รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗ (บ้านเนินสันติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗ (บ้านเนินสันติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1
ผู้รายงาน นางทิพาภรณ์ หญีตศรีคำ
ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗ (บ้านเนินสันติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การประเมินเพื่อ
1) ประเมินสภาพแวดล้อม (Context:C) ของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต1นโยบายโรงเรียน และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input:I) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมเพียงพอเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการตามโครงการ3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process:P) ในการดำเนินงานตามโครงการด้านการบริหารจัดการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product:P)ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท(Seat Framework)5) เพื่อประเมินผลกระทบ (Impact:I) ของการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่มีต่อโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน6) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการตามโครงสร้างซีท (Seat Framework) ด้านผู้เรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ ของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน
การประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗(บ้านเนินสันติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ดำเนินการในปีการศึกษา 2557ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คนครู จำนวน 33คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15คน ผู้ปกครองจำนวน 124 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องละ 6คนจำนวน 126คนของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗(บ้านเนินสันติ) จำนวน 300 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp.607-610)เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการได้แก่แบบสอบถาม เป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗ (บ้านเนินสันติ) อำเภอ ท่าแซะ จังหวัดชุมพรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1จำนวน 5 ด้าน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านผลกระทบ(Impact:I)รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อม(Context:C) และด้านผลผลิต(Product:P) ถัดมา คือ ด้านกระบวนการ(Process:P) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input:I)
ผลการประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗ (บ้านเนินสันติ)อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 โดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT Framework) จำนวน 4 ด้าน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยการสอน (A-Activities) และด้านผู้เรียน (S-Student)ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านสภาพแวดล้อม (E-Environment)ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๗ (บ้านเนินสันติ)อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์เนื้อหาและสรุป นำเสนอเป็นความเรียงเรียงลำดับความสำคัญตามจำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามจากมากไปน้อย ดังนี้1)ควรสนับสนุนให้นักเรียนที่มีความบกพร่องได้ร่วมกิจกรรม ร่วมแสดงความสามารถในทุกกิจกรรม 2)บุคลากรมีไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานตามโครงการ บุคลากรที่รับผิดชอบมีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากจึงไม่สามารถดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรวมได้เต็มที่3) วัสดุอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ ยังไม่หลากหลาย และไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปต้องซื้อจากร้านค้าที่ขึ้นทะเบียนกับทางศูนย์การศึกษาพิเศษเท่านั้น 4) บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องขาดความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง