอนที่นำนิทานหรือการเล่าเรื่องมาพัฒนาเพื่อใช้การแสดงละครเรียกกลอนบทละคร
นอกจากนี้ยังมีกลอนสักวา กลอนดอกสร้อย และกลอนเสภา ซึ่งนำไปใช้แต่งเป็นบทร้องโต้ตอบกัน เป็นต้น
        1.3 ร่าย เป็นลักษณะคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเป็นเนื้อเรื่องตลอด 
        1.4 โคลง กวีนิยมแต่งโคลงเรื่อง โดยใช้โคลงแต่งทั้งเรื่อง
        1.5 ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากบาลี กวีมักเลือกใช้ฉันท์ให้เหมาะสมกับลักษณะเนื้อเรื่อง
รูปแบบของวรรณคดีกำหนดได้ทางหนึ่งจากบทประเภทของคำประพันธ์ซึ่งแบ่งเป็นร้อยกรองและร้อยแก้ว
          1.  ร้อยกรอง คือคำประพันธ์ที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์โดยเน้นจังหวะซึ่งเกิดจากการกำหนดจำนวนพยางค์ เป็นวรรค เป็นบาท หรือเป็นบท  การสลับน้ำหนักของเสียงหนักเบา เรียกว่า  ครู  ลหุ   การกำหนดระดับเสียงโดยบังคับวรรณยุกต ์ การผูกคำคล้องจองเรียกว่า  สัมผัส ต้น  เป็นคำประพันธ์ที่ใช้แต่งร้อยกรอง  ได้แก่ โคลง  ฉันท์ กาพย์  กลอน และร่าย
          วรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ อาจใช้คำประพันธ์ชนิดเดียวเป็นหลัก เช่นเรื่องอิเหนา  เรื่องขุนช้างขุนแผน  แต่งเป็นกลอน  เรืองมหาเวสสันดรชาดกแต่งเป็นร่าย  บางเรื่องใช้คำประพันธ์ตางชนิดระคนกัน เช่น เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย แต่งเป็นโคลง และร่าย เรียกว่าลิลิต 
       กาพย์เห่เรือ  แต่งเป็นโคลงและกาพย์ 
       เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์แต่งเป็นฉันท์และกาพย์  เรียก  คำฉันท์ 
       เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ใช้จิตรปาทาฉันท์บรรยายภาพ
         2.  ร้อยแก้ว  คือคำประพันธ์ที่ไม่กำหนดบังคับฉันทลักษณ์  แต่จะใช้บ้างก็ได้เพื่อเพิ่มความไพเราะ  นอกจากนั้นยังมีการสรรคำใช้เพื่อให้เกิดความสละสลวยไพเราะ เหมาะเจาะด้วยเสียง และความหมาย เช่นเดียวกับร้อยกรอง  ร้อยแก้วมักใช้กับเรื่องที่ต้องการเล่าเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง เช่นนิทานเวตาล  หัวใจชายหนุ่ม  สามก๊ก  หรือเรื่องที่ต้องการ  ให้ความรู้หรือเสนอความคิดเห็น  เช่น เรื่องไตรภูมิพระร่วง  โคลนติดล้อ  เป็นต้นการอ่านวรรณคดีร้อยแก้วจึงควรพิจารณาถ้อยคำ ภาษาและการดำเนินเรื่องเป็นสำคัญ
เราอาจจำแนกวรรณคดีตามเนื้อหาได้เป็นประเภทบันเทิงคดีและสารคดี
           1.  บันเทิงคดี คือเรื่องแต่งโดยมุ่งหมายจะให้กระทบอารมณ์ผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความสำเริงอารมณ์ คือเพลิดเพลินและความรู้สึกร่วมไปกับผู้แต่งมิได้มุ่งให้ความรู้หรือเสนอความคิดเห็นโดยตรง  แต่ก็แฝงไว้ด้วยสาระด้วย บันเทิงคดีมีรูปแบบต่างๆกัน รูปแบบของวรรณคดีบันเทิงคดีของไทยที่รู้จักกันมากคือ  บทมหรสพ  เรื่องเล่า  บทพรรณนา
              บันเทิงคดีที่เป็นบทมหรสพ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นใช้เป็นบทแสดงมหรสพประเภทต่างๆ เช่น บทพากย์โขน  บทพากย์หนังใหญ่ บทละคร
              บันเทิงคดีประเภทเรื่องเล่า คือเรื่องแต่งประเภทนิยายนิทาน มีการบรรยายเรื่องราว  เหตุการณ์ และพฤติการณ์  มีตัวละคร ฉากเวลาสถานที่  เช่น  นิทานอีสป  พระอภัยมณี  ขุนช้างขุนแผน  ลิลิตพระลอ
               บันเทิงคดีประเภทบทพรรณนา เป็นวรรณคดีประเภทรำพันหรือพรรณนาอารมณ์หรือความประทับใจที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นนิราศ  บทเพลงหรือบทพรรณนาที่มีการบรรยายสลับกัน  เช่น  ลิลิตตะเลงพ่าย  บทกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
          2.  สารคดี  คืองานประพันธ์ที่ให้ความรู้หรือความคิดเห็นที่เป็นสารประโยชน์  ผู้แต่งเจตนาให้ผู้อ่านใช้สติปัญญามากกว่าจะให้ใช้อารมณ์  แต่ถึงกระนั้นผู้แต่งที่มีฝีมือในการประพันธ์อาจใช้สำนวนภาษา  และกลวิธีในการนำเสนอความรู้ความคิดได้อย่างดียิ่่ง จึงสร้างความสำเริงอารมณ์ให้ผู้อ่านได้ด้วย เช่นเรื่องไตรภูมิพระร่วงสารคดีอาจแต่งด้วยบทร้อยกรองก็ได้  เช่น คัมภีร์ฉันทศาสตร์ในตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์  เป็นต้น
การวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมร้อยกรอง
        นักเรียนต้องพิจารณาดูวิธีการเลือกใช้ความประณีตงดงามของถ้อยคำที่กวีนำมาใช้ พิจารณาเรื่องเสียง จังหวะคำ สัมผัส เนื้อความ ว่ากวีใช้ได้เหมาะสม สื่อความและสื่ออารมณ์ได้ดีเพียงไร มีความไพเราะอย่างไร สามารถสร้างจินตภาพก่อให้เกิดความเพลิดเพลินให้ผู้อ่านมากน้อยเพียงไร ข้อความหรือถ้อยคำตอนใดที่อ่านแล้วซาบซึ้งประทับใจอยากจดจำบ้าง ข้อความตอนใดให้คติธรรม พฤติกรรมตัวละครใดที่ควรยกย่องและถือเป็นตัวอย่างนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ หรือพฤติกรรมตัวละครใดที่ไม่ควรนำมาเป็นตัวอย่างที่จะนำไปใช้ในชีวิตจริงบ้างการพิจารณ์องค์ประกอบต่างๆ ของวรรณคดีและวรรณกรรม พยายามตอบคำถามใช้เหตุผลหาตัวอย่างสนับสนุนคำตอบ จะช่วยให้ผู้อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมสามารถเข้าใจเรื่องราว ได้แง่คิดคติธรรม เกิดความเพลิดเพลิน เห็นคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมอย่างแท้จริง

แหล่งอ้างอิง

  1. หลักภาษาไทย
    •  เรื่อง ธรรมชาติของภาษา
      • http://blog.eduzones.com/winny/3599
    •  เรื่อง ภาษาบาลี – สันสกฤต
      • http://fws.cc/thailpru/index.php?topic=320.0
    •  เรื่อง  ชนิดของคำ 
      • http://st.mengrai.ac.th/users/mrsaengjan/sj20.htm
      • http://sunlightroad.ob.tc/-View.php?N=33
    •  เรื่อง อักษรควบกล้ำ
      • http://202.129.0.133/createweb/00000//00000-1786.html
      • http://www2.srp.ac.th/~anurat/word1.htm
    •  เรื่อง ชนิดของประโยค
      • http://www.jd.in.th/e_learning/th41101/pan04/text02.htm
      • http://www.2-teen.com/community/viewthread.php?tid=23888
    •  เรื่อง ระดับภาษา
      • http://www2.srp.ac.th/~anurat/step.htm
    •  เรื่อง เสียงในภาษาไทย
      • http://www.sema.go.th/node/3176
    •  เรื่อง อักษรคู่ อักษรเดี่ยว
      • http://pasathai.wordpress.com/%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88-%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7/
    •  เรื่อง คำมูล-คำประสม
      • http://www.yupparaj.ac.th/department/thai/%A4%D3%C1%D9%C5.html
      • http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5
      • http://www.kroobannok.com/blog/29500
    •  เรื่อง เสียงวรรณยุกต์
      • http://www.sema.go.th/files/Content/Langqage%20Thai/k4/0011/thai/data_04.html
    •  เรื่อง คำซ้ำ-คำซ้อน
      • http://www.sema.go.th/files/Content/Langqage%20Thai/k1/0003/word.htm
    •  เรื่อง พยางค์และมาตราตัวสะกด
      • http://www.sema.go.th/node/3176
    •  เรื่อง ไตรยางศ์
      • http://chisakan.blogspot.com/2008/10/blog-post.html
  2. ความคิดกับภาษา
    • http://202.44.68.33/node/52178
  3. คำและความหมาย
    • เรื่อง นัยตรง-โดยนัย
      • http://gotoknow.org/blog/kanyanee-test/322860
      • http://www.oocities.com/thairoom3/Noname1.html
    • เรื่อง คำไวพจน์
      • http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/34/workgroup/p24.htm
    • เรื่อง ความหมายแคบกว้าง
      • http://www.oocities.com/thairoom3/Noname1.html
        • http://mos.e-tech.ac.th/mdec/learning/thai2000/unit001.html
    • เรื่อง คำพ้อง
      • http://www.oocities.com/thaient2002/page8.html
    • เรื่อง ลักษณนาม
      • http://www.2-teen.com/community/viewthread.php?tid=23873
      • http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no22/example.htm
      • http://learners.in.th/blog/borom011/268064l
    • เรื่อง สำนวน
      • http://www.kr.ac.th/ebook2/sanan_p/02.html
  4. การสื่อสาร
    http://onzonde.multiply.com/journal/item/91/91
    http://www.siamhrm.com/?name=chapter&file=read&max=458
    • เรื่อง การอ่าน
      • http://www.st.ac.th/bhatips/tip49/reading1.html
    • เรื่อง การพูด
      • http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/pechburi/marina_wisan/work3.html
    • เรื่อง การฟัง
      • http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/pechburi/marina_wisan/work4.html
    • เรื่อง การเขียน
      • http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/pechburi/marina_wisan/work4.html
  5. วรรณคดี
    • เรื่อง ศิลปะในการประพันธ์
      • http://www.kanzuksa.com/shortnote.asp?T=1&data=20&data1=1
      • http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=389990&chapter=3
      • http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=389990&chapter=3
    • เรื่อง ฉันทลักษณ์
      • http://www.st.ac.th/bhatips/chan_poem.html
      • http://www.oknation.net/blog/tnitaram/2009/07/13/entry-1
      • http://board.dserver.org/n/natshen/00000020.html
      • http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95
      • http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=pegasusclub&board=3&id=5&c=1&order=numtopic
      • http://www.dsc.ac.th/inweb/student_job/thai/chun.htm
    • เรื่อง การวิจักษ์และวิจารณ์วรรณคดี
      • http://www.vk.khukhan.ac.th/elearnning/vanna/6.html
      • http://www.kpsw.ac.th/teacher/chantana/page1.htm

ผู้จัดทำ