“ต้นไม้สามารถลดฝุ่นได้” เพราะใบและเปลือก หรือลำต้นของต้นไม้สามารถดูดซับกลิ่น มลพิษ และฝุ่นละอองได้ เพราะฝุ่นจะไปเกาะบนผิวของใบไม้ เปลือกของกิ่งก้าน หรือลำต้น และถูกชะล้างโดยน้ำฝน หรือการพ่นน้ำ ไหลสู่ดินในที่สุด ฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นปัญหาของเราก็สามารถเกาะแบบนี้ได้เช่นกัน อีกทั้ง การสังเคราะห์แสงของพืชจะช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ก๊าซพิษที่เข้าไปจะเปลี่ยนไปเป็นออกซิเจน และไอน้ำออกมาแทนที่
            สำนักวิจัยฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช เผยว่า อากาศที่มีมลพิษเมื่อไหลผ่านต้นไม้แล้ว สามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้ 10-50% เลย ต้นไม้ที่เหมาะแก่การดักจับฝุ่นละอองเป็นพิเศษจะต้องเป็นต้นไม้ที่โตเร็ว ผิวใบไม่เรียบ มีขนหรือไขปกคลุม ส่วนเรื่องของความหนาแน่นของพุ่มใบก็มีส่วน เพราะมันเพิ่มพื้นที่ผิวที่จะดักจับฝุ่น ดังนั้น ใครที่จะปลูกต้นไม้เพื่อลดฝุ่นก็ต้องนึกถึงสิ่งนี้ และก็ต้องดูด้วยว่าต้นไม้เหล่านั้นเหมาะกับการปลูกที่ไหนด้วย ในเมือง #ไม้พุ่ม และ #ไม้ต้นที่สามารถปลูกเพื่อลดฝุ่นตามท้องถนนได้ มีดังนี้

หอมหมื่นลี้

https://art-culture.cmu.ac.th/public/img/uploadfile/1614054363-95388l3m09.png

            #หอมหมื่นลี้ ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ด สูงได้ถึง 12 ม. เหมาะกับเป็นไม้กระถางริมหน้าต่าง แนวกำแพง ทางเท้า มุมอาคาร ใต้ทางด่วนหรือรถไฟฟ้า ทรงพุ่มไม่แผ่ขยายมาก ออกดอกตลอดปี ทนแล้ง ดูแลง่าย

https://art-culture.cmu.ac.th/public/img/uploadfile/1614054363-n5xwfn07e0.png

            ดอกหอมหมื่นลี้ ต้นที่ส่งกลิ่นหอมไกลไปทั่วบริเวณบ้าน รัศมีสิบเมตร ดังชื่อของต้นนั่นเอง คนนิยมปลูกกันมีอยู่สองสายพันธุ์ คือ ดอกสีขาวนวล และดอกสีเหลืองทอง อาทิในภาพนี้จะเป็นสายพันธุ์สีเหลืองทอง ส่วนใหญ่นิยมปลูกกันมากทางภาคเหนือ ถ้าปลูกในที่มีอากาศเย็น ใบและกลีบดอกจะหนามากเป็นไม้ที่โตช้ามากกว่าชนิดอื่น ดอกแห้งใช้นำมาอบทำน้ำหอม ชงน้ำชา หรือทำเหล้าจีนเพื่อให้กลิ่นหอมหวานหอมไกลเป็นหมื่นลี้ ดอกไม้ชนิดนี้แม้จะออกดอกทีละไม่มาก แต่กลิ่นของดอกต้นนี้นั้นจะหอมมาก โดยหอมหมื่นลี้เป็นดอกไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดทางบริเวณตอนกลาง ภาคใต้ และทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แต่ในปัจจุบันพบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกส่วนของประเทศ ซึ่งต้นหอมหมื่นลี้ จัดเป็นต้นไม้ประเภทพุ่มเตี้ยๆ ลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก แต่บางพันธ์มีความสูงได้ถึง 8 เมตร เรือนยอดรูปไข่ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือบริเวณซอกใบ เป็นดอกเล็ก 12-25 ดอก มี 4 กลีบ ปลายงุ้มเข้าหากัน สีขาวนวลหรือเหลืองทอง ดอกจะออกช่วงเดือนตุลาคม-กุมภา พันธ์ ดอกจะบานพร้อมกันทั้งช่อ หากออกเต็มต้นจะสวยงามมากพร้อมกับส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน ดอกหอมหมื่นลี้สามารถนำมาทำเครื่องดื่มชา, ไวน์ และยารักษาโรค หรือแม้กระทั่งนำมาสกัดเป็นหัวน้ำหอม ซึ่งลำต้นของมันเป็นวัสดุชั้นยอดในการทำไม้แกะสลัก และเปลือกไม้ยังสามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมได้

ตะเคียนหนู

            #ตะเคียนหนู ไม้ต้นกึ่งผลัดใบ ใบขนาดเล็กออกหนาแน่น อาจสูงได้ถึง 40 ม. เหมาะกับริมถนนหรือสวนสาธารณะ อาจผลัดใบสูงในช่วงหน้าแล้ง ใบและผลเก็บกวาดได้ง่าย ไม่อุดตันท่อระบายน้ำ

ที่มาของภาพ http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/Picture/book1/anoacu2.jpg

            ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้นสูง 15-25 เมตร ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีเทาจนถึงน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยวติดเรียงสลับ ทรงใบรูปรีแกมรูปหอก โคนใบสอบแคบปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบค่อนข้างบาง ท้องใบและขอบใบมีขนนุ่มยาว ๆ สีเทาอมเหลือง หรือบางทีออกสีเงิน ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบ รวมกันเป็นกลุ่มกลมวัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ โคนกลีบรองดอกติดกันเป็นหลอดเรียว ปลายหลอดแผ่กว้างแยกเป็น 5 แฉก ด้านในมีขนยาว ๆ ทั่วไป ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 10 อัน เรียงตัวเป็น 2 วง ผล เล็กรูปรี มีปีกหรือคีบออกทางด้ายข้าง 2 ปีก ส่วนบนเป็นติ่ง หรือเป็นหางยื่นผลอยู่รวมกันเป็นก้อนกลม วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 มม.
            การกระจายพันธุ์ : พบกระจายทั่วไป ตามป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งใกล้ชายห้วยตามภาคต่าง ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-500 เมตร
            ประโยชน์ : เนื้อไม้ขัดเงาได้ดีใช้ทำพื้น ฝาเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือทางเกษตร เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง

รามใหญ่

ที่มาของภาพ https://sr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2021/09/156249041_3712590375521512_7141494604525064460_n.jpg

            #รามใหญ่ ไม้พุ่ม สามารถปลูกริมทางเดิน ตามมุมอาคาร หรือแทรกไม้ต้นอื่นได้ ทนมลพิษในเมืองแต่ไม่ทนแล้งมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์Ardisia elliptica Thunb.
ชื่อวงศ์ : PRIMULACEAE
สรรพคุณ : ผล แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
ชื่ออื่นๆ : ทุลังกาสา (ชุมพร) ลังพิสา (ตราด) ปือนา (มลายู-นราธิวาส) กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา เหมือด อ้ายรามใบใหญ่
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์ทั่วไป ตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่น กระจายทั่วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินเดียภาคใต้ ขึ้นได้ทั่วไปตามป่าโปร่ง ดินทรายหรือดินเหนียวที่ระบายน้ำได้ดี
ลักษณะของรามใหญ่
            ต้น เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 2-5 เมตร มีกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ต้น
            ใบ ใบเดี่ยวรูปหอกปลายใบแหลมเรียงสลับรอบกิ่ง ผิวใบและขอบใบเรียบหนาเป็นมันสีเขียวก้านใบสั้น ใบกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 7-15 ซม. ยอดอ่อนมีสีแดง
            ดอก ออกดอกได้ทั้งปี แต่จะมีมากในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของดอก เป็นช่อกระจุกก้านช่อยาว ดอกเล็กสีขาวแกมชมพู เป็นช่อออกตามยอดและข้างกิ่ง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะมี 5 แฉกคล้ายดาว
            ผล กลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5ซม. ออกเป็นกระจุก มีก้านช่อยาว ห้อยย้อยลงและก้านผลยาวเรียงสลับรอบก้านช่อ เมื่อสุกจะมีสีแดงก่อนจะเปลี่ยนเป็นผลสุกสีดำ ออกดอกและผล ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน
การขยายพันธุ์ของรามใหญ่
            ใช้เมล็ด/เพาะโดยเมล็ด

ที่มาของภาพ https://sr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2021/09/155553541_4184034054962977_6611048727709058233_n.jpg

ประโยชน์ของรามใหญ่
            ผลอ่อน ยอดอ่อน ใช้เป็นผักสด จิ้มน้ำพริก
            ผลสุก รสหวานปนฝาด กินได้
            นำใบ ยอดมาปรุงอาหาร
สรรพคุณทางยาของรามใหญ่
            ใบ แก้โรคตับพิการ ดอก แก้พยาธิ ฆ่าเชื้อโรค แก้ลม
            ผล แก้ไข้ แก้ท้องเสีย ตานขโมย รากแก้กามโรคและหนองใน
            ลำต้น เป็นยาแก้โรคเรื้อน
            คุณค่าทางโภชนาการของรามใหญ่
การแปรรูปของรามใหญ่
            ผลสุกใช้ทำเป็นไวน์

สะเดา

ที่มาของภาพ http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_15.htm

            #สะเดา ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 15-20 ม. นิยมปลูกเป็นไม้ในสวนป่า เกาะกลางถนน หรือสองข้างถนน เพื่อให้ร่มเงาและกำบังลม ทนแล้งและทนมลพิษในเขตเมือง โตเร็ว ขึ้นได้ดีในที่แห้งแล้งและทุกสภาพภูมิอากาศ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton
ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine
วงศ์ : Meliaceae
ชื่ออื่น : สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 – 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี
ส่วนที่ใช้ : ดอกช่อดอก ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด

ที่มาของภาพ https://www.rama.mahidol.ac.th/patient_care/sites/default/files/public/img/0000_inter.jpg

สรรพคุณ :
            ดอก ยอดอ่อน – แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
            ขนอ่อน – ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
            เปลือกต้น – แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
            ก้านใบ – แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
            กระพี้ – แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
            ยาง – ดับพิษร้อน
            แก่น – แก้อาเจียน ขับเสมหะ
            ราก – แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
            ใบ,ผล – ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
            ผล มีสารรสขม – ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
            เปลือกราก – เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
            น้ำมันจากเมล็ด – ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เป็นยาขมเจริญอาหาร
ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย
สารเคมี :
ผล มีสารขมชื่อ bakayanin
ช่อดอก มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5% นอกนั้นพบ nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
เมล็ด มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
Nim Oil มี nimbidin เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย

ปอกระสา

ที่มาของรูปภาพ https://garden-review.com/wp-content/uploads/2021/10/4124F14D-27F7-4F8C-A6D9-BB84C8D0294D-768×626.jpeg

            #ปอกระสา ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 ม. นิยมปลูกสองข้างถนน หรือแซมต้นไม้อื่นที่ทรงพุ่มหนาแน่น โตเร็ว ทนแล้ง ปรับเข้ากับสภาพเมืองได้ ช่วยดูดซับโลหะหนัก แต่ละอองเกสรอาจทำให้เกิดความระคายเคือง

ที่มาของรูปภาพ https://garden-review.com/wp-content/uploads/2021/10/1-4.jpg

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Broussonetia papyrifera (L.)Vent.
วงศ์ : Moraceae
ชื่อสามัญ : Paper mulberry
ชื่ออื่น : ฉำฉา ชำสา (นครสวรรค์) ชะดะโค ะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ปอกระสา (กลาง,เหนือ) ปอฝ้าย (Peninsusar) ส่าเหร่เจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ : ไม้ยืนต้นขนาดกลางทรงพุ่มโปร่ง ใบ รูปหัวใจ บางชนิดเป็นใบสามแฉก ขอบใบหยัก แผ่นใบด้านบนและล่างสากมือเล็กน้อย ลำต้น เป็นต้นเดี่ยว เปลือกสีน้ำตาล เปลือกมีเยื่อใย เหนียว ดอก ออกตามซอกใบแยกเพศคนละต้น ดอกตัวผู้ช่อดอกยาว ดอกตัวเมียมีลักษณะกลม มีดอกย่อยมาก กลีบดอกสีส้ม ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและส่วนของราก
ประโยชน์ : เปลือกใช้ทำเยื่อกระดาษสา ในอุตสาหกรรมทำกระดาษสา เนื้อไม้ใช้ทำตะเกียบ และไม้จิ้มฟัน

หางนกยูงไทย

ที่มาของภาพ https://f.ptcdn.info/448/073/000/qsxgxwpl7qUlkBy1p8E-o.jpg

            #หางนกยูงไทย ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 ม. เป็นไม้ประดับทนแล้ง เหมาะปลูกริมทางเดิน เกาะกลางถนน ทรงพุ่มไม่แผ่ขยายมากนัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Caesalpinia pulcherrima   (L.) Sw.
วงศ์ :   Leguminosae – Caesalpinioideae
ชื่อสามัญ :  Flower fence, Peacock’s crest, Pride of Barbados
ชื่ออื่น :  ขวางยอย (นครราชสีมา)  จำพอ ซำพอ (แม่ฮ่องสอน) ซมพอ พญาไม้ผุ  ส้มผ่อ ส้มพอ (ภาคเหนือ) นกยูงไทย หางนกยูงไทย (ภาคกลาง) หนวดแมว (ฉาน-แม่อ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 : ไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง สูง 3-5 เมตร ทรงพุ่มกลม ต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ช่อใบย่อยมีใบย่อย 7-11 คู่ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้า โคนเบี้ยว ดอก มีหลายสีตามพันธุ์ ได้แก่ เหลือง แดง ส้ม ชมพูแก่ แดงประขาว ดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ 10 อัน ออกดอกตลอดปี ผล เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกได้ ออกฝักตลอดปี เมล็ด  8-10 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างกลม

ที่มาของภาพ https://f.ptcdn.info/448/073/000/qsxgxw2ypyQuE6vikIuL-o.jpg

          มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ หมู่เกาะเวสต์อินดีส ขึ้นได้ทั่วไป สำหรับประเทศไทยพบทุกภาค ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด
ประโยชน์ :  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทางด้านสมุนไพร รากของต้นดอกสีแดง ปรุงเป็นยารับประทานขับประจำเดือน  เมล็ดในฝักรับประทานได้โดยแกะเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป เนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย

แปรงล้างขวด

ที่มาของภาพ https://www.royalparkrajapruek.org/img/upload/20210219-602f7c3132392.jpg

            #แปรงล้างขวด ไม้ต้น สูง 10 ม. เหมาะปลูกสองข้างถนน สวนสาธารณะ หรือริมทางเดิน ทรงพุ่มแคบ ทนแล้ง ปรับตัวในเขตเมืองที่มีมลพิษสูงได้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Callistemon viminalis (Sol.ex Gaertn.) G.Don
วงศ์: Myrtaceae
ประเภท: ไม้ต้น
ความสูง:  10 – 18 เมตร
ทรงพุ่ม: รูปไข่แคบ สูง
ลำต้น: เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาว
ใบ: เดี่ยวเรียงเวียนสลับรอบกิ่ง รูปใบหอกเรียว กว้าง 0.5 – 1 เซนติเมตร ยาว 4 – 5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ยอดอ่อนมีขนนุ่มปกคลุม

ที่มาของภาพ https://www.royalparkrajapruek.org/img/upload/20210219-602f7c3139da3.jpg

ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 15 -25 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงรูปถ้วย กลีบดอกเล็กสีแดง มีเกสรเพศผู้สีแดงจำนวนมาก ออกดอกตลอดปี
ผล: กลม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนชุ่มชื้น มีอินทรียวัตถุสูง ทนดินเค็ม
แสงแดด: ตลอดวัน
น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกประดับสวน ใบมีน้ำมันหอมระเหยที่มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ

โกงกางเขา

ที่มาของภาพ https://oer.learn.in.th/file_upload/cover/biblio/96403.jpg?rand=0.80588500%2016916281338889

            #โกงกางเขา ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. นิยมปลูกใต้อาคาร ใต้ทางด่วนและแนวรถไฟฟ้า เป็นไม้ทนร่ม ขึ้นได้ในที่แสงรำไร แต่เติบโตได้ดีในที่แจ้งและดินร่วนซุย
ชื่ออื่นๆ : ฝ่ามือผี (มหาสารคาม);โพดา (ปน);คันโซ่ (อุบลราชธานี);นางสวรรค์ นิ้วนางสวรรค์ (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea ceilanica Thunb.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ : Loganiaceae/Potaliaceae

ที่มาของภาพ https://oer.learn.in.th/file_upload/cover/biblio/96402.jpg?rand=0.58479100%2016916282569653

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง 3-15 เมตร มักเกาะอาศัยบนต้นไม้อื่น มีรากอากาศคล้ายต้นไทร เปลือกต้นสีเทา บาง และเรียบ เปลือกชั้นในสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 2-9 เซนติเมตร ยาว 5-23 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียว ขอบใบเรียบ ใบแก่หนาอุ้มน้ำ เรียบเกลี้ยง  เส้นใบข้างเลือนรางมาก ก้านใบยาว 1-3.5 เซนติเมตร มีหูใบหนาเชื่อมเป็นวงแหวน หนา 1-2 มิลลิเมตร ดอกช่อเชิงลด ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ขนาด 4-8 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตร ปลายแยก 5 พู โค้งไปด้านหลัง บางครั้งปลายกลีบแตกเป็นฝอย มีกลิ่นหอม  ช่อดอกยาวถึง 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ติดกับคอหลอดกลีบ ไม่โผล่พ้นออกมา ชั้นกลีบเลี้ยง 0.8-2.7 เซนติเมตร แยกเป็นพูป้านๆ ลึกมากกว่าครึ่งหนึ่งของชั้น ผลสด รูปทรงรีหรือรูปทรงกลม ขนาด 2.5-4.5 เซนติเมตร สีขาวหม่นแกมเขียว เป็นมัน เหนียว ปลายแหลม มีชั้นกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม ถึงดำ เกลี้ยง เนื้อผลนิ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดมาก เมล็ดขนาด 3 มิลลิเมตร

สรรพคุณ    
             ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด

ไทรย้อยใบแหลม

ที่มาของภาพ http://www.old.satitm.chula.ac.th/cudbiomap/plants_images/P1010867.JPG

            #ไทรย้อยใบแหลม ไทรขนาดหลางถึงใหญ่ เหมาะเป็นร่มเงาในที่โล่งสวนสาธารณะ แต่ไม่ควรปลูกบนทางเท้ากว้างน้อยกว่า 4 ม. บังลม บังแดด ทนแล้ง และทนมลภาวะได้ดี
ชื่อสามัญ : Golden Fig, Weeping Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.
วงศ์ : MORACEAEลักษณะทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นสูง 5 – 10 เมตร มีรากอากาศ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอกขนาดเล็ก มีฐานรองดอก ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ผลเป็นทรงกลม เมื่อสุกสีเหลืองการปลูก  มี 2 วิธี
         1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อประดับบริเวณสวนเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้าน สาขาที่กว้างใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
         2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปการปลูกทั้ง 2 วิธี วิธีดังกล่าวสามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงของทรงพุ่มได้ตามความต้องการผู้ปลูกนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับวิธีการปลูกแบบใด ตามวัตถุประสงค์ผู้ปลูก

ที่มาของภาพ http://www.st.buu.ac.th/botany/doc/2565/023ไทรย้อยใบแหลม.pdf

การขยายพันธุ์    การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การตอนและการปักชำ
การดูแลรักษาแสง ต้องการแสงแดดอ่อน จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง จนถึงมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5: 2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
โรค ม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะมีความทนทานต่อโรคได้ดี
ศัตรูเพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
อาการ กัดแทะใบ ทำให้ใบเป็นรู เป็นรอย ต่อมาใบจะเหลืองและแห้ง
การป้องกัน การรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก การกำจัดพาหนะแพร่ระบาด พวกมดต่าง ๆ
การกำจัด ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

อินทนิลน้ำ

ที่มาของภาพ https://medthai.com/wp-content/uploads/2013/09/ต้นอินทนิลน้ำ.jpg

            #อินทนิลน้ำ สูงได้ถึง 20 ม. เหมาะปลูกในสวนสาธารณะ สองข้างถนน หรือริมทางเดิน ควรตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ทนมลพิษในเขตเมืองได้ดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa Pers.
ชื่อสามัญ : Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India
ชื่ออื่น : ตะแบกอินเดีย (กรุงเทพฯ), อินทนิล (ภาคกลาง, ภาคใต้) บางอบะซา (มาเลย์-ยะลา นราธิวาส), บาเย บาเอ (มาเลย์-ปัตตานี)
วงศ์ : LYTHRACEAE

ที่มารูปภาพ https://www.disthai.com/images/content/original-1634782672389.jpg

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
     ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-25 ม. เรือนยอดแผ่กว้าง คลุมต่ำ เปลือกค่อนข้างเรียบ มีรอยด่างเป็นดวงสีขาว
      ใบ ใบเรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งเล็ก โคนใบกลมหรือมน
      ดอก ดอกสีม่วงสด ม่วงปนชมพู หรือชมพู ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.0-7.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีสันนูนตามยาวเห็นชัดเจน และมีขนสั้นประปราย กลีบดอกบาง ขอบย้วย เกสรเพศผู้จำนวนมาก
      ผล ผลเกือบกลม ผิวเกลี้ยง แข็ง ยาว 2-3 ซม. ผลแห้งแตกตามยาว 6 พู เมล็ดมีปีกจำนวนมาก

