ศึกษาระบบโรงเรียนมัธยมปลายของประเทศญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=LBTN3kcncxs
ที่มาของภาพ http://www.wegointer.com/wp-content/uploads/2013/04/japan-admission4.jpg
ในโรงเรียนญี่ปุ่นก็จะมีห้อง สถานที่ต่างๆที่คล้ายกับโรงเรียนในบ้านเรา เช่น ห้องแล็บที่ดูมีอุปกรณ์ทันสมัย ห้องพักครู ห้องพยาบาล โรงยิมที่นอกจากจะใช้เรียนพละแล้ว ยังใช้เป็นที่จัดพิธีปฐมนิเทศ และ ปัจฉิมนิเทศ เป็นต้น แต่โรงเรียนของญี่ปุ่นก็จะสถานที่ที่เพิ่มมา คือ ห้องเปลี่ยนรองเท้าซึ่งเต็มไปด้วยล็อกเกอร์
ส่วนการเข้าเรียน สิ่งที่ควรทำอย่างแรกก่อน ก็คือ "เปลี่ยนรองเท้า" ที่ล๊อกเกอร์ซึ่งอยู่หน้าประตู ให้เป็นรองเท้าผ้าใบบางๆ เหตุที่ต้องเปลี่ยนก็เพราะ ไม่อยากให้เกิดเสียงดังขณะที่กำลังเดินตรงระเบียงชั้นเรียน รวมทั้งรักษาความสะอาดของโรงเรียนอีกด้วย
ถ้าหากเป็นการเข้าเรียนวันแรก ในแต่ละระดับชั้น หากสังเกตกันให้ดี พอขึ้นชั้นเรียนใหม่จะมีการย้ายสับเปลี่ยนห้องเรียนกันบ่อยมากพอมาถึงโรงเรียน ทุกคนก็ไปดูชื่อที่ติดประกาศว่าเราอยู่ห้องอะไร พอรู้ว่าห้องเรียนประจำอยู่ที่ไหน ก็เข้าไปที่นั่น แต่ก่อนจะเข้าไปในห้องเรียน แถมบางห้องก็ทำเก๋ มีการจับสลากกันว่า จะได้นั่งตำแหน่งไหน แถมต้องลุ้นให้ตัวเองได้ที่นั่งที่ต้องการ ก็เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน ส่วนบรรยากาศการเรียนก็เหมือนกันทุกที่คือ หากคุณครูกำลังทำการสอน ทุกคนก็ต้องตั้งใจฟัง หากไม่ตั้งใจฟัง ก็มีสิทธิ์ออกไปยืนนอกห้องเรียนได้เหมือนกัน แต่ก่อนที่จะมีการเรียนการสอน ทุกห้องก็จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา หรือ ทันนินเซ็นเซย์ มาทำหน้าที่โฮมรูมก่อน คือมีการเช็คชื่อนักเรียน หรือจะแนะนำว่าจะมีกิจกรรมอะไรให้ทำบ้าง เป็นต้น โดยครูที่ปรึกษาจะต้องดูแลนักเรียนของตนตลอดเวลา หากนักเรียนคนไหนมีปัญหา เขาจะคอยเป็นที่ปรึกษา หรือแม้แต่โทรตามตัวเวลานักเรียนไม่มาเรียน หากนักเรียนคนไหนแย่เกินจะเยียวยา ครูที่ปรึกษาจะต้องออกไปยังบ้านของนักเรียนนักเรียนคนนั้น เพื่อพูดคุยถกปัญหาของลูกศิษย์กับผู้ปกครอง
ในช่วงพักกลางวัน ก็มีเด็กนักเรียนหลายคนกินข้าวเที่ยงกันในห้องเรียน ไม่เหมือนกับบ้านเราที่เวลาไปกินข้าวเที่ยวต้องไปกันที่โรงอาหาร เพราะโรงเรียนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโรงอาหาร จะมีเพียงร้านขายอาหารเล็กน้อยเท่านั้น หากเป็นโรงเรียนใหญ่ มีทุนหนาหน่อยก็จะมีโรงอาหาร และก็มีภารโรงทำอาหารให้นักเรียนกิน (แต่ก็มีบางที่ที่ให้เด็กนักเรียนคอยเป็นเวร เสิร์ฟอาหารให้เพื่อนๆด้วย) หรือบางคนก็นำ อาหารกล่อง,เบ็นโตะ มากินกันตามสถานที่ต่างๆในโรงเรียน ส่วนมากในห้องเรียนและบนดาดฟ้า
อีกส่วนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในโรงเรียน นั่นก็คือ ชมรม หรือ คลับ นั่นเอง โดยการเข้าชมรมนั้นก็แล้วแต่ความสมัครใจของนักเรียนแต่ละคน ว่าจะเข้าร่วมกิจกรรม หรือ บางคนอาจไม่เข้าชมรม ซึ่งก็ไม่มีใครว่าอะไร โดยการทำกิจกรรมที่ชมรมนั้นก็จะมีข้อดีก็คือ การรู้จักเข้าสังคม รู้จักการทำอะไรร่วมกันกับผู้อื่นมากขึ้นนั่นเอง สำหรับการเข้าชมรมนั้น จะต้องทำทุกวันหลังเลิกเรียน หรือ บางชมรมอาจมีนัดพบกันในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนก็ได้ ซึ่งผิดกับการเข้ากิจกรรมชมรมในโรงเรียนประถม มัธยมบ้านเรา ที่การเข้าชมรมบางชมรมนั้น เป็นแค่วิชาหนึ่งที่ใครเข้าเรียนตามจำนวนเวลาที่กำหนด ก็จะให้"ผ่าน" แถมมีแค่ 50 นาที ใน 1 สัปดาห์เท่านั้นเอง... ซึ่ง ชมรมของโรงเรียนในญี่ปุ่น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้
1. บุงคะบุ เป็นชมรมเกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรม เช่น ชมรมชงชา ชมรมนิยาย ชมรมเล่นโกะ ชมรมจัดดอกไม้ เป็นต้น
2. อุนโดบุ เป็นชมรมกีฬาประเภทต่างๆ ไม่ว่า เบสบอล ว่ายน้ำ ฟุตบอล เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การ์ตูนแนวกีฬาประเภทต่างๆ และว่ากันว่า หากชมรมกีฬาประเภทไหน ประสบความสำเร็จ สามารถเข้าร่วมแข่งขันรอบสุดท้ายในระดับประเทศได้ ก็จะกลายเป็นหน้าตาของโรงเรียนเลย เช่น ชมรมบาสเก็ตบอลในสแลมดังก์ พอโชโฮคุ ได้ไปเล่นรอบสุดท้าย ทุกๆคนในโรงเรียนต่างก็ให้ความสนใจชมรมบาสของโชโฮคุกันมากขึ้น
3. โดโคไก ชมรมที่จัดตั้งขึ้นมาเอง เช่น ชมรมค้นคว้าเรื่องการ์ตูนและเกมจากเรื่อง Genshiken , ชมรม S.O.S จากเรื่อง ฮารุฮิ ก็ได้เช่นกัน หรือ จะเป็น ชมรมเรื่อยเปื่อยอย่าง เดินเล่น ของแฝดสาวนารุทากิในเรื่องเนกิมะ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล
1.http://www.kartoon-discovery.com/topic/topic200705.html#ixzz3byPTqCD7
2.http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/2/8002/images/j4.jpg
3.https://www.youtube.com/watch?v=LBTN3kcncxs
ภาพประกอบ Brander http://www.wegointer.com/wp-content/uploads/2013/06/japan9.jpg
ผู้จัดทำ
น.ส.จุฑามาศ ขันติวงศ์
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพฯ
email : porjtm.kc@gmail.com
Read more: http://www.kartoon-discovery.com/topic/topic200705.html#ixzz3byPTqCD7
ภาพหาย