ความเหมือนและแตกต่างของต้นเสลา ต้นตะแบก ต้นอินทนิล แล้วยังแบ่งเป็นอินทนิลน้ำกับอินทนิลบก
           พรรณไม้ทั้งสี่ชนิดที่ว่ามานี้เป็นพรรณไม้กลุ่มสี ที่คุมโทนสีม่วงเป็นหลัก มีทั้งม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ม่วงอมสีชมพู และสีขาวประปราย และมักจะทยอยออกดอกให้เราเห็นตั้งแต่ปลายปี จนถึงเดือนกันยายนของอีกปีเลยทีเดียว แต่ต้นที่ดอกสีม่วงๆ ที่เราเห็นอาจจะไม่ใช่ชนิดเดียวกันนะ เพราะแต่ละชนิดก็มีช่วงเวลาการบานแตกต่างกันไป วันนี้เรามาแนะนำต้นไม้สี่ชนิดที่ว่านี้กันดีกว่าค่ะ ว่ามีลักษณะยังไงกันบ้าง และพอมีลักษณะอะไรที่เป็นข้อสังเกตุสำหรับต้นไม้สี่ชนิดนี้ให้แยกออกจากกันได้บ้าง ที่นอกเหนือไปจาก ประโยคที่ว่า “เสลาเปลือกแตก ตะแบกเปลือกล่อน” 
            อินทนิลน้ำ : ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ มีรอบด่างสีขาว ใบหนา โคนใบมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือสีชมพู ออกเป็นช่อชูขึ้นเหนือเรือนยอด กลับดอก 6 กลีบ โคนคอดเรียวเป็นก้านสั้น ช่วงเวลาการบานของดอกตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน
            อินทนิลบก : ลักษณะโดยส่วนใหญ่จะคล้ายอินทนิลน้ำ แต่โคนใบสอบ ปลายใบจะทู่ เปลือกลำต้นจะแตกเป็นร่องตื้นๆ หลุดเป็นสะเก็ดเล็กๆ ดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่นๆ โคนกลีบดอกคอดเป็นก้านซึ่งสั้นกว่าอินทนิลน้ำ ช่วงเวลาการออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม
            เสลา : ลักษณะเปลือกของลำต้นค่อนข้างสังเกตุได้ง่าย โดยเปลือกจะแตกเป็นร่องตามยาวตลอดลำต้น ใบคล้ายอินทนิลแต่บริเวณเส้นใบมีขนนุ่ม ดอกจะมีขนาดไม่ใหญ่เท่าอินทนิล แต่ดอกจะมีสีม่วง หรือชมพู และมีสีขาวประปราย กลีบดอกจะย้วยหยักกว่าชนิดอื่นๆ ระยะเวลาการออกดอกจะอยู่ช่วงปลายฤดูหนาวจนถึงกลางฤดูร้อน โดยดอกของเสลาจะพรั่งพรูทั้งต้น สวยราวดอกซากุระจึงได้รับสมญานามว่า “ดอกซากุระฤดูร้อน”
            ตะแบก : ลักษณะเด่นคือเปลือกลำต้นที่เรียบเป็นมัน และหลุดล่อน ใบอ่อนมีขนนุ่มปกคลุมตลอดใบ ใบแก่ผิวเรียบเกลี้ยง ช่อดอกชูเหนือเรือนยอด ดอกมีชีม่วง หรือม่วงอมชมพู เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว การออกดอกของตะแบกจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฏาคม ถึงเดือนกันยายน

ที่มาข้อมูล

  • สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
  • สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช#กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  • https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/2121
  • http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=807
  • https://www.kasettambon.comรามใหญ่-ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใ/
  • https://sr.mahidol.ac.th/รามใหญ่/
  • http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_15.htm
  • https://www.samunpri.com/ปอกระสา
  • http://www.rspg.or.th/plants_data/use/fiber1-5.htm
  • https://www.baanlaesuan.com/plants/flowers/137190.html
  • http://old.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/BotanicalGarden/sai.html
  • https://il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/intanin/intanin.htm
  • https://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/